
ปลุกพลังนวัตกรรุ่นใหม่ สร้างสังคมเมืองปลอดภัยและมีสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Prince
7 เดือนที่แล้ว
น้องๆ ใช้รูปแบบการสร้างสรรค์งานที่ได้ลงมือทํา คืออะไร (แบบจํา ลองโมเดล Mindmap โปสเตอร์)และมีวิธีการออกแบบอย่างไร
99 ชอบ
440 ตอบกลับ
41,920 ดู

อรุณณี
5 เดือนที่แล้ว
การใช้รูปแบบการสร้างสรรค์งานที่ได้ลงมือทำมีหลายรูปแบบ เช่น การใช้แบบจำลองโมเดล, Mindmap, และโปสเตอร์ โดยแต่ละรูปแบบมีวิธีการออกแบบที่แตกต่างกัน:
แบบจำลองโมเดล (Model):
การออกแบบ: เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์และระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข กำหนดเป้าหมายและวิธีการแก้ไข จากนั้นสร้างแบบจำลองเพื่อแสดงแนวคิดและการทดลอง.
ขั้นตอนการสร้าง: รวบรวมวัสดุที่จำเป็น, ออกแบบและสร้างแบบจำลอง, ทดสอบและปรับปรุงตามผลการทดสอบ.
Mindmap:
การออกแบบ: เริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวข้อหลักที่ต้องการนำเสนอ จากนั้นเพิ่มกิ่งก้านสาขาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก โดยใช้รูปภาพหรือคำอธิบายเพื่อแสดงความสัมพันธ์.
ขั้นตอนการสร้าง: เขียนหัวข้อหลักที่กลางกระดาษ, วาดกิ่งก้านสาขาที่เชื่อมโยงกับหัวข้อหลัก, เพิ่มรายละเอียดและรูปภาพเพื่อแสดงความสัมพันธ์.
โปสเตอร์ (Poster):
การออกแบบ: เริ่มต้นด้วยการกำหนดข้อความหลักและวัตถุประสงค์ของโปสเตอร์ เลือกรูปภาพและองค์ประกอบกราฟิกที่เหมาะสม และจัดวางองค์ประกอบให้มีความชัดเจนและน่าสนใจ.
ขั้นตอนการสร้าง: ออกแบบโครงร่างของโปสเตอร์, เพิ่มข้อความและรูปภาพ, ตรวจสอบความสมดุลและความชัดเจนของโปสเตอร์, และปรับปรุงตามความคิดเห็นที่ได้รับ.
การใช้รูปแบบต่างๆ เหล่านี้ช่วยให้สามารถสื่อสารแนวคิดและข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์.
0 ชอบ
Supisara
4 เดือนที่แล้ว
1. รู้จักการวางแผนก่อนซื้อและจัดเก็บให้ถูกวิธี
2. เลือกซื้อของที่รีไซเคิลได้ให้มากขึ้น
3. ทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
4. ลดโอกาสในการทิ้งขยะด้วยการเลือกใช้ถังขยะใบเล็ก
5. Reuse และ Recycle
6. แยกประเภทขยะ
7. ใส่ใจรายละเอียดในพฤติกรรมการจับจ่าย
8. รู้จักรักษาและซ่อมแซมสินค้าที่เสียหายแทนการซื้อใหม่
9. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง
10. หันมาซื้อของมือสอง
0 ชอบ
นันท์นภัส
4 เดือนที่แล้ว
การจัดทำเป็นแบบจำลองโมเดล จากนั้นนำไปทดลองใช้ แล้วกลับมาพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
0 ชอบ
นางสาวสาลินี
4 เดือนที่แล้ว
กระบวนการในการคิดสร้างสรรค์นั้นมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมตัว Preparation
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เก็บข้อมูล สะสมข่าวสาร ค้นหาไอเดีย เช่น อ่านหนังสือ/นิตยาสาร/หนังสือพิมพ์, การคุยกับคนเก่ง/ผู้เชี่ยวชาญ/กลุ่มเป้าหมาย/คนที่รู้ปัญหา/, การท่องอินเตอร์เนต/เข้า Social media ต่างๆ,การระดมสมอง/การรวมกลุ่มกันคิด แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เป็นต้น
.
ขั้นตอนที่ 2 การบ่มเพาะ Incubation
เป็นช่วงที่ไอเดียที่หลากหลายนั้น จะต้องมาบ่มเพาะ เพื่อให้ได้ไอเดียที่ดีและนำไปใช้ได้ เหมือนแม่ไก่ออกไข่มาค่ะ ช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่แม่ไก่กำลังฟักไข่ออกมา ก่อนจะออกไปเป็นลูกไก่. ถ้าไข่ไม่ผ่านการฟัก ก็จะไม่สามารถออกมาเป็นลูกไก่ได้ เหมือนไอเดียที่ได้ ถ้าไม่นำมาบ่มเพาะ ช่วงนี้ไอเดยที่มีเยอะแยะมากมาย จะปั่นป่วนอยู่ในหัว ไม่ต้องกังวลนะคะ ลองหาพื้นที่สงบๆเงียบๆบ่อยๆเพื่อตกผลึกความคิด อีกครั้งนะคะ
.
ขั้นตอนที่ 3 Idea Insight ข้อมูลเชิงลึก
หลังจากเตรียมการและบ่มเพาะมาระยะหนึ่ง ข่าวดีคือช่วงนี้เป็นที่ไอเดียของเราสุกได้ที่ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนคิดสร้างสรรค์ที่เรียกว่า ขั้นตอนการเข้าใจ. ซึ่งเราจะมีโมเมนท์ที่เรียกว่า อะฮ้า AHA moment หรือ ยูเรก้า Eureka moment คือดีใจได้ไอเดียที่จะนำไปใช้ได้จริงๆเสียที
.
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินไอเดีย Evaluation
เป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะว่า บางครั้งเรามีหลายไอเดียมาก แต่ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกไอเดียที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ sense มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด บางทีที่เราเห็นบางคนเก่งในการคิดสร้างสรรค์ เพราะเขาเก่งในขั้นตอนนี้ คือการประเมินไอเดีย ที่เหมาะสม และสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างสร้างสรรค์ในเวลาที่รวดเร็วค่ะ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องวิจารณ์ และไตร่ตรองไอเดียได้อย่างมีเหตุผลด้วยค่ะ
.
5. ขั้นตอนการปรับใช้ Elaboration
ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการนำไอเดียมาลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นนวัตกรรมก็ได้ค่ะ. ซึ่งส่วนใหญ่ คนมักจะหยุดกันที่ขั้นตอนที่ 4 คือคิดสร้างสรรค์ได้ไอเดียดีๆเสร็จแล้ว แต่ขาดขั้นตอนการลงมือทำให้เกิดขึ้นจริงในขั้นตอนที่ 5 นี้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่หนัก และค่อนข้างใช้เวลา
0 ชอบ
เข้าร่วมชุมชนออนไลน์
แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์ เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง