ห้องเรียน Active Learning สนุกได้ด้วยการเสริม Logical Thinking

Starfish Academy
Starfish Academy 1965 views • 9 เดือนที่แล้ว
ห้องเรียน Active Learning สนุกได้ด้วยการเสริม Logical Thinking

การสร้างห้องเรียน Active Learning นอกเหนือจากองค์ประกอบด้านประสิทธิภาพหรือคุณภาพของเนื้อหาแล้ว อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือด้านความสนุกสนาน การเติมเต็มด้านความน่าสนใจของการเรียนนั่นเองค่ะ เด็กๆ คงจะอยากเรียนรู้หรือลงมือทำในสิ่งๆ หนึ่งไม่ได้เลย หากเขาไม่รู้สึกว่ามันน่าสนใจ น่าสนุกสนาน หรือได้รับการกระตุ้นจากคุณครูอย่างสร้างสรรค์สักเล็กน้อย และหนึ่งในเคล็ดลับของการสร้างห้องเรียน Active Learning อย่างสร้างสรรค์ เต็มไปด้วยความสนุกสนาน และความน่าสนใจก็คือการเพิ่มลูกเล่นของ Logical Thinking หรือ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เข้าไปนั่นเอง

ฟังแบบนี้ คุณครูหลายๆ ท่านอาจจะเริ่มคิดแล้วว่าเอ้ แล้วมันจะเป็นยังไง คิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลจะช่วยให้กิจกรรมในห้องเรียน Active Learning ของเราสนุกขึ้นมาได้ยังไง? ในบทความนี้ Starfish Labz มีคำตอบมาให้ พร้อมกับตัวอย่างที่คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างง่ายๆ

Logical Thinking ในห้องเรียน Active Learning ดีอย่างไร? กิจกรรมแบบไหน หน้าตาแบบไหนที่เรียกว่าห้องเรียน Active Learning แบบสนุกสนานใสไตล์ ที่มี Logical Thinking ซ่อนอยู่? มาเรียนรู้ หาคำตอบกันเลยค่ะ

Logical Thinking หัวใจสำคัญในการสร้างสีสันให้กับห้องเรียน Active Learning

หัวใจสำคัญของการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Active Learning) คือการออกแบบห้องเรียนให้เด็กๆ ได้มีโอกาสลงมือทำ ได้มีโอกาสคิด มีโอกาสสำรวจ มีองค์ประกอบเชิงปฏิบัติและความสนใจใคร่รู้ของเด็กๆ เป็นศูนย์กลาง เมื่อกล่าวถึงหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยสร้างห้องเรียน Active Learning ให้มีความสนุก น่าเรียนรู้ และตอบโจทย์การลงมือทำอย่างแท้จริง องค์ประกอบอย่าง Logical Thinking หรือกาพัฒนาความคิดเชิงตรรกะของเด็กๆ จึงถือเป็นหนึ่งเคล็ดลับที่มีประโยชน์อย่างยิ่งนั่นเองค่ะ

จริงๆ เจ้าองค์ประกอบ Logical Thinking ก็ถือเป็นหนึ่งในหัวใจที่สำคัญของห้องเรียน Active Learning อยู่แล้ว เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่คุณครูและโรงเรียนแทบทุกแห่งอยากสอนให้กับเด็กๆ แต่หัวใจสำคัญที่ Starfish Labz อยากนำเสนอเพิ่มเติมอีกในวันนี้ก็คือการใช้คุณประโยชน์จากเจ้าองค์ประกอบตรงนี้ให้กลายเป็นสีสัน เพิ่มเติมขึ้นไปอีก

ไม่ว่าคุณครูอยากจะสอนอะไร อยากจะแนะอะไร อยากกระตุ้นให้เด็กๆ ทำอะไร หรือไปถึงเป้าหมายไหน แทนที่จะชี้ให้เขาเห็นเอง หัวใจของ Logical Thinking คือการลองให้เด็กๆ คิดด้วยตัวเองผ่านหลากหลายเทคนิคต่างๆ นั่นเองค่ะ

เมื่อเด็กๆ ได้มีโอกาสคิด ได้มีโอกาสใช้เวลาไปถึงเป้าหมายหนึ่งๆ ด้วยตัวเอง ความสนุก ความลุ้น ความสงสัยใคร่รู้ต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นในตัวเขาเองอย่างเป็นธรรมชาติ

การเติมองค์ประกอบ Logical Thinking ในการสอนของคุณครู จึงเปรียบเสมือนการสร้างลูกเล่นความลุ้น ความสนุกสนาน การให้โอกาสเด็กๆ ไปถึงเป้าหมายในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

5 เทคนิค Logical Thinking สร้างสีสันให้กับห้องเรียน Active Learning

1. Problem-Based Activities

จะมีอะไรกระตุ้นความสงสัยใคร่รู้และการไปถึงเป้าหมายของการเรียนรู้หนึ่งๆ ได้ดีเท่ากับยกตัวอย่างปัญหาหนึ่งๆ ขึ้นมาให้กับเด็กๆ Problem-Based Activities หรือ Problem-Based Learning ในที่นี้ก็คือการนำเสนอการเรียนรู้ด้วยการยกตัวอย่างปัญหาหนึ่งๆ ขึ้นมาให้เด็กๆ เป็นผู้แก้ไข ช่วยสร้างทั้งความสนุกสนานในการเรียนรู้และความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง (learner autonomy)

2. Role-Playing

หากยกปัญหาขึ้นมายังเห็นภาพไม่ชัด สนุกไม่พอ อีกหนึ่งเทคนิคก็คือการลองๆ ชวนเด็กๆ มาสวมบทบาท แสดงละคร หรือพูดคุยกันในบทบาทหนึ่งๆ แลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ในมุมมองของใครสักคน ไม่ว่าจะในรูปของละคร (Play-Based) ที่เน้นให้เด็กๆ เกิดประสบการณ์กับสาระสำคัญหนึ่งๆ ตามบทบาทอย่างเป็นเหตุเป็นผลและสนุกสนาน หรือในรูปเชิงแก้ปัญหา (Problem-Based) ที่เน้นให้เด็กๆ เกิดกระบวนการเรียนรู้ เดินไปถึงคำตอบด้วยตัวของเขาเอง ตามความเห็นของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ 

3. Discussion และ/หรือ Debate

ถ้าสองเทคนิคแรกยังสร้างสีไม่พอ อีกหนึ่งเทคนิคก็คือ Discussion และ/หรือ Debate การชวนเด็กๆ มาอภิปรายไม่ว่าจะในรูปของรายกลุ่ม รายเดี่ยวทั่วๆ ไป (Discussion) หรือในรูปของการโต้วาที (Debate)

หัวใจสำคัญของเทคนิค Discussion/Debate แน่นอนว่าคือการใช้ Logical Thinking แต่สาระสำคัญจริงๆ แล้วคือผลลัพธ์ที่คุณครูคาดหมายไว้ว่าเด็กๆ จะได้รับจากการพูดคุย อภิปรายกันเองมากกว่า Discussion/Debate อาจมีลักษณะคล้ายๆ Problem-Based Learning แต่คำตอบของเด็กๆ ใน Discussion/Debate มีโอกาสที่จะกว้างและแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคนมากกว่านั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ดี หัวใจสำคัญในการใช้เทคนิคนี้ไม่ควรเป็นการบังคับให้เด็กๆ บางคนที่อาจจะไม่ได้ชอบการสนทนามากนักต้องทำในสิ่งที่เขารู้สึกไม่สบายใจ คุณครูอาจมองเห็นถึงคุณประโยชน์ของเทคนิค แต่สิ่งสำคัญมากกว่าคือการมองเห็นถึงธรรมชาติของเด็กๆ แต่ละคนที่แตกต่างกันไป การใช้ Discussion/Debate อาจจะเป็นเพียงแค่การฝึกให้เด็กๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน แต่การจะให้วัดผล ให้คะแนน หรือประเมินสมรรถนะหนึ่งๆ ของเด็กๆ อย่างจริงๆ จังๆ อาจต้องดูที่ลักษณะนิสัยหรือธรรมชาติในการเรียนรู้ของเด็กๆ ด้วยนะคะ เช่น แม้ว่าเด็กคนหนึ่งอาจจะโต้วาทีไม่เก่งแต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาอาจจะไม่เข้าใจหรือไม่มีทักษะการคิดเสมอไป เขาอาจจะถนัดในการนำเสนอความคิดของในรูปแบบอื่นๆ มากกว่า เช่น ผ่านการเขียน, งานศิลปะ เป็นต้น

4. Real-Life Examples

จะมีอะไรกระตุ้นความสนใจใคร่รู้ของเด็กๆ ไปมากกว่า Real-Life Examples หรือตัวอย่างที่เขาสามารถเรียนรู้ สัมผัสได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นการทัศนศึกษา การเดินทางไปเรียนรู้นอกพื้นที่ การลงพื้นที่จริงๆ รวมถึงการเรียนรู้จากข่าว จากสถานการณ์ต่างๆ Real-Life Examples ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ มองเห็นถึงเหตุผล การเชื่อมโยง และความเป็นไปในสิ่งต่างๆ อย่างที่เป็นจริงๆ เมื่อนำเสนอ Real-Life Examples แล้ว คุณครูยังสามารถชวนให้เด็กๆ คิดเพิ่มเติมเองต่อได้ พูดคุย แลกเปลี่ยนกันต่อเพิ่มเติมไม่ว่าจะในรูปของการเขียนหรือการเอ่ย

5. Collaborative Learning

อาจฟังดูเหมือนเป็นเทคนิคแสนเก่า แต่การเรียนรู้ร่วมกันอย่าง Collaborative Learning ไม่ว่าจะในรูปของคู่หรือกลุ่มก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับการเรียนรู้สำคัญที่ทั้งช่วยให้เด็กๆ เกิดทั้งภาวะ  Logical Thinking และความสนุกสนานในการเรียนรู้ได้ไม่ยากเลยค่ะ แม้การจับคู่ การทำงานกลุ่มอาจจะได้ชื่อว่ามักทำให้เด็กๆ เหนื่อย ท้อใจอยู่บ่อยๆ แต่ในความเป็นจริง ถ้าคุณครูสามารถช่วยพวกเขาเลือกคู่กันได้อย่างลงตัว ช่วยแนะนำ และช่วยให้เขามองเห็นถึงประโยชน์ของการเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างชัดเจน Starfish Labz เชื่อว่าเด็กๆ จะต้องเข้าใจและเปิดใจอย่างแน่นอน

สรุป (Key Takeaway)

การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Logic Thinking) ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่คุณครูห้องเรียน Active Learning สามารถนำมาใช้ได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เสริมสร้างความสนใจใคร่รู้ การค้นหาคำตอบของเด็กๆ อย่างเป็นธรรมชาติ และยังเป็นการช่วยเสริมสร้างทักษะ สมรรถนะการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็กๆ

อ้างอิง:

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2288 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนภาษาไทย (3R)

การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนภาษาไทย (3R)
Starfish Academy

การสอนภาษาไทย (3R)

Starfish Academy
2309 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:30 ชั่วโมง

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

สร้างความพร้อมในการเขียนโปรแกรม สำหรับเด็กประถมด้วย Unplugged coding

เริ่มเรียนโค้ดดิ้งได้ตั้งแต่ตอนไหน จะเริ่มต้นสอนโค้ดดิ้งให้เด็กต้องทำยังไง ในคอร์สเรียน “สร้างความพร้อมในการเขียนโปรแกรม สำ ...

นางสาวปรัชนียา มาวัชระ
นางสาวปรัชนียา มาวัชระ
สร้างความพร้อมในการเขียนโปรแกรม สำหรับเด็กประถมด้วย Unplugged coding
นางสาวปรัชนียา มาวัชระ

สร้างความพร้อมในการเขียนโปรแกรม สำหรับเด็กประถมด้วย Unplugged coding

นางสาวปรัชนียา มาวัชระ

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
486 views • 1 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1055 views • 1 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
437 views • 10 เดือนที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
453 views • 1 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1