โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP 1 ปี 2562 เป็นโครงการเพื่อการพัฒนาเครื่องมือ สนับสนุนการใช้นวัตกรรมของโรงเรียนอย่างยั่งยืน ทั้ง 59 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และสมุทรสาคร โดยการพัฒนาร่วมกันกับโรงเรียนสตาร์ฟิช เพื่อศึกษาปัจจัยและหาความสัมพันธ์ของการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการติดตาม และประเมินผลโครงการ TSQP1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
การใช้นวัตกรรมการศึกษาอย่างยั่งยืนกับการประเมินภายใน การประเมินเป็นขั้นตอนจำเป็นของการพัฒนา และนวัตกรรมเป็นเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการเรียนรู้ ดังนั้น การใช้นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการดังนี้
1) ระบุนวัตกรรมที่ต้องการใช้และสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
2) ครูทำการประเมินห้องเรียน โรงเรียนทำการประเมินตนเอง
3) เก็บองค์ความรู้จากการสะท้อนผลการใช้นวัตกรรม
4) ขยายผลในระดับที่กว้างขึ้น
5) ติดตามและสะท้อนผล เพื่อปรับปรุงเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การประเมินภายใน การประเมินโรงเรียนมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างข้อมูลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ ติดตาม ประเมินผลการทำงานของโรงเรียน และเพื่อการพัฒนา (School Improvement) ระบุจุดแข็ง จุดควรพัฒนา เพื่อหาแนวทางปรับเปลี่ยน สำหรับองค์ประกอบการประเมินภายใน ประกอบด้วย
1) กรอบการประเมิน ได้แก่ กระบวนการนอก-ในห้องเรียน สภาพแวดล้อม ผลลัพธ์
2) กระบวนการ ได้แก่ มาตรฐาน เป้าหมายและแผนที่มีแนวทางไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน มิติการประเมินที่เป็นจุดเด่น
3) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบการประเมินภายในของต่างประเทศและของไทย พบว่า ต่างประเทศมีกรอบการประเมินที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน และการสะท้อนผลร่วมกันทั้งโรงเรียนและชุมชม ส่วนของไทยมีรายละเอียดการประเมินยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร บางประเด็นยังไม่ครอบคลุม เช่น การ PLC ยังไม่ครอบคลุมถึงกลไกการติดตามผล อีกทั้งยังขาดประเด็นสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกระบวนการประเมินผล และการร่วมเป็นผู้นำการเรียนรู้
จากการดำเนินโครงการสนับสนุนการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง พบว่า โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยพัฒนาการขึ้น 0.17 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบจากการใช้เครื่องมือ “โรงเรียนประเมินตนเอง” ครั้งแรกและครั้งล่าสุด ทั้งนี้ จากแบบสำรวจ การสอนเพื่อการเรียนรู้ ภาวะผู้นำเพื่อการเรียนรู้ และชุมชนแห่งการเรียนรู้ พบว่า ความเปลี่ยนแปลงภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับ 4.12 และจากการสัมภาษณ์ พบว่า การสนับสนุนที่ผ่านมาเน้นที่ระดับห้องเรียน แต่ยังไม่มีการสนับสนุนภาวะผู้นำ เนื่องจาก ผอ. บางส่วนยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเองต่อการพัฒนาทั้งระบบ
สำหรับข้อเสนอแนะ ด้านการพัฒนาโรงเรียนสามารถนำเทคนิค OD (Organization Development) มาใช้ในการพัฒนาองค์กร เช่น การพัฒนาภาวะผู้นำของผอ. การเพิ่มทักษะของโค้ช เป็นต้น ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างการสื่อสาร โดยการปรับปรุงคู่มือเพิ่มบทเรียนจากโรงเรียนที่ใช้เครื่องมือได้ดี จัดอบรมสร้างความเข้าใจ และจัดทำแนวทางและรายงานผลการประเมิน และด้านการจัดหมวดหมู่ สร้างความเชื่อมโยงของเครื่องมือ โดยการใช้ข้อมูลจากเครื่องมือประเมินโรงเรียน ของมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ มาประกอบทำแผนประจำปี ดำเนินการสะท้อนผลการทำงานตามแผนประจำปีด้วยเครื่องมือประเมินตนเอง สรุปผลการทำงานเปรียบเทียบกับแผนและวิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาหลังจบภาคเรียน
Related Courses
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...



การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
กล่องการเรียนรู้ Learning Box
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...



Scenario Based Learning วิธีการเรียนแบบไม่ให้ Loss
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ฉากทัศน์เป็นฐาน ทำให้นักเรียน เรียนรู้ผ่านสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับความจริง และช่วยพัฒนาทักษะในการทำ ...



Scenario Based Learning วิธีการเรียนแบบไม่ให้ Loss
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Related Videos


กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL


โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

