หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล

Starfish Academy
Starfish Academy 2129 views • 2 ปีที่แล้ว
หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล

PLC Happy Hour Live Online ครั้งที่ 2

โครงการ สนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 

“หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล”

สิ่งแรกที่นึกถึงเมื่อพูดถึงโรงเรียนบ้านเวียงแหงคืออะไร และบริบทของโรงเรียนบ้านเวียงแหงเป็นอย่างไร

ว่าที่ ร.อ.เสกสันต์ ครองสมบัติ ผู้อำนวยการโรงเรียน – โรงเรียนบ้านเวียงแหงมีพื้นที่ประมาณ 16.5 ไร่ มีนักเรียนซึ่งอยู่รอบๆ โรงเรียนเป็นชุมชนขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 5 ชนเผ่า ได้แก่ ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) ลีซอ ลาหู่ ไทยใหญ่ และชุมชนพื้นเมือง มีนักเรียนทั้งหมด 498 คน คณะครูและบุคลากร 30 คน ถ้าพูดถึงโรงเรียนบ้านเวียงแหง สิ่งที่จะนึกถึงคือ 1) เป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจังหวัดเชียงใหม่พอประมาณ 2) เป็นเมืองชายแดนแคว้นนเรศวร 3) เป็นโรงเรียนที่มีอากาศที่ดีที่สุดและเย็นที่สุดในประเทศไทย 4) เป็นอำเภอหรือโรงเรียนที่ร่ำรวยวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ที่ slow life ที่น่ามาลองสัมผัส

ในปีนี้ มีเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนอย่างไร

ผู้อำนวยการโรงเรียน – หลังจากที่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการในส่วนของทุน ก.ส.ศ. และมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ ในรุ่นที่ 1 ปีนี้เข้าสู่ปีที่ 3 โรงเรียนได้มีการทำ SWOT Analysis ทั้งคณะครู บุคลากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีความเห็นเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า บ้านเวียงแหงมีจุดเด่นในเรื่องของทรัพยากรหลัก เนื่องจากผู้ปกครองของนักเรียนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกกระเทียม พริก ซึ่งเวียงแหงเป็นพื้นที่ปลูกกระเทียมใหญ่ที่สุดและผลผลิตกระเทียมดีที่สุดในประเทศไทย จึงนำมาสร้างเป็นนวัตกรรมให้กับนักเรียน

โรงเรียนบ้านเวียงแหงมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

ครูปวินตรา นันตา - สำหรับโรงเรียนบ้านเวียงแหงได้มีการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำ ครูเปิดอิสระทางความคิดให้ผู้เรียนเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมว่าผู้เรียนอยากเรียนอะไร ภายใต้เงื่อนไขของแต่ละรายวิชา โดยครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ซึ่งได้มีการนำโมเดลสถานศึกษา คือ Cosses Education (การศึกษาสร้างอาชีพ) มาเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process 

โดยแบ่งย่อยออกเป็น 6 หลักสูตรตามระดับชั้น เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ โดยให้นักเรียนร่วมกันวางแผนการผลิต วางแผนต้นทุน กำไร-ขาดทุน รวมถึงการวางแผนทางการตลาด ตลอดจนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของเวียงแหง เช่น กระเทียม มาใช้ในการประยุกต์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเป้าหมายของหลักสูตร คือ เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะ 3R8C ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เป้าหมายที่สอง คือ การมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และที่สำคัญคือทักษะด้านอาชีพ ซึ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ สำหรับการนำไปใช้ ส่วนแรกจะนำไปใช้ในรายวิชา STEM ศึกษาและกิจกรรมชุมชนุม ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ ส่วนที่สอง นำไปบูรณาการร่วมกับรายวิชาอื่นๆ เช่น วิชาศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เป็นต้น 

โรงเรียนได้มีการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลอย่างไร

ครูเจนจิรา นวลน้อย – ได้มีการนำหลักสูตร Cosses Education มาปรับใช้ โดยมีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน Makerspace ซึ่งเป็นห้องเรียนที่ให้อิสระทางความคิด เข้าใจธรรมชาติของนักเรียน ในห้องเรียนจะมีมุมต่างๆ เช่น มุมทำอาหาร มุมศิลปะ และมีการจัดกิจกรรมเรียนรู้ Active Learning โดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process ทั้ง 5 ขั้นตอน ที่ให้นักเรียนมาใช้ห้องได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 โดยครูทำหน้าที่เป็นโค้ช จุดประกาย เสริมสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการวัดและประเมินผลจะประเมินผลแบบ KPA 

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ครูมีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

ครูวรัญญา พรรณเหล็ก - เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้โรงเรียนได้มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ On-hand, Online หรือว่า On-demand ตามความต้องการของผู้เรียน แต่เนื่องด้วยหลักสูตรของโรงเรียนเป็นหลักสูตรการศึกษาสร้างอาชีพ ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนฝึกทักษะอาชีพ โดยโรงเรียนได้จัดทำแผนบูรณาการร่วมกันในแต่ละรายวิชา เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายวิชาภาษาไทย สังคมฯ และคณิตศาสตร์ ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นการนำมาตรฐานและตัวชี้วัดเป็นตัวตั้ง ถ้าหากจุดไหนมีความสอดคล้องกันก็จะนำมาทำเป็นใบงานเดียว เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ขมวดปมของมาตรฐานให้เล็กลง เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และสถานการณ์ปัจจุบัน เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิตและฝึกทักษะและสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา

ผลตอบรับจากนักเรียนในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเป็นอย่างไร

ครูเจนจิรา นวลน้อย – พบว่า นักเรียนมีความสุข สนุกที่ได้ลงมือทำกิจกรรม และสามารถนำไปต่อยอดอาชีพได้ในอนาคต นักเรียนได้รู้ว่าตัวเองมีความถนัดอะไร ชื่นชอบอะไร เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้เห็นถึงความสามารถและความถนัดของตนเอง นอกจากนี้ ยังสามารถสะท้อนคุณภาพของเด็กไปสู่คุณภาพของครูได้

รูปแบบการวัดประเมินผลของนักเรียนเป็นอย่างไร

ครูปวินตรา นันตา – เนื่องจากว่าโรงเรียนใช้กระบวนการ STEAM Design Process รูปแบบการเรียนรู้ Active Learning ดังนั้น รูปแบบการประเมินผลจะเป็นประเมินผลตามสภาพจริง ก็คือ การสังเกตกระบวนการของนักเรียนตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การสร้างสรรค์ และการลงมือทำของนักเรียน สังเกตทักษะต่างๆ ตามที่ต้องการประเมิน เมื่อผลงานเสร็จสิ้นก็จะให้เพื่อนนักเรียนในชั้นเรียนช่วยกันประเมินผลงาน/ชิ้นงาน เพื่อสะท้อนผลของผลงานในการนำไปพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข ซึ่งจะสามารถทำได้หากมีการจัดการเรียนการสอนตามปกติ สำหรับในช่วงสถานการณ์โควิด นักเรียนอาจจะต้องทำที่บ้าน ก็จะอยู่ในรูปแบบการเรียนรู้แบบ On-hand On-demand หรือ Online เพราะฉะนั้น การประเมินจะปรับเปลี่ยน ดูจากชิ้นงาน/ใบงานเป็นหลัก ทั้งนี้ ในการประเมินบางครั้งอาจจะมีทั้งเด็กที่ผ่านและไม่ผ่าน เนื่องจากเด็กมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาหรือไม่มีความพร้อมในการเรียนรู้แบบ online ทางโรงเรียนจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล หรือจัดการเรียนการสอนกลุ่มย่อยไม่เกินจำนวนที่กำหนด

ในส่วนของการประเมินโรงเรียนมีวิธีจัดการอย่างไร

ผู้อำนวยการโรงเรียน – มีหลายอย่างในการที่จะประเมินโรงเรียนที่ทำให้หลายภาคส่วนมีส่วนร่วม อย่างแรก คือ เรื่องของการกระจายงานให้ทุกคนได้มีส่วนในด้านความคิด การวิเคราะห์ การชี้แนะจากครู ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ตัวแทนผู้เรียน สภานักเรียน หรือคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลายภาคส่วนที่จะต้องนำมาขบคิด ก่อนที่จะเข้าร่วมโครงการ โรงเรียนได้มีการวางแผน ประชุม ทำกิจกรรมร่วมกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นกรอบงานที่ต้องเดินทางร่วมกัน คือ ทำอย่างไรให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการเรียน ทางวิชาการที่ดี ประกอบกับผู้เรียนจะต้องมีทักษะอาชีพ นอกจากจะเก่งทางด้านวิชาการแล้ว จะต้องเก่งทักษะชีวิต เก่งการสร้างสรรค์ผลงาน ดังกระบวนการ Cosses Education (การศึกษาสร้างอาชีพ) ถือได้ว่าเป็นทางออกของการศึกษาในศตวรรษที่ 21

การปรับหลักสูตรสถานศึกษามีความสำคัญอย่างไร

ผู้อำนวยการโรงเรียน – ในความเป็นจริงเด็กนอกจากการเรียนรู้ทางวิชาการแล้ว เด็กยังชอบลงมือปฏิบัติเพียงแต่ว่าครูจะมีกระบวนการ เทคนิคที่ดีอย่างไร หรือจะใช้กระบวนการจิตวิทยาอย่างไรที่จะนำผู้เรียนลงสู่หรือเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งปัจจุบันครูที่ดี ที่เก่งจะต้องชง เชื่อม ใช้ให้เป็น โดยครูโรงเรียนบ้านเวียงแหงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนใหม่เป็นเพื่อนเด็ก คุยกับเด็ก มีการให้ทฤษฎีพอประมาณ เน้นการลงมือปฏิบัติในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้ สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นแรงจูงใจที่สนับสนุนให้ครูได้จัดกิจกรรม Active Learning โดยเฉพาะส่งเสริมด้านวิชาการตามที่ สพฐ. ได้กำหนดไว้ และเสริมทักษะพิเศษหรือสมรรถนะให้กับเด็ก เพื่อสร้างความพึงพอใจให้มากที่สุดแก่ผู้ปกครองและชุมชนที่ได้รับบริการการเรียนรู้ของโรงเรียน

กำลังใจจากท่านผู้อำนวยการ

ในเรื่องของการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด อยากจะบอกว่า การเรียนออนไลน์ตอนนี้ ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด อยากให้เด็กอยู่กับธรรมชาติบ้าง ในส่วนของครูที่ต้องทำการสอนทุกวัน โชคดีที่เรามีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน ได้โหลดสื่อที่ดี ดังนั้น อยากให้ครูมอบหมายงานที่พอเหมาะพอควร สำหรับนักเรียนอยากให้อยู่บนโลกใบนี้อย่างมีความสุข มีพลานามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับครูและผู้ปกครองทุกท่าน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/100000352454243/videos/1041252343340112/

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
Starfish Academy

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10297 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6834 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy

Related Videos

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1311 views • 1 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
260 views • 1 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
778 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
553 views • 2 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)