Show & Share ชุมชนออนไลน์

กลุ่มแชร์ผลงานครูและนักเรียน: สร้างมิตรภาพและเรียนรู้ร่วมกัน

เข้าร่วมกลุ่มแชร์ผลงานครูและนักเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนไอเดียและประสบการณ์การสอนที่สร้างสรรค์ มีสังคมที่กระตุ้นการเรียนรู้และสนับสนุนทีมงานทางการศึกษาของคุณไปพร้อมๆ กัน!

ศธ.เคาะแจกแท็บเล็ต-โน๊ตบุ๊ค-ไอแพด ครู และนักเรียน

Starfish
Starfish
Top Fan
Top Fan

4 เดือนที่แล้ว

ศธ.เคาะเช่าแท็บเล็ต-โน๊ตบุ๊ค-ไอแพด เล็งขอ 1.5 หมื่นล้าน แจกน.ร.-ครู กว่า 6 แสนเครื่อง ปี’68

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) โฆษกศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามนโยบายเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินการ จัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับนักเรียนและครู ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้จัดทำความเห็นไปยังกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือดีอี เพื่อขอกำหนดกรอบการจัดหาอุปกรณ์ ซึ่งยังไม่มีการล็อกสเป็ก ว่าจะต้องเป็นอุปกรณ์ลักษณะไหน ซึ่งมีความเป็นไปได้ทั้ง แท็บเล็ต ไอแพด โน๊ตบุ๊ค และโครมบุ๊ค ซึ่งทางดีอีก็เข้าใจถึงความจำเป็น เพราะอยากเปิดโอกาสให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาแข่งขันกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน โดยจะอยู่ในการจัดทำคำของบประมาณ ปี 2568 ซึ่งก็ต้องมาดูว่า จะได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐสภาจำนวนเท่าไร โดยคาดว่า จะเริ่มนำร่องปี 2568 จำนวน 600,000 เครื่อง ทั้งครูและนักเรียน

“ศธ.จัดทำคำของบประมาณไปในลักษณะการเช่าซื้อ เครื่องของนักเรียน ตกเดือนละประมาณ 420 บาท ซึ่งจะมีทั้งค่าเครื่อง เซอร์วิส และอินเตอร์เน็ต เพราะทุกเครื่องจะต้องมีซิมการ์ดสำหรับใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ทั้งนี้การคำนวณราคาจะมีความแตกต่างหลากหลาย และค่อนข้างจะเปิดกว้างว่า ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงอย่าง โน๊ตบุ๊ค ก็อาจจะต้องเช่า 5 ปี แต่ถ้าเป็น แท็บเล็ต ที่ราคาไม่สูงมาก ก็อาจจะทำสัญญาเช่าไม่เกิน 3 ปี ซึ่งมิติที่เราดูคือ พยายามเปิดกว้างให้สำหรับโกลบอลแบรนด์ เข้ามาทำการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือให้เด็ก และครูได้ใช้ของที่มีคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็น บริษัทไมโครซอฟท์ บริษัทแอปเปิล เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการศธ. ให้ความสำคัญว่า อุกรณ์ที่จะส่งมอบให้นักเรียนและครูนั้น จะต้องใช้งานได้จริง เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ซึ่งในส่วนของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ที่เคยมีปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบอินเตอร์เน็ต ที่อาจจะเข้าไปไม่ถึงนั้น เนื่องจาก การดำเนินการครั้งนี้ ทุกเครื่องจะมีซิมการ์ดอยู่ในตัว ไม่ใช่ระบบไวไฟ เป็นระบบออนไลน์ ฉะนั้นบริษัทที่ชนะการประมูลจัดหาอุปกรณ์ ก็มีหน้าที่จะต้องไปติดเซลไซต์ โดยเด็กจะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในระบบ ยูอาร์แอลที่กำหนด ไม่มีข้อจำกัด ไม่สามารถนำไปใช้เล่นเกมหรือดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้ ส่วนรายการอื่นที่เพิ่มเข้ามา จะถูกล็อกสปีดในแต่ละรอบเดือน ” นายสิริพงษ์ กล่าว

นายสิริพงษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณภาพรวมเฉพาะในส่วนของการจัดหาอุปกรณ์คำนวณจากราคาเช่าต่อเดือน จะใช้งบประมาณ กว่า 15,000 ล้านบาท เพื่อจัดหาอุปกรณ์ให้กับนักเรียนและครู กว่า 600,000 เครื่อง โดยในส่วนของนักเรียนจะเริ่มจากโรงเรียนนำร่องชั้นมัธยมศึกษาปีที่4-6 ในโรงเรียนขยายโอกาสที่เปิดสอนระดับชั้นม.ปลาย หรือโรงเรียนคุณภาพ เพื่อให้มีทั้งตัวอย่างโรงเรียนที่มีความพร้อม ที่สามารถบริหารจัดการได้ และโรงเรียนที่อาจจะยังไม่มีความพร้อมเรื่องการบริหารจัดการไม่มากนัก เพื่อนำมาเปรียบเทียบ และหาวิธีการที่เหมาะสม สำหรับการดำเนินการในระยะที่2

นายสิริพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนความคืบหน้าการจัดทำคอนเทนต์เพื่อเตรียมความพร้อมในส่วนของการจัดทำเนื้อหาการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ นั้น อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกำหนดขอบเขตงาน หรือทีโออาร์ ซึ่งจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้เรียน ให้สามารถเรียนได้ด้วยตัวเองทุกที่ ทุกเวลา และสำหรับผู้สอนที่จะต้องสามารถนำเสนอใบงานของตัวเอง และนำใบงานของผู้อื่นมาทำการเรียนการสอนได้ ระบบนี้จะเป็นลักษณะของการเตรียมความพร้อมในการเรียนการสอน ทั้ง ก่อนการเรียน การจ่ายการบ้าน การให้เด็กทำแบบทดสอบ เป็นต้น โดยคอนเทนต์ที่จะบรรจุเข้าไปในแพลตฟอร์มนั้น จะมีอยู่ 2 ส่วน คือคอนเทนต์เดิม ซึ่งมีอยู่แล้วกว่า 1-2 หมื่นรายการ และคอนเทนต์ใหม่ ที่ผลิตเพิ่มอีกว่า 5-6 พันรายการ คาดว่าจะสามารถใช้งานได้เร็วที่สุด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : www.matichon.co.th/education/news_4598003#lwq46s6ulrazmsg9i2

0 ชอบ

0 ตอบกลับ

483 ดู

เพิ่มความคิดเห็น
lms.copy_page_url_button.tooltip_label

เข้าร่วมชุมชนออนไลน์

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์ เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง