กิจกรรม PLC Leader นวัตกรรมกับการพัฒนาการศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นรูปแบบของการ PLC ร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียน ในหัวข้อที่ 1 ในสถานการณ์ถ้าโรงเรียนเปิดได้ปกติ โรงเรียนเปิดได้บางส่วน และโรงเรียนไม่สามารถเปิดได้เลย ท่านอยากจะพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบใด (ร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้)
สถานการณ์ของโรงเรียนเป็นอย่างไร และจะใช้การพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบใด
โรงเรียนวัดบ่อตะกั่ว - มีนโยบายให้ครูจัดทำนวัตกรรมให้เหมาะสม คือ เรื่องวุฒิภาวะวัยเด็ก ทำแล้วเด็กต้องตอบสนองต่อกิจกรรม/ใบงานที่ครูทำให้ต้องสอดคล้องและนำไปใช้ได้จริง
โรงเรียนวัดเหมืองง่า – เลือก Well-being เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ On-site ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ปกครอง เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 195 คน ทั้งนี้โรงเรียนได้มีแบบประเมินตนเอง ให้ผู้ปกครองประเมินความเสี่ยงก่อนนำบุตรหลานมาโรงเรียน หรือ สามารถติดต่อประสานงานในการจัดการเรียนรู้ที่บ้านได้ ในส่วนของนวัตกรรมโรงเรียน จะเป็นด้านการบริหารจัดการ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยการใช้ Smile Model ให้ครูทุกห้องเรียนมีนวัตกรรม โดยนวัตกรรมแต่ละห้องเรียนยังไม่ได้อยู่ในขั้นตอนของการประชุม การออกแบบนวัตกรรมในห้องเรียน บางท่านจะอยู่ในรูปแบบของสื่อ หรือกิจกรรมซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ กรณีที่นักเรียนมาเรียน On-site ก็สามารถที่จะจัดกิจกรรม หรือใช้สื่อการสอนได้ สำหรับกรณีที่ไม่สามารถเรียน On-site ได้ จะมีการนำสื่อ หรือกิจกรรมจัดทำในรูปแบบ VDO หรือแนะนำสื่อเพื่อนำไปเผยแพร่ให้ผู้ปกครองได้ศึกษา ในรูปแบบของสื่อออนไลน์
การเลือกพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมขึ้นมา จะต้องพิจารณาจากอะไร
โรงเรียนวัดบ้านม้า – การที่จะเลือกสร้างนวัตกรรมขึ้นมา ต้องดูจากสิ่งที่ต้องการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน หรือต้องแก้ปัญหาจุดใดให้กับนักเรียน หลังจากนั้น ทำการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับพัฒนาในรูปแบบกิจกรรมที่ตอบโจทย์ของปัญหา สิ่งที่เราอยากให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆ แก่นักเรียน นำไปสู่การออกแบบการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง
ผอ.ธนวรรณ – ต้องดูบริบทของโรงเรียน เป็นส่วนสำคัญในการคิดสร้างนวัตกรรม พัฒนาแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับโรงเรียนตามสถานการณ์
ผอ.รัตติญา – ต้องพิจารณาจากความต้องการ และศักยภาพของนักเรียน ควบคู่กับบริบทของโรงเรียนว่าสิ่งที่เด็กต้องการที่จะนำไปสู่นวัตกรรม เพราะว่าโรงเรียนใช้รูปแบบ STEAM Design Process เป็นกระบวนการในการขับเคลื่อน โดยการให้ครูเป็นโค้ชตามกระบวนการของมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ เพราะฉะนั้น ต้องดูความต้องการของเด็กว่า เขามีความต้องการที่จะเป็นนวัตกรไปสู่นวัตกรรมในด้านใดเป็นสำคัญ ควบคู่กับบริบทของโรงเรียน พัฒนาให้เหมาะสมกับศักยภาพ เนื่องจากโรงเรียนใช้ STEAM Design Process เป็นตัวนำและครูสามารถเป็นโค้ชได้
คำถามที่ 3 เราจะวางแผนเพื่อพัฒนาต้นแบบอย่างไร
ผอ.อำนาจ – โรงเรียนบ้านแม่เมย ด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ (อาข่า กะเหรี่ยง ม้ง และพื้นเมือง) ในการวางแผนพัฒนาต้นแบบในรูปแบบของการพัฒนา “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้ สมุนไพรในท้องถิ่น”
สืบเนื่องจากปีที่ผ่านมา โรงเรียนมีความคาดหวังในเรื่องของความยากลำบากของการใช้ชีวิตของนักเรียนในกลุ่มชนเผ่า ในชนบท จึงได้ใช้กระบวนการ STEAM Design Process และมีการเรียนผ่านกิจกรรม Active Learning ทั้งหมดนี้ใช้กลุ่มเป้าหมาย 152 คน มีต้นแบบที่คิดเอาไว้ เพื่อพัฒนาต่อยอดจากโครงการที่ผ่านมาใช้ในเรื่องของกระบวนการทั้งหมด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรูปแบบของการใช้สิ่งที่มีอยู่ วัตถุดิบในท้องถิ่นทั้งหมด มาต่อยอดในการทำนวัตกรรมของโรงเรียน เกิดทักษะชีวิต และนักเรียนใช้กระบวนการ STEAM Design Process ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ โดยจัดการเรียนแบบ Active Learningเพื่อต่อยอด ขยายผลต่อจากความสำเร็จเดิม
โรงเรียนวัดบ้านม้า – ในการวางแผนพัฒนาต้นแบบ ครูทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนถึงจุดประสงค์ในการสร้างนวัตกรรมเพื่ออะไร และมาดูหน้าที่ของครูในบทบาทของครูจะต้องศึกษาด้านใดบ้าง กำหนดกระบวนการเพื่อช่วยกันออกแบบนวัตกรรมในขั้นตอนต่อไป
คำถามที่ 4 มีแนวทางการติดตามการใช้งานนวัตกรรมอย่างไร
โรงเรียนบ้านดอยคำ – การติดตามการพัฒนางาน จะใช้กระบวนการ PLC ซึ่งจะต่อยอดจากการวางแผน สรุปเป้าหมายที่เราได้ดำเนินการโครงการของปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้โมเดลของสตาร์ฟิชฯ กระบวนการ STEAM Design Process แต่ปีนี้โรงเรียนได้มีการปรับใช้โมเดล “สติคิดโมเดล” โดยการร่วมกันคิดของครูทุกคน วิเคราะห์ในเรื่องของ SWOT ปีที่ผ่านมาว่าพบเจอปัญหาอะไรบ้าง และต่อยอดอย่างไร ในส่วนของการต่อยอดจะใช้กระบวนการ PLC ซึ่งเน้นในเรื่องของการใช้สมรรถนะ
นอกจากการ PLC แล้ว ยังมีการนิเทศแบบช่วยเหลือครู แนะแนวทางการนิเทศแบบกัลยาณมิตร เป็นการส่งเสริมและให้กำลังใจครู
Related Courses
Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ
ฉีกกฏการเรียนการสอนแบบเดิมด้วยเทรนด์การเรียนรู้แนวใหม่แบบสั้น ง่าย ได้ความรู้ กับเทคนิคการสอนแบบพอดีคำ เพื่อลดภาระและ ...



การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...



Related Videos


โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดศิลามูล | โรงเรียนคลองบางกระทึก


โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก


TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)
