PLC ไม่ใช่แค่การประชุม แต่คือ ‘วิถีของโรงเรียน’

Starfish Academy
Starfish Academy 12494 views • 1 ปีที่แล้ว
PLC ไม่ใช่แค่การประชุม แต่คือ ‘วิถีของโรงเรียน’

หากเปรียบเทียบว่าคุณครูคือนักสู้ ที่เมื่อก้าวขาเข้าห้องเรียนเมื่อใด ก็ต้องงัดทุกกลยุทธ์และกระบวนท่าออกมา เพื่อใช้ในห้องเรียน การทำ Professional Learning Community (PLC) หรือ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ก็คงเปรียบเสมือน ‘พื้นที่ฝึก พื้นที่พัฒนาตนเอง และพื้นที่สร้างความขวัญกำลังใจ สร้างความสัมพันธ์การเป็นทีมของนักสู้’ ดัง Sergiovanni (1994) ได้กล่าวว่า PLC เป็นสถานที่สำหรับ “ปฏิสัมพันธ์” ลด “ความโดดเดี่ยว” ของมวลสมาชิกวิชาชีพครูของโรงเรียน ในการทำงาน เพื่อปรับปรุงผลการเรียนของนักเรียน หรืองานวิชาการโรงเรียน 

ดังนั้น PLC จึงกลายเป็นกระบวนการที่สำคัญมากๆ ที่หลายๆ โรงเรียนต้องพยายามสร้างให้เกิดขึ้น แต่การสร้างวง PLC ที่มีคุณภาพจริงๆ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายอย่างนั้น เพราะหลายๆ โรงเรียนมีบริบทที่แตกต่างกัน

วันนี้ Starfish ชวนคุย 3 หัวข้อที่จะช่วยให้คุณครู และผู้บริหารเข้าใจเกี่ยวกับ PLC มากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้กับบริบทโรงเรียนของตัวเองได้ด้วยค่ะ

มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้ PLC ล้มเหลว ลองมาดูปัจจัยเหล่านี้กันก่อน

1. ไม่มีเวลา/ไม่ได้จัดเวลาในการ PLC ที่มากพอ 

2. ครูไม่มีส่วนร่วม ครูขาดความรู้สึกความเป็นเจ้าของ

3. อำนาจการตัดสินใจ อยู่ที่ผู้บริหารคนเดียว เป็นผู้สั่งการทุกอย่าง

4. สร้างวัฒนธรรมการแข่งขัน แทนที่จะสร้างวัฒนธรรมการร่วมมือกัน

5. ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เพียงพอ ที่จะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที 

6. ประเด็นพูดคุย ไม่ได้โฟกัสไปที่ ‘การเรียนรู้ของนักเรียน’ 

7. ขาดความเข้าใจเรื่อง ‘ความสำคัญของเวลาในการเรียนรู้ของนักเรียน’ เช่น นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และนักเรียนแต่ละคนใช้เวลาในการเรียนรู้ต่างกัน

8. ขาดการทบทวนวิสัยทัศน์ หรือกติกาการอยู่ร่วมกัน ควรจะต้องลงมือทำจริง ไม่ใช่แค่เขียนไว้ดูเฉยๆ 

9. กระบวนการพาไปไม่ถึงคำถามสำคัญ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน โดย คำถามสำคัญที่ว่าคือ

  • เราต้องการที่จะให้นักเรียนรู้ และทำอะไรได้ ?
  • เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพวกเขาเรียนรู้ ?
  • เราจะทำอย่างไร ถ้าพวกเราไม่ได้เรียนรู้ ?
  • เราจะยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนที่รู้อยู่แล้วได้ยังไง ?

มาดูวิธีการสร้าง PLC ที่มีคุณภาพกัน 

1.เปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้ ‘พูด’ และ ได้ ‘เลือก’ 

2.ร่วมกันแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ภารกิจ และ คุณค่าของโรงเรียน

3.สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกัน กล้าที่จะแลกเปลี่ยนความคิดตัวเอง ต่อเพื่อนร่วมงาน

4.‘ความเชื่อใจ’ คือกุญแจสำคัญ

5.ชวนกันทดลองทำ โดยเริ่มจากก้าวเล็กๆ ที่อยากพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

6.อย่าลืมการนำไปปฏิบัติจริงอย่างสม่ำเสมอ

7.ให้ฟีดแบ็กซึ่งกันและกัน

8.สร้างระบบสนับสนุนครูในระดับโรงเรียนให้เกิดขึ้น

นอกจากนี้ Kathy Dyer จาก Education Week ยังให้ความสำคัญกับการทำ PLC ว่า “PLC ทำให้ครูที่เก่งขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้มากขึ้นด้วย” 

อะไรจะเปลี่ยนไป…หาก PLC กลายเป็นวิถีของโรงเรียน (way of being) 

ด้านการเรียนการสอน 

1. จาก ที่ครูเน้น ‘สอน’ (Teaching) จะกลายเป็น เน้นการเรียนรู้ของเด็ก (Learning) 

2. จาก ที่นักเรียนได้เรียนรู้อยู่แค่รับฟังในห้องเรียน จะกลายเป็น ให้นักเรียนเรียนรู้จากการลงมือ

ด้านการประเมิน

3. จาก ที่ประเมินท้ายเทอมแค่ครั้งเดียว หรือประเมินไม่บ่อย (Summative assessments) จะกลายเป็น ประเมินบ่อยขึ้น และเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative assessment) มากขึ้น 

4. จาก ที่ครูเคยประเมินนักเรียนแค่ความพึงพอใจ จะกลายเป็น ประเมินการพัฒนาของนักเรียน

ด้านสังคมการทำงานในโรงเรียน

5. จาก สังคมโรงเรียนที่เคยกล่าวโทษกันและกัน จะกลายเป็น สังคมที่ร่วมกันรับผิดรับชอบ มีเป้าหมายเดียวกัน

6. จากที่ครูทำงานคนเดียส รู้สึกโดดเดี่ยว ครู 1 คนสอนนักเรียนทั้งห้อง จะกลายเป็น การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นทีมเดียวกัน

7. จาก ที่เคยพูดกันกันว่า ‘นั่นนักเรียนห้องชั้น’ จะกลายเป็น ‘นักเรียนทุกคนคือนักเรียนของครู’ 

8. จาก ที่ครูแต่ละคนเอาแต่ชี้แจงว่านักเรียนจะต้องเรียนอะไร จะกลายเป็น ครูทุกคนจะร่วมกันทำความเข้าใจว่า ‘อะไรคือสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตของนักเรียน’ 

9. จาก ที่เคยใช้ PLC ในรูปแบบของการประชุมธรรมดา จะกลายเป็น PLC เป็นวิถีที่ทุกคนเห็นคุณค่าปฏิบัติตามและทุกคนเป็นนักเรียนรู้

ด้านการทำงานของครู

10. จาก สนใจปัจจัยภายนอกโรงเรียน จะกลายเป็น สนใจแต่ปัจจัยภายในที่บุคลากรทุกคนจะช่วยพัฒนาโรงเรียน

11. จาก ต้องออกไปอบรมภายนอกบ่อยๆ จะกลายเป็น ให้คุณค่ากับการเรียนรู้จากการทำงานจริง ฝึกฝนแบบฝังรากจากการทำงานจริง

12. จาก ครูมุ่งทำคะแนนเพื่อที่จะให้เกรดนักเรียนรายบุคคล จะกลายเป็น ครูทุกคนร่วมกันเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนานักเรียนรายบุคคลและวางแผนหากนักเรียนต้องการความช่วยเหลือพิเศษ

แปลและเรียบเรียง

  • Why Don’t Professional Learning Communities Work? bit.ly/3NNZBNC
  • 4 Reasons Why PLCs Fail, and How to Prevent Them bit.ly/3t7Caa7
  • ‘A Professional Learning Community Is Not a Faculty, Grade Level, or Department Meeting’ bit.ly/3zeom1d
  • It’s Not a Meeting; It’s a Way of Being! bit.ly/3N7W8tf

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8564 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6210 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3425 ผู้เรียน

Related Videos

การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1225 views • 2 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
744 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1430 views • 2 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
716 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ