ความเครียดเป็นสิ่งที่คนเราทุกคนสามารถพบเจอได้ เพราะความเครียดนั้นเกิดมาจากการที่เรารับรู้ว่า มีเรื่องราวหนึ่งที่เข้ามาในชีวิต แล้วทำให้เรารู้สึกถูกคุกคาม และไม่สามารถจัดการกับเรื่องราวนั้นได้ (Lazarus และ Folkman, 1984) ซึ่งในแต่ละเรื่อง คนเราจะรับรู้ว่าตนเองมีระดับความเครียดที่แตกต่างกันไป เช่น
- หากเรื่องนี้ เรารู้สึกว่าถูกคุกคามนะ แต่เชื่อว่าเราจะจัดการได้ เราจะเครียดน้อย
- หากเรื่องนี้ เรารู้สึกว่าถูกคุกคามนะ และรู้สึกว่า เราแก้ปัญหานี้ไม่ได้ เราจะรู้สึกเครียดมาก
ตอนนี้ เรารู้แล้วว่า ทุกคนมีระดับหรือเรื่องที่เครียดแตกต่างกันไป แล้วทุกคนรู้ไหมว่า “คุณครู” เขาเครียดเรื่องอะไรบ้าง ? จากผลการสำรวจและรายงานของ TALIS พบว่า ความเครียดในหน้าที่การงานของครู แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
- ภาระงาน เช่น จำนวนงานธุรการที่มากเกิน, การมีบทเรียนที่มากเกินไป
- ความเครียดที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น ผลการเรียนของเด็ก, พฤติกรรมของเด็ก/การสร้างวินัยในชั้นเรียน, การประสานงานกับผู้ปกครอง
ซึ่ง 2 เรื่องนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นความเครียดใหญ่สำหรับคุณครู ซึ่งเรายังไม่รวมความเครียดเรื่องอื่นๆ เช่น ชีวิตส่วนตัวของคุณครูอีกนะคะ ดังนั้น วันนี้เราจะมาชวนคุณครูสำรวจความเครียดและจัดการความเครียดของตนเองกันโดย เรามี 3 เทคนิคง่ายๆ ดังนี้ คือ What Why How ค่ะ
What หากเราแปลคำๆ นี้ มันจะแปลว่า “อะไร” ซึ่งเทคนิคที่ 1 ของเราก็คือ การให้คุณครูลองถามหรือพูดคุยกับตนเองค่ะว่า “อะไรทำให้ฉันเครียด” ซึ่งคุณครูสามารถแยกกลุ่มก้อนความเครียดได้หลายหมวดหมู่เลยนะคะ เช่น
ความเครียดจากเรื่องงานคือ........................................................................................
ความเครียดจากเรื่องความสัมพันธ์(เพื่อน/แฟน)คือ........................................................
ความเครียดจากเรื่องการเงินหรือความต้องการขั้นพื้นฐาน คือ........................................
ความเครียดจากครอบครัว คือ..................................................................และอื่นๆ นะคะ
จากนั้น เราจะมาสู่เทคนิคที่ 2 คือ Why หากเราแปลคำๆ นี้ มันจะแปลว่า “ทำไม” ซึ่งเทคนิคนี้ของเราก็คือ ชวน คุณครูมานั่งคิดค่ะว่า “ทำไมเจ้าสิ่งนี้ถึงทำให้ฉันเครียด” ซึ่งในเทคนิคนี้ จะช่วยทำให้เราเห็นปัญหามากขึ้น ว่า “ต้นเหตุของปัญหาคืออะไรค่ะ”
มาสู่ขั้นสุดท้ายของเรา ก็คือ How หากเราแปลคำๆ นี้ มันจะแปลว่า “อย่างไร” ซึ่งเทคนิคนี้ของเราก็คือ ชวนคุณครูคิดค่ะว่า แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ลองโยนคำตอบไว้เยอะๆ แล้วเลือกคำตอบที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้นก็มีอยู่ 2 แบบนะคะ คือ
- การจัดการที่อารมณ์ เช่น การระบายอารมณ์ ความเครียด ความทุกข์ใจออกมา โดยการจัดการที่อารมณ์ อาจจะเหมาะกับปัญหาที่มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา หรือเป็นวิธีการที่เราใช้จัดการอารมณ์เพื่อให้เราได้ปลดปล่อย Calm down หรือตระหนักรู้สภาวะของตนเองในเบื้องต้นนะคะ
- การจัดการที่ตัวปัญหา คือ การคิดแก้ปัญหาค่ะว่า ปัญหาเป็นแบบนี้ ฉันจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง ลองคิดสัก 3-5 วิธีในการแก้ไข แล้วเลือกวิธีที่ดีที่สุดนะคะ และแน่นอนว่า เมื่อเราสามารถแก้ไขปัญหาได้ ความเครียดและความทุกข์ใจของเราก็จะลดลงค่ะ
ความเครียดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ก็เป็นเรื่องที่เราสามารถแก้ไขได้เช่นกันค่ะ ดังนั้น เมื่อไรที่คุณครูเครียด เราอยากชวนคุณครู มาลองใช้ เทคนิค What Why How กันนะคะ เพื่อให้เราเข้าใจตนเองมากขึ้นว่า เราเครียด เรื่องอะไร เพราะอะไร และจะรับมือ/จัดการ “ความเครียด” อย่างไรดีค่ะ
อ้างอิง
Lazarus, R. S., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer.
ichi.pro/th/khwamkheriyd-sib-xandab-raek-sahrab-khru-72109431681255
Related Courses
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้



การดูแลสุขภาวะครู
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีและเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจึงต้องดูแลตนเองและหาวิธีคลายเครียด เพื่อให้ ...



การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...



การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Related Videos


ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA


แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA


TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

