การพัฒนาโรงเรียนสู่นวัตกรรมด้วย Makerspace

Starfish Academy
Starfish Academy 1945 views • 5 เดือนที่แล้ว
การพัฒนาโรงเรียนสู่นวัตกรรมด้วย Makerspace

โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ เป็นโรงเรียนกองทุนการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 9 รุ่นที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดใหญ่ เปิดทำการสอนในระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 962 คน นักเรียนส่วนใหญ่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เช่น ไทย กะเหรี่ยง พม่า มอญ ลาว ครอบครัวของนักเรียนมีฐานะค่อนข้างยากจน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก และมีอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพรอง ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนอยู่ในระดับดี ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสถานศึกษาอยู่เสมอ โดยการนำของคณะกรรมการสถานศึกษา ตลอดจนวัดและชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงมีส่วนร่วมในการสนับสนุน ส่งเสริมการทำกิจกรรมของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ครูแกนนำได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ตั้งแต่ที่ได้รับทราบว่าโรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศได้เข้าร่วมโครงการ Makerspace Learning Center (MLC) นั้น ก็เกิดแรงบันดาลใจในการร่วมพัฒนาโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ให้มีนวัตกรรมที่เน้นอัตลักษณ์ความเป็นโรงเรียนแห่งขุนเขา โดยเน้นไปที่จุดเด่นของโรงเรียนคือ ขนมทองโย๊ะ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยง โดยพื้นฐานของขนมทองโย๊ะนั้น เป็นการนำข้าวเหนียวมาตำและใส่งาเท่านั้น แต่เด็กอยากจะมีการต่อยอดนวัตกรรมให้มีความแตกต่างไปจากเดิม โดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process 5 ขั้นตอน (Ask Imagine Plan Create Reflect & Redesign) มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนานวัตกรรม

จากการที่ได้พูดคุยกับเด็กๆ โดยใช้กระบวนการขั้นที่ 1 (Ask) นั้น เด็กๆ ได้พูดถึงจุดเด่นของโรงเรียนคือขนมทองโย๊ะคลุกงา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชนเผ่ากะเหรี่ยงและทางโรงเรียนได้มีการนำไปแสดงผลงานระดับจังหวัดอยู่แล้วแต่เด็กๆ อยากต่อยอดขนมในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าของขนม จากนั้นได้เข้าสู่กระบวนการขั้นที่ 2 (Imagine) โดยเด็กๆ ได้การระดมความคิดเพิ่มเติม ซึ่งได้เสนอไอเดียสิ่งที่อยากต่อยอด คือ ทองโย๊ะสตรอว์เบอร์รี ทองโย๊ะมันม่วง ทองโย๊ะทุเรียน ทองโย๊ะมะพร้าว และทองโย๊ะใบเตยแต่สุดท้ายเด็กทุกคนอยากทำทองโย๊ะใบเตย เนื่องจากว่าที่ชุมชนมีใบเตยเยอะ สามารถนำมาใช้ได้เลยโดยไม่ต้องซื้อ สำหรับวัตถุดิบอื่นๆ นั้น หาค่อนข้างยากและราคาค่อนข้างแพง ซึ่งเด็กแต่ละคนก็มีการออกแบบรูปทรงของขนมตามจินตนาการของตนเอง ซึ่งมีทั้งหมด 5 รูปคือ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หัวใจ และดาว จากนั้นมาถึงขั้นที่ 3 (Plan) โดยเด็กๆ ได้วางแผนถึงวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการทำขนม หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน ซึ่งโค้ชได้แนะนำเพิ่มเติมในด้านของการเขียนรายละเอียดของวัตถุดิบ คือ ให้ใส่ปริมาตรที่จะใช้ให้ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถบูรณาการได้หลากหลายวิชา และค้นหาสูตรที่สามารถใช้ได้จริง จากนั้นมาสู่ขั้นที่ 4 (Create) และขั้นที่ 5 (Reflect & Redesign) จากการที่ได้ร่วมรับฟังเด็กๆ พูดถึงขั้นตอนการลงมือทำขนมทองโย๊ะใบเตย ครั้งที่ 1 นั้นก็เจอปัญหาหลายด้าน เช่น

1.  เตาแก๊สแรงเกินไป ทำให้ขนมสุกไม่ทั่วและสุกไม่เท่ากัน ซึ่งจะใช้แก็สปิ๊กนิคหรือเตาถ่านแทน

2.  รูปทรงปั้นยาก เพราะได้วางไว้ 5 รูปคือ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หัวใจ และดาว แต่รูปที่ปั้นยากที่สุดคือ หัวใจและดาว ซึ่งการทำครั้งหน้าจะตัด 2 รูปทรงนี้ออก จะเหลือแค่ 3 รูปทรงเท่านั้น

3.  คั้นนำใบเตยโดยใช้มือจึงทำให้ได้สีที่ไม่เข้มข้น และใส่น้ำแช่ข้าวเยอะเกินไป ทำให้สีของใบเตยไม่ติดข้าว จะแก้ไขโดยใช้ครกตำใบเตย ซึ่งจะทำให้สีออกมากขึ้นและจะทำให้สีของใบเตยติดข้าวมากขึ้นด้วย

4.  ใช้ครกไม้ในการตำข้าวจึงทำให้ไม่ละเอียดพอ ครั้งต่อไปจะใช้ครกหินแทน

5.  รสชาติมีความจืด เนื่องจากใส่เกลือน้อยเกินไป และจะเพิ่มเกลืออีกเล็กน้อยในการทำครั้งต่อไป

จากการที่โค้ชได้พูดคุยเพิ่มเติมนั้น เด็กๆ บอกว่า ในการทำขนมทองโย๊ะในครั้งที่ 2 อยากเพิ่มรสชาติของขนม โดยการเพิ่มรสชีส รสสาหร่าย หรือรสปาปริก้า เพื่อให้โดนใจวัยรุ่นมากขึ้น และนอกจากนั้นก็ยังอยากเพิ่มสีของขนมโดยจะไปคิดค้นสีจากธรรมชาติเพิ่มเติม เช่น สีเหลืองจากฟักทองหรือขมิ้น สีแดงจากน้ำแตงโม หรือสีฟ้าจากดอกอัญชัญ และโดยพื้นฐานของขนมทองโย๊ะนั้น จะมีการนำไปทอดเท่านั้น แต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนโดยการนำไปย่างไฟ เพื่อเพิ่มความหอมให้กับขนมด้วย

สำหรับในการทำขนมทองโย๊ะใบเตยครั้งที่ 2 นั้น เด็กๆ ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ผลของการลงมือทำนั้นยังไม่สำเร็จตามที่หวังไว้ ซึ่งก็ยังเจอปัญหาหลายด้าน ดังนี้

1. สีของดอกอัญชันออกไม่ชัด อาจเป็นเพราะใช้อัญชันแห้ง (เนื่องจากดอกอัญชันโดนตัดก่อนที่เด็กๆ จะไปเก็บ)

2. รสชาติของขนมออกเค็มต้องลดปริมาณเกลือจากข้าวเหนียว 2 กิโล ต่องาขาว 500 กรัม เกลือ 80 มิลลิกรัม โดยจะลดปริมาณเกลือให้เหลือ 40 มิลลิกรัม

3. กดรูปแบบพิมพ์ที่วางไว้ยากเพราะข้าวเหนียวคืนตัวเร็ว วิธีการแก้ต้องกดแบบพิมพ์ตอนที่ข้าวเหนียวยังอุ่นๆ อยู่ แล้วเก็บเป็นชิ้นๆ เพื่อให้ข้าวเหนียวเซ็ตตัวแล้วจึงนำมาทอดจะได้ขนมที่กรอบอร่อยมากขึ้น

4. เด็กๆ ยังไม่มีแม่พิมพ์ จึงทำให้ในการปั้นขนมนั้นมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ทำให้การทอดเกิดปัญหาคือสีของขนมมีความเข้มต่างกัน ขนมสุกไม่เท่ากัน จึงได้แก้ไขโดยใช้ไม้ไผ่มาสร้างเป็นแบบในการปั้น และเมื่อปั้นขนมแล้วจะนำไปแช่ตู้เย็น เพื่อเป็นการถนอมอาหารและค่อยนำมาทอดเมื่อต้องการ

เด็กๆ ยังได้เล่าเพิ่มเติมอีกว่า จากที่ได้นำขนมไปให้หลายๆ กลุ่มได้ชิม เช่น หลังจากที่ท่านผู้อำนวยการ เพื่อนๆ และครูในโรงเรียนได้ชิมขนมแล้ว ได้สะท้อนมาว่า ขนมมีรสชาติที่เค็มไป และสีของใบเตยยังไม่ติดเท่าที่ควร เด็กๆ จึงได้มาหาความรู้เพิ่มเติมในการคั้นน้ำใบเตย ซึ่งถ้าจะให้สีติดข้าวมากขึ้นคือ ให้นำน้ำใบเตยไปใส่กะละมังและปล่อยทิ้งไว้ค้างคืน จะได้ตะกอนของใบเตยที่มีสีเข้ม และเมื่อเอาไปแช่ข้าวเหนียว ทำให้สีของใบเตยติดข้าวเหนียวได้ดี

จากการที่ได้คุยกับเด็กๆ นั้น เขียนสัมผัสได้ถึงความสุขและเห็นถึงพัฒนาการในการต่อยอดนวัตกรรมของเด็กๆ ที่มีการปรับแก้ไขกระบวนการ โดยจะมีการ Redesign เพื่อเพิ่มมูลค่าของขนมทองโย๊ะ และเพิ่มเติมคือ เด็กๆ จะสร้าง Story ที่เชื่อมโยงความเป็นมาของขนมทองโย๊ะในด้านเพิ่มความหลากหลายของสีและรสชาติที่แตกต่างไปจากเดิม และสามารถเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของชุมชนได้ด้วย เพื่อเป็นการต่อยอดนวัตกรรมที่มีความแตกต่างไปจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2297 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
5830 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2277 ผู้เรียน

Related Videos

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
421 views • 9 เดือนที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
287 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
569 views • 1 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]