PLC Leader ครั้งที่ 6 "หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาผู้เรียน"

Starfish Academy
Starfish Academy 1176 views • 1 ปีที่แล้ว
PLC Leader ครั้งที่ 6 "หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาผู้เรียน"

กิจกรรม PLC Leader ครั้งที่ 6 โครงการ สนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หัวข้อ “หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาผู้เรียน”

หลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การจัดการเรียนรู้จึงมุ่งให้ความสำคัญกับพฤติกรรม การกระทำ และศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งกิจกรรม PLC Leader ในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันในหัวข้อ “หลักสูตรฐานสมรรถนะกับการพัฒนาผู้เรียน” เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงหลักสูตรฐานสมรรถนะ และเป็นแนวทางสำหรับการเตรียมตัวเริ่มต้นหลักสูตรฐานสมรรถนะของแต่ละโรงเรียน

การสอนแบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีความสำคัญที่จะนำไปสู่การเกิดสมรรถนะได้ ทั้งนี้ สมรรถนะเกิดจากการนำ K (Knowledge) S (Skills) และ A (Attitude & Value) มาร้อยเรียงจนเกิดเป็นสมรรถนะ (Competency) ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ ฉะนั้น ต้องใช้ทั้ง 3 ส่วนนี้นำไปสู่การนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ และทำให้เกิดผลสำเร็จ โดยการใช้ความรู้ที่ได้เรียนรู้มาบูรณาการร่วมกันจนนำไปสู่การปฏิบัติ (Action) ซึ่งถ้าเด็กนำมาใช้ได้ นั่นหมายความว่า เด็กก็จะเกิดสมรรถนะ ถ้าหากเข้าใจแนวคิดนี้จะทำให้ครูสามารถจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้ได้ โดยมีสถานการณ์ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นสมรรถนะขึ้น ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องของผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาชาติ (DOE ชาติ) 3 ข้อ คือ 

1) ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้เรียนรู้ (Learner Person) เพื่อสร้างงานและคุณภาพชีวิตที่ดี 

2) การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen) 

3) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-creator) เพื่อสังคมที่มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน

จากการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้การจัดการศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้สู่ฐานสมรรถนะ เนื่องจากทักษะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงส่งผลให้ผู้เรียนที่เรียนจบแล้วไม่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน อีกทั้งยังขาดทักษะในการทำงานแบบบูรณาการ ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้เป็นฐานสมรรถนะ จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิต ทักษะการแก้ปัญหา รวมทั้งยังสามารถตอบโจทย์ DOE การศึกษาชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีกระบวนการขั้นตอนต่างๆ เด็กเกิดการเรียนรู้ระหว่างทางหรือไม่ ถ้าหากเด็กยังทำ

ตามที่ครูบอกเด็กเกิดการเรียนรู้แล้วหรือยัง และในการจัดการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ตอบโจทย์ที่เด็กเกิดการเรียนรู้ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง จนนำไปสู่ปลายทางหรือไม่ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า สมรรถนะไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เปลี่ยนจากจุดที่การมอง K S A เป็นการกระทำที่สามารถนำไปใช้ในวิถีชีวิตได้

อย่างไรก็ตาม ในการจัดการเรียนรู้ก่อนที่จะเริ่มเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ สถานศึกษาจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งกิจกรรม PLC ในครั้งนี้ ได้มีการแบ่งปันประสบการณ์ของโรงเรียนในการเตรียมตัวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะดังนี้

ผอ.วิชัย จันทร์ส่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดตาขัน สำหรับประเด็นสืบเนื่องถึงเหตุผลและความจำเป็นต่างๆ ในการปรับตัวตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นผลสอบ PISA O-Net NT หรือ RT เมื่อประมวลผลกับมาตรวัดระดับโลก พบว่ามีผลที่ค่อนข้างต่ำ นักเรียน/นักศึกษาจบแล้วไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน อิทธิพลของสื่อใหม่ (New media) เข้ามามีอิทธิพลมาก ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ล้ำหน้าอย่างก้าวกระโดด ปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การเกิดเชื้อโรคและภัยธรรมชาติต่างๆ เหล่านี้เป็นผลพวงที่ทำให้ต้องมีการปรับตัว อีกทั้งการจัดการเรียนการสอนเดิมของแต่ละโรงเรียนจะมีลักษณะหรือรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งในการปรับการเรียนการสอนเป็นการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของโรงเรียนวัดตาขัน เริ่มจากผู้บริหารในการปรับ เปลี่ยน เปิดแนวคิดของตนเอง โดยการปรับ mind set เป็นนักเรียนรู้ เปิดใจยอมรับ แสวงหาโอกาสใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลง ตั้งธงให้ชัดเจน เมื่อมีการตั้งเป้าแล้ว โรงเรียนได้มีการพัฒนาทั้งระบบ ในกระบวนการที่โรงเรียนได้เรียนรู้ นอกจาก 4 งานหลัก (งานวิชาการ งานบริหารบุคคล การเงิน-พัสดุ บริหารทั่วไป) โรงเรียนได้มีการตั้งเป้าในการพัฒนา อย่างน้อย 7 ด้าน (7 Chang) คือ 

1) การค้นหาตัวตน อัตลักษณ์ของโรงเรียน (School Concept) 

2) การพัฒนาตนเองจากที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกมาเป็น Super Coach ให้กับครู 

3) การพัฒนาครูให้เป็น Learning Designer 

4) ห้องเรียนต้องมีการยืดหยุ่น พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เรียน 

5) มุ่งเน้นหลักสูตรฐานสมรรถนะ 

6) การจัดการเรียนการสอนรูปแบบ Active Learning 

7) การวัดและประเมินผล เพื่อสะท้อนสมรรถนะ หลังจากนั้นทำการปรับครู 

โดยการปรับ mind set กับครูทุกคน ภายใต้สมมติฐานว่า “ครูทุกคนสามารถเรียนรู้และปรับตัวได้” ส่งครูเข้ารับการอบรมพัฒนาในหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และมุ่งจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ โดยศึกษาข้อมูลได้ที่ CBE ด้านโรงเรียนได้ดำเนินพัฒนาการตามกรอบที่วางไว้ คือ 

1) พัฒนาโรงเรียนตาม 7 Chang 

2) สร้างการรับรู้ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เช่น ผู้ปกครอง คณะกรรมการ ชุมชน เป็นต้น

3) แสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนจากเครือข่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเป็นจุดสำคัญการสร้างสมรรถนะในโรงเรียนให้เกิดขึ้นได้

ผอ.มุกดา คำวินิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปลาดาว เริ่มแรกในการเปลี่ยนเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง การจัดการศึกษาไม่ตอบโจทย์ ทำให้โรงเรียนปรับการจัดการเรียนการสอน โดยการปูพื้นฐานตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้ทักษะและสมรรถนะในการต่อยอดต่อไปในอนาคต ฉะนั้น โรงเรียนจึงได้มีการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาเชิงรุกที่เน้นให้เด็กได้ทักษะต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 ที่จะนำไปสู่สมรรถนะ ซึ่งการปรับ mindset ทั้งผู้อำนวยการและครูถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ โรงเรียนได้มีการกำหนดทักษะของครูไว้อย่างชัดเจน 

โดยครูจะต้องทำหน้าที่เป็นโค้ชหรือเป็นผู้อำนวยความสะดวก จากการที่ครูเป็นศูนย์กลางต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง และครูเป็นผู้คอยช่วยเหลือ เป็นผู้ที่สร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ ไม่ใช่การชี้นำแต่เป็นการชี้แนะ เป็นนักพัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพเฉพาะบุคคล ครูจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นผู้สร้างและเผยแพร่เนื้อหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย และครูต้องเป็นนักนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้เด็กเป็นนักนวัตกร 

สิ่งเหล่านี้จะต้องปรับ Mindset ของครูเช่นกัน จากการดำเนินการพบปัญหาค่อนข้างเยอะและใช้เวลานาน โรงเรียนจึงได้มีวง PLC เชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ และให้โอกาสครูในการหาความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพของตนเอง และจากการที่โรงเรียนบ้านปลาดาวเป็นโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ รุ่นที่ 1 ในการทำหลักสูตรฐานสมรรถนะและได้รับการรับรองจากคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม จึงได้จัดการเรียนการสอน วิชาหลัก 4 รายวิชา (ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสต์ และภาษาอังกฤษ) และสังคมและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อยู่ในกลุ่มของสังคมศึกษา ศิลปะ สุขภาวะพื้นฐาน ซึ่งตัวนี้จะใช้การบูรณาการ และ 2 วิชาเพิ่มเติมคือ นวัตกรรมของโรงเรียน ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม ที่เน้นในเรื่องทักษะต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดสมรรถนะและปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และวิชาวิทยาการค้นคว้าเชิงระบบเป็นในส่วนของโครงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Problem Based หรือ Project Based ที่จะช่วยให้เด็กได้เกิดองค์ความรู้และนำไปสู่สมรรถนะด้วยตนเอง นี่คือการจัดการศึกษาของโรงเรียนในปัจจุบัน เพื่อที่จะเสริมสร้างให้เด็กได้สมรรถนะที่จะต่อยอดการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

เห็นได้ว่า “สมรรถนะ” เป็นความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ เพื่อมุ่งให้เกิดการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะหลักที่จำเป็นสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหา และการดำรงชีวิต ซึ่งถ้าหลักสูตรได้ถูกประยุกต์และนำมาใช้ในการจัดการศึกษาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมต่อการพัฒนาตนเองได้

ผอ.วิชัย จันทร์ส่อง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดตาขัน

ผอ.มุกดา คำวินิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปลาดาว

ศน.อุสนา เงินเจริญ ศึกษานิเทศก์ สพป.ระยอง เขต 2

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
Starfish Academy

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

Starfish Academy
1270 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
Starfish Academy

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

Starfish Academy
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy

Related Videos

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
5046 views • 10 เดือนที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
8770 views • 9 เดือนที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
287 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]