วิธีการเปลี่ยนเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะสไตล์สตาร์ฟิช (Starfish whole school transformation model)

จากปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเดิมที่คุณครูเน้นให้ความรู้กับเด็ก เน้นให้เด็กท่องจำ แต่ไม่มีเครื่องมือให้เด็กนำไปประยุกต์ไปใช้ในชีวิตจริงได้ เป็นหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทุกโรงเรียนจะต้องปรับตัวเพื่อก้าวไปสู่โรงเรียนฐานสมรรถนะ ที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ และความถนัดของตัวเอง เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ และเจตคติที่พร้อมกับการใช้ชีวิต และการทำงานของตัวเองได้ในอนาคต จึงเป็นที่มาของการพูดคุยในเวที TEP Learning เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาในหัวข้อ “วิธีการเปลี่ยนเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะสไตล์สตาร์ฟิช (Starfish whole school transformation model)” ซึ่งจะขอนำเสนอใน 3 ประเด็นสำคัญจากเวที ดังนี้
ประเด็นแรก คือ การจะก้าวไปสู่โรงเรียนฐานสมรรถนะได้นั้น จะต้องทำอย่างไร ?
- โรงเรียนจะต้องตั้งเป้าหมายของตัวเองก่อนว่า มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาอะไร เพื่อนำไปสู่การวางแผน และออกแบบวิธีการเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาไปที่เรื่องนั้น ๆ
- พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล ขึ้นอยู่กับความสนใจความถนัด ให้เด็กได้เรียนรู้ตามสไตล์ของตัวเอง เพื่อที่เขาจะสามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และทัศนคติต่าง ๆ ไปใช้ในการทำงาน และการใช้ชีวิตในอนาคตได้
- คุณครูต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้ เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตนเอง
- คุณครูต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ใหม่ ที่ไม่ได้เน้นไปที่การบรรยาย แต่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฎิบัติ และบูรณาการความรู้จากหลายวิชามาประยุกต์ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และเชื่อมโยงกับสถานการณ์จริง
- คุณครูต้องกำหนดงาน หรือสถานการณ์ปัญหาที่ต้องการให้เด็กทำสำเร็จ และให้เด็กได้ใช้อาวุธที่ตัวเองมีอยู่ ทั้งความรู้ ทักษะ คุณลักษณะมาใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์ดังกล่าวให้สำเร็จ
- คุณครูเปิดพื้นที่ให้เด็กได้นำความรู้ไปประยุต์ใช้ และได้ลองทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น กิจกรรมสำหรับนักสร้างสรรค์ (Makerspace) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นหา และเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น มีความกล้าคิดกล้าทำ พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะ และสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process
- เปลี่ยนวิธีการวัดผลผู้เรียนให้รอบด้าน ทั้งความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียน
ประเด็นที่สอง คือ มีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะ ตามแบบฉบับของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ได้แก่
เครื่องมือสำหรับผู้บริหาร :
- ทำความเข้าใจฐานทุน หรือบริบทของโรงเรียนว่าต้องการเปลี่ยนแปลงอะไร
- ใช้ Whole School Transformation Model โดยมีองค์ประกอบในการเปลี่ยนแปลงทั้ง 9 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย
- ผู้นำ ชุมชน บรรยากาศการเรียนรู้ เทคโนโลยี เป้าหมาย หลักสูตรและการประเมิน รูปแบบและการปฎิบัติการสอน การพัฒนาวิชาชีพ และการพัฒนาผู้เรียน
- ทำแผนพัฒนาโรงเรียน โดยมีวิธีการดำเนินการชัดเจนและสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกคน เพื่อการพัฒนาโรงเรียนไปทั้งระบบ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่สาม จากการนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
เด็กเปลี่ยน :
- การเปลี่ยนแปลงของเด็กที่เห็นได้ชัด คือ ด้านสมรรถนะและการเป็นเจ้าของการเรียนรู้
- เด็กสามารถคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ซึ่งเป็นผลที่มาจากการติดตั้งกระบวนการเรียนรู้แบบ STEAM Design Process ที่เปิดพื้นที่ให้เด็กได้คิด ได้วางแผน จินตนาการเพื่อแก้ไขปัญหา โดยคุณครูไม่ได้เข้ามาบอกว่าสิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด ทำให้เด็กกล้าแสดงออก
- เด็กมีทักษะการทำงานร่วมกัน ผ่านการพูดคุยกันเพื่อวางแผนการทำงาน คอยช่วยเหลือและสนับสนุนกัน ตามศักยภาพของเด็กแต่ละคนที่มี
- เด็กมีทักษะอาชีพ จากการที่โรงเรียนมี School Concept ชัดเจน ว่าอยากพัฒนาเด็กไปทิศทางไหน และมุ่งเน้นการพัฒนาไปในทิศทางนั้น ทำให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ครูเปลี่ยน :
- เปลี่ยนรูปแบบการสอน ที่ไม่ได้แค่เน้นการพัฒนาความรู้เพียงอย่างเดียว แต่มีการเปิดกว้างมากขึ้น ทั้งเรื่องทักษะและสมรรถนะของเด็ก
- เปลี่ยนมุมมองใหม่ จากเมื่อก่อนที่มองว่า การสอนแบบสมรรถนะเป็นเรื่องยาก พอได้ทดลองทำและมีเครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วย ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กอย่างชัดเจน
- คุณครูในโรงเรียนมีการพูดคุยกันมากขึ้น ผ่านวง PLC ที่นำเรื่องการสอนแบบสมรรถนะมาแลกเปลี่ยนกัน แชร์ประสบการณ์ร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น
ผู้อำนวยการ เปลี่ยน :
- เข้าใจโรงเรียนมากขึ้น รู้ว่าจะต้องพัฒนาโรงเรียนไปในทิศทางไหน และต้องพัฒนาโรงเรียนอย่างไร โดยใช้เครื่องมือ 9 องค์ประกอบ
- เป็นผู้สนับสนุนคุณครูในการปฎิบัติงาน
สุดท้าย เราจะเห็นว่าการก้าวไปสู่การเป็นโรงเรียนฐานสมรรถนะ ต้องอาศัยหลาย ๆ องค์ประกอบในการพัฒนา ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้การพัฒนาโรงเรียนเป็นไปทั้งระบบ และเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโรงเรียนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกับตัวผู้เรียนที่จะเกิดทักษะ และสมรรถนะต่าง ๆ ที่ติดตัวไปใช้ในการทำงาน และการใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต
Related Courses
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...



ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ
การเรียนรู้บทบาทภาระหน้าที่และเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และอุดมการณ์ของความเป็นครู



ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...



Play and Learn classroom design
Play and Learn classroom design ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเล่นปนเรียน เรียนรู้ความหมายของการเล่นปนเรียน ประ ...



Related Videos


Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)


ครูภาษาไทยกับการสอนแบบ Active Learning

