3 ตัวเลือกนโยบาย เพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้

Starfish Academy
Starfish Academy 1534 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ตัวเลือกนโยบาย เพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้

องค์กร World Bank, UNICEF, และ UNESCO ได้ทำรายงานฉบับนึง มีชื่อว่า THE STATE OF THE GLOBAL EDUCATION CRISIS: A PATH TO RECOVERY มีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูปัญหาทางการศึกษา ในรายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ต่อการเรียนรู้ (IMPACT OF COVID-19 ON LEARNING) ความเหลื่อมล้ำที่กำลังเติบโตขึ้นในด้านของการเรียนรู้ (INEQUALITY IS GROWING IN LEARNING) การตอบสนองของนโยบายที่จะช่วยลดหย่อนผลกระทบของการปิดเรียน (POLICY RESPONSES FOR MITIGATING THE EFFECTS OF SCHOOL CLOSURES) การสร้างระบบฟื้นฟูการศึกษา (CREATING MORE RESILIENT SYSTEM) และบทสรุป สิ่งที่ต้องทำทันทีเพื่อฟื้นฟูการศึกษา (CONCLUSION : ACT NOW TO RECOVER LEARNING)

แต่วันนี้ Starfish Labz ขอยกประเด็นเรื่องการสร้างระบบฟื้นฟูการศึกษา (CREATING MORE RESILIENT SYSTEM) ที่ได้พูดถึง 3 ตัวเลือกนโยบาย เพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้ มาแปลให้กับชาว Starfish Labz ได้อ่านกัน ซึ่งเป็นการรวบรวม Case Study ตัวอย่างจากประเทศต่าง ๆ มาเป็นกรณีศึกษา ดังนี้ 

ตัวเลือกที่ 1 : การรวมหลักสูตร (Consolidating the Curriculum) 

มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการรวมหลักสูตรและสื่อการสอนให้เหมาะสมกับระดับการเรียนรู้มากกว่ายึดตามมาตรฐานหลักสูตร (หลักสูตรแกนกลาง) เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงการเรียนรู้ ซึ่งการระบาดใหญ่ของ COVID-19 เปิดโอกาสให้ดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ การรวมหลักสูตรกำหนดให้ประเทศต่างๆ ต้องจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดลำดับความสำคัญและตัดสินใจว่าควรสอนและเรียนรู้ผ่านสื่อใดในแต่ละชั้น ในทุกวิชา คุณครูควรพิจารณาว่าทักษะ ความรู้ และความสามารถใดเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ก่อน สำหรับการเรียนรู้ในครั้งถัดๆ มา เพื่อให้เด็กแต่ละคนสามารถเรียนรู้สิ่งที่จำเป็นก่อนที่จะได้สัมผัสกับเนื้อหาใหม่ ควรเน้นที่การเรียนรู้หลัก เช่น การรู้หนังสือ การคิดเลข และความสามารถทางสังคมและอารมณ์ 

  • ตัวอย่างที่ 1: หลักสูตรของประเทศแทนซาเนียสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ถูกรวมเข้าด้วยกันในปี 2015 ช่วยลดจำนวนวิชาที่สอนและเพิ่มเวลาในการคำนวณพื้นฐานและการรู้หนังสือ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการปฏิรูปทำให้เกิดผลในเชิงบวกอย่างมากในวิชาคณิตศาสตร์และภาษา 
  • ตัวอย่างที่ 2: กระทรวงศึกษาธิการของประเทศกายอานาได้เปิดตัวหลักสูตรรวมเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนกลับเข้าห้องเรียนได้อีกครั้ง ซึ่งเริ่มในฤดูใบไม้ร่วงปี 2021 และจะคงอยู่นานสูงสุดสี่ปี โดยพิจารณาจากความสำเร็จของนักเรียนในการติดตาม

ตัวเลือกที่ 2 : ขยายเวลาสอน (EXTENDING INSTRUCTIONAL TIME)

การวิจัยก่อนเกิดโรคระบาดแสดงให้เห็นว่าการเพิ่มเวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนสามารถปรับปรุงผลลัพธ์จากการเรียนรู้ได้ สามาทำได้หลากหลายวิธี เช่น การขยายวันของโรงเรียน การปรับเปลี่ยนปฏิทินการศึกษาเพื่อให้ปีการศึกษายาวขึ้น หรือเสนอให้โรงเรียนเปิดเรียนภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนทุกคนหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ วิธีการเหล่านี้จะให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงหากนักเรียนเข้าร่วมและให้ความสนใจในระดับที่สูงเช่นกัน ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงความเหมาะสมกับบริบท เช่นเดียวกับการพิจารณาสิ่งจูงใจและข้อแลกเปลี่ยนที่จะทำให้ครู นักเรียน และครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด

  • ตัวอย่างที่ 1: ในประเทศเคนยา รัฐบาลได้ประกาศ "crash program" แบบเร่งรัดระยะเวลาสองปี ซึ่งจะเพิ่มให้มีภาคเรียนที่สี่เข้าไปในสามภาคเรียนปกติ โดยลดวันหยุดเรียน 
  • ตัวอย่างที่ 2: ในประเทศเม็กซิโก กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศขยายแผนปฏิทินการศึกษาเพื่อพิจารณาระยะเวลาฟื้นฟู 
  • ตัวอย่างที่ 3: ในประเทศมาดากัสการ์ รัฐบาลได้ขยายโครงการ “catch-up” ภาคฤดูร้อนสองเดือนที่มีอยู่ในปี 2020 สำหรับนักเรียนที่กลับเข้าสู่โรงเรียนอีกครั้งหลังจากออกจากระบบ

ตัวเลือกที่ 3 : การปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนรู้ (IMPROVING THE EFFICIENCY OF LEARNING) 

​​ระบบการศึกษาจำเป็นต้องดำเนินโครงการที่ส่งเสริมคุณภาพการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนให้สูงขึ้น มีวิธีที่มีประสิทธิภาพหลายวิธี ได้แก่ 

  • วิธีที่ 1: การสอนแบบกำหนดเป้าหมาย (Targeted Instruction) 

ซึ่งกำหนดให้มีการประเมินระดับการเรียนรู้ของนักเรียนและจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ มากกว่าจัดตามอายุหรือระดับชั้น ครูจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้ของนักเรียน แทนที่จะเริ่มจากจุดเริ่มต้นที่สมมติขึ้นมา หรือเริ่มจากความคาดหวังตามหลักสูตร

ทำอย่างไร? : แนวทาง targeted instruction มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนและระบบการศึกษาได้ ได้แก่ การจัดกลุ่มตามระดับการเรียนรู้ในบางช่วงของวันเรียน การเรียนพิเศษระหว่างปีการศึกษา หรือกิจกรรมของโรงเรียนภาคฤดูร้อน

  • วิธีที่ 2: ออกแบบและใช้วิธีการสอนแบบมีโครงสร้าง (Invest in Structure Pedagogy Programs) 

Structured pedagogy เป็นชุดเครื่องมือที่เน้นการปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ในห้องเรียน การวิจัยพบว่าวิธี structured pedagogy จะให้ผลลัพธ์เชิงบวกที่สม่ำเสมอที่สุด

ทำอย่างไร? : โปรแกรมนี้จะประกอบด้วยคู่มือครูที่จัดเตรียมแผนการสอนในแต่ละวัน การฝึกอบรมและการฝึกสอนสำหรับคุณครูเพื่อเสริมทักษะในการสอนสำหรับบทเรียนนั้น ๆ และสื่อการสอนสำหรับนักเรียนในอัตราส่วน 1:1 โดยปกติจะมีเครื่องมือในการตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ในห้องเรียนเพื่อสนับสนุนโรงเรียนและครูผู้สอน เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ควบคู่และอำนวยความสะดวกให้กับการสอนแบบ structured pedagogy ได้ เช่น การเข้าถึงอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมดิจิทัล การเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ และทักษะด้านดิจิทัล หากโรงเรียนมีความพร้อมในสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว แต่ในบริบทที่มีทรัพยากรน้อย สิ่งที่ทำได้ในระยะสั้น ก็คือการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อพัฒนาครูในการใช้ structured pedagogy 

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Structured Pedagogy www.unicef.org/esa/media/7511/file/ESA-Structured-Pedagogy-2020.pdf

  • วิธีที่ 3: การสอนพิเศษในกลุ่มเล็ก (Offering small-group tutoring Programs)

มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าการสอนพิเศษสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำ แต่ประสิทธิภาพของวิธีการนี้ขึ้นอยู่กับขนาดกลุ่มและความถี่ของการเรียน

ทำอย่างไร?: การสอนพิเศษจะมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีนักเรียนหนึ่งถึงสี่คนต่อผู้สอนหนึ่งคน ซึ่งสามารถเป็นครู ผู้ช่วยครู หรืออาสาสมัครได้ การสอนพิเศษอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาเรียนหรือหลังเลิกเรียน ตัวต่อตัวหรือออนไลน์ ขึ้นอยู่กับบริบทที่เหมาะสม การสอนพิเศษจะเป็นความท้าทายในการดำเนินการตามขนาดในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางจำนวนมาก แต่การทดลองอาจให้ผลตอบแทนสูง

  • วิธีที่ 4 : โอกาสในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Offering self-guide learning programs) 

เช่นเดียวกับการสอนแบบตรงเป้าหมาย โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองช่วยให้นักเรียนก้าวหน้าขึ้นทีละน้อยเพื่อมุ่งสู่การเรียนรู้ทักษะพื้นฐาน สามารถใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีคำแนะนำเฉพาะจากคุณครู 

ทำอย่างไร? กิจกรรมสามารถใช้ดินสอและกระดาษ หรือในสถานที่ที่เทคโนโลยีเข้าถึงและเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นที่โรงเรียนหรือที่บ้าน อาจเกิดขึ้นได้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้คอมพิวเตอร์ กิจกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ แต่จำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยและวิธีการขยายผลกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพไปในบริบทที่มีรายได้น้อย

  • ตัวอย่างที่1 : การใช้ Structured pedagogy คู่มือครูพร้อมแผนการสอนนั้นได้มีข้อพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพสูงในประเทศเคนยา
  • ตัวอย่างที่ 2: การใช้ Targeted instruction ได้ถูกนำไปใช้ในปริมาณที่มากขึ้นในประเทศโกตดิวัว
  • ตัวอย่างที่ 3: ในประเทศอังกฤษ กำลังดำเนินโครงการเรียนพิเศษสำหรับเด็กทุกคน และมีตัวเลือกสำหรับการเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างง่าย ๆ ผ่านระยะไกลในประเทศบอตสวานาและประเทศบังกลาเทศ ซึ่งก็มีประสิทธิภาพ 
  • ตัวอย่างที่ 4: การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำไปใช้ในวงกว้างในประเทศอุรุกวัย และโครงการที่ใช้ดินสอและกระดาษเห็นผลลัพธ์ที่ดีในประเทศบังกลาเทศ โครงการการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แท็บเล็ตในประเทศมาลาวียังแสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในระยะนำร่อง

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 3 ตัวเลือกนโยบายเพื่อเร่งการฟื้นฟูการเรียนรู้จะต้องอยู่ภายใต้การสร้างความมั่นใจให้กับคุณครูว่า คุณครูได้รับการสนับสนุนอย่างดีเยี่ยม (Ensuring Teachers are well-supported) นโยบายถึงจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ หากพูดถึงการฟื้นฟูการศึกษาในประเทศไทย มีกรณีศึกษาของโรงเรียนบ้านปลาดาว จังหวัดเชียงใหม่ นำโดยดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education ได้พูดถึงประเด็น Learning Loss และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปลาดาว (bit.ly/3DqbeFE) และได้นำเสนอ 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ที่ถดถอย (bit.ly/3qxs5me) โดยมีโรงเรียนบ้านปลาดาวนำไปปฏิบัติเพื่อเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่น ๆ 

ทั้งนี้หากโรงเรียนอื่น ๆ สนใจเรื่อง Learning Loss และอยากรู้ว่า 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยที่โรงเรียนได้ทำนั้นเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปเรียนในคอร์ส(bit.ly/3HVe5sD) ได้เลยค่ะ 

แหล่งอ้างอิง (Sources):

The World Bank, UNESCO and UNICEF (2021). The State of the Global Education Crisis: A Path to Recovery. Washington D.C., Paris, New York: The World Bank, UNESCO, and UNICEF.

www.unicef.org/reports/state-global-education-crisis

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy

Related Videos

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
05:26
ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
3968 views • 2 ปีที่แล้ว
มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
4987 views • 2 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
8711 views • 2 ปีที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)