ห้องเรียน Active Learning มีหน้าตาอย่างไร ชวนดูบรรยากาศของห้องเรียน Active Learning

ในบทความที่แล้วเราได้เรียนรู้กันไปแล้วถึงความหมายและแนวคิดของ Active Learning หรือการเรียนรู้เชิงรุก เชิงปฏิบัติ รวมถึงเทคนิคเบื้องต้น ที่คุณครูสามารถนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ในห้องเรียน Active Learning ของตัวเองกันได้ แต่แม้จะรู้ความหมาย รวมถึงเทคนิคอย่างคร่าวแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญก็คือการมองเห็นและเข้าใจบรรยากาศของห้องเรียน Active Learning จริงๆ ว่าเป็นอย่างไร ต้องสอนกันแบบไหนถึงจะเรียกว่า Active Learning อ่านเพิ่มเติม https://bit.ly/3DSf5xu
ในบทความนี้ แน่นอนว่า Starfish Labz มีคำตอบ พร้อมกรณีตัวอย่างประกอบจริงๆ จากห้องเรียน Active Learning ของโรงเรียนบ้านปลาดาว ที่ Starfish Labz ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาและติดตามความสำเร็จ จะมีองค์ประกอบใดที่เรียกว่าเป็นส่วนสำคัญของห้องเรียน Active Learning กันบ้าง ตาม Starfish Labz มาดูกันเลยค่ะ
1.องค์ประกอบด้านการคิดวิเคราะห์ (Thinking)
เมื่อพูดถึงองค์ประกอบของห้องเรียน Active Learning จริงๆ แล้วอาจต้องกล่าวว่าแต่ละโรงเรียนก็อาจให้คำนิยามและให้ขอบเขตความหมายต่างกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ของแต่ละโรงเรียน แต่หากพูดถึงบรรยากาศที่สำคัญๆ อย่างโดยกว้างๆ แล้ว หนึ่งในโมเดลที่ได้รับการกล่าวและนำเสนอไว้โดยสถาบันการเรียนรู้ Center for Teaching Innovation จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ประเทศสหรัฐอเมริกาก็คือ Thinking, Discussing, Investigating และ Creating นั่นเองค่ะ ในพาร์ทของการคิดวิเคราะห์ หรือ ‘Thinking’ องค์ประกอบในการมีพื้นที่แห่งความคิดดังกล่าวที่ว่าให้กับเด็กๆ ก็คือการเปิดโอกาสให้เด็กๆ เป็นมากกว่าเพียงแค่ ‘ผู้รับสาร’ เปลี่ยนขั้วการเรียนรู้จากเดิมที่เด็กคือผู้รับสารอย่างเงียบๆ มาสู่ห้องเรียนที่กระตุ้นให้เกิดการขบคิด การวิเคราะห์ผ่านกิจกรรมจนถึงการบรรยายที่น่าสนใจต่างๆ
ตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การใช้เทคนิค Problem-Based Learning กระตุ้นการเรียนรู้และการคิดของเด็กๆ ด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐานของโรงเรียนบ้านปลาดาว
“โรงเรียนมีใบไม้แห้งที่ดูเหมือนจะเป็นขยะเยอะมาก แต่เราจะสามารถทำอะไรกับปัญหานี้ได้ไหม ลองนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักได้หรือเปล่า และปุ๋ยหมักที่ว่าคืออะไร จะทำได้อย่างไร?”
2.องค์ประกอบด้านการเปิดโอกาสให้การแลกเปลี่ยน สนทนา อภิปราย (Discussing)
เมื่อคิดแล้ว แน่นอนว่าก็ถึงเวลาของการแลกเปลี่ยน เด็กๆ แต่ละคนย่อมมีหลากหลายความคิดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อกันและกัน องค์ประกอบที่สองของห้องเรียน Active Learning ที่ดีจึงคือ Discussing หรือการเปิดโอกาสให้เด็กๆ มีโอกาสในการสนทนา แลกเปลี่ยน และอภิปรายนั่นเองไม่ว่าจะผ่านกิจกรรมการนำเสนอหน้าห้องเรียนแบบเดี่ยว, การจับกลุ่มคุยกันเป็นกลุ่ม หรืออื่นๆ ยิ่งคุณครูเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนกันอย่างจริงๆ จังๆ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เด็กๆ มีความสนใจที่จะเรียนรู้และรู้สึกสนุกสนานมากยิ่งขึ้นเท่านั้นตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การให้คำบรรยายหรือชวนเด็กๆ มาเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นหนึ่งๆ โดยตรงและเปิดโอกาสให้เขาแลกเปลี่ยน พูดคุย และนำเสนอความคิดเห็นกันในแต่ละกลุ่ม
“การนำเสนอโปรเจกตส่วนตัวของเด็กๆ แต่ละคนหรือแต่ละคู่ ตามประเด็นการเรียนรู้และความสนใจ”
3.องค์ประกอบด้านการตั้งคำถาม ขบคิด (Investigating)
นอกเหนือจากการคิดวิเคราะห์เฉยๆ การเสริมสร้างบรรยากาศให้เด็กๆ กล้าที่จะตั้งคำถาม ขบคิดตั้งแต่ในระดับพื้นฐานไปจนถึงเชิงลึกก็ยังอีกหนึ่งจุดที่สำคัญของห้องเรียน Active Learning ในการเรียนรู้ที่เด็กๆ มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ที่โรงเรียนให้ความสำคัญกับความคิดและความสนใจของเด็กๆ สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการตั้งคำถามต่างๆ ของเขา ตั้งแต่ความสับสน ความไม่เข้าใจ จนถึงความพยายามและความกล้าหาญของเขาในการถามเกี่ยวกับสิ่งใหม่ๆองค์ประกอบด้านการ Investigating จะช่วยให้เด็กๆ ไม่เพียงมีทักษะการนำตนเอง (autonomy) แต่ยังรวมถึงการคิดนอกกรอบ การคิดถึงสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดจากกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ของเขาเอง
ตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การจัดกิจกรรม ชวนเด็กๆ สำรวจและตั้งคำถาม
“คุณครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่ให้กับเด็กๆ ณ ทุ่งนาหางดงและโรงสีข้าวหมู่บ้านหางดน ชวนเด็กๆ เรียนรู้และตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของข้าวจนถึงกระบวนการปลูกและผลิตออกมาเป็นเมล็ด”
4.องค์ประกอบด้านการคิดริเริ่ม สรรสร้าง และสร้างสรรค์ (Creating)
เมื่อมีการวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และขบคิดแล้ว การเรียนรู้เชิงรุก เชิงปฏิบัติอย่างแท้จริงก็จะคงจะสมบูรณ์ไม่ได้เลยหากไม่มีการชวนให้เด็กๆ ได้ลงมือทำสิ่งต่างๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ออกมาจากการเรียนรู้ดังกล่าว
การเรียนรู้เชิงรุก เชิงปฏิบัติคือการบ่มเพาะทัศนคติที่ดีให้กับเด็กๆ ในการทั้งสามารถคิดและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ออกมา ตัวอย่างบรรยากาศห้องเรียน Active Learning ในบริบทนี้ เช่น การจัดกิจกรรม ชวนเด็กๆ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ตามประเด็นของการเรียนรู้
“นำเสนอบทเรียน Unit – Let’ Party เกี่ยวกับอาหารในงานเลี้ยงฉลองนานาชาติ และชวนให้เด็กๆ ทำความเข้าใจถึงเมนูต่างๆ โดยตรงด้วยการให้เขาลองลงมือทำด้วยตัวเองผ่านเครื่องมือการเรียนรู้ STEAM Design Process พร้อมกับสาธิตออกมาเป็นภาษาอังกฤษ”
สรุปสาระสำคัญ (Key Takeaway)
คิดวิเคราะห์, ตั้งคำถาม, แลกเปลี่ยน, และสร้างสรรค์ ลงมือทำ สิ่งเหล่านี้คือหนึ่งในโมเดลหัวใจหลักของห้องเรียน Active Learning ที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากทุกคนกันนั่นเองค่ะ แม้อาจฟังดูเหมือนยาก แต่เมื่อดูตัวอย่างจากโรงเรียนบ้านปลาดาวแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจริงๆ แล้วห้องเรียน Active Learning นั้น หากคุณครูมีใจที่พร้อม สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายๆ และแถมยังเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการช่วยเสริมสร้างคุณภาพการเรียนรู้ เติมความสนุกสนานให้กับทั้งคุณครูและเด็กๆ ตลอดจนหากพูดถึงความสำคัญของ Active Learning เองแล้ว ตัวรูปแบบยังเป็นจุดที่สำคัญในการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การเปลี่ยนผ่านจากเพียงแค่เนื้อหาหรือประเด็นต่างๆ มาสู่การลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้จริง และได้รับการฝึกฝนพัฒนาทักษะอย่างจริงๆ
อ้างอิง:
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
การพัฒนาทักษะในอนาคตด้วย Makerspace
ในคอร์สนี้ จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมพร้อมผู้เรียน เพื่อพัฒนาให้เกิดทักษะที่จำเป็นในอนาคต ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบ Ma ...



การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...



Related Videos


พระสอนศีลธรรมแกนนำ 2562


พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

