กิจกรรม TSQP Kick Off และ Leader Workshop

กิจกรรม TSQP Kick Off และ Leader Workshop

แนวทางการดำเนินโครงการและผลที่คาดหวังโครงการสนนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง 2564

จากการดำเนินโครงการ 2 ปีที่ผ่านมาและกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ถือว่ามีการดำเนินการในการคิดค้นวิธี สร้างนวัตกรรมต่างๆ ที่ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องของอุปสรรคในการทำงานเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 สิ่งสำคัญ ณ วันนี้ที่ทำโครงการอยู่ อยากให้โรงเรียนเห็นภาพว่า โครงการนี้ไม่ใช่โครงการที่เพิ่ม หรือว่าโครงการ On top ในสิ่งที่โรงเรียนทำอยู่ ถึงแม้ไม่มีโครงการนี้ โรงเรียนก็ยังต้องดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ ซึ่งในส่วนที่ กสศ. หรือทาง

สตาร์ฟิชเข้ามาช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อทำให้สิ่งที่โรงเรียนดำเนินการมีความคมชัดมากขึ้น และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถที่จะขยายผลได้

สำหรับแนวทางในการทำงาน ปี 2564 เป้าหมายในการทำโครงการเน้นที่การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพกับเด็ก แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 จึงได้มีเป้าหมายระดับนโยบาย (Ultimate goal) เพิ่มขึ้น คือ 

1) การลดอัตราการหลุดออกจากระบบการศึกษา เป็นสิ่งที่หลายภาคส่วนให้ความความสำคัญ และมีความกังวลสำหรับเด็ก และครอบครัวที่มีความเปราะบาง/ยากจนพิเศษที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และมีโอกาสหลุดออกจากระบบการศึกษาสูง เนื่องจากภาระของครอบครัวตลอดจนการเรียนออนไลน์อาจไม่ตอบโจทย์กับเด็กกลุ่มนี้ 

2) ลดภาวะการณ์เรียนรู้ถดถอย เป็นส่วนสำคัญที่ต้องช่วยเหลือ เนื่องจากการเรียนรู้ที่บ้านไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบ Online หรือ On-hand ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนน้อยกว่าการเรียนที่โรงเรียน ถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญ ซึ่งในการเรียนรู้ที่ถดถอยไม่ได้มองแค่วิชาการ เรื่องของทักษะต่างๆ ก็มีส่วนสำคัญ ทั้งทักษะทางด้านสังคม อารมณ์ หรือแม้แต่เรื่องสุขภาวะกายจิตของผู้เรียนและของครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นเป้าหมายในระดับนโยบายที่ต้องการขับเคลื่อน 

3) การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 

4) ดูแลช่วยเหลือและพัฒนาต่อเนื่องตามศักยภาพของเด็ก/เยาวชน ทั้งนี้ โครงการได้มีกรอบแนวคิดหลัก 3 เรื่อง ดังนี้ การสนับสนุนโรงเรียนในการที่จะพัฒนาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ระบบบริหารจัดการโรงเรียนและนวัตกรรมการเรียนการสอน ส่วนที่ 2 การสนับสนุนการพัฒนากลไกหนุนเสริมเชิงคุณภาพ ในเรื่องของการวิจัยสร้างองค์ความรู้ วิเคราะห์หาผลลัพธ์การเรียนรู้ ติดตาม ประเมินผลและถอดบทเรียน และส่วนที่ 3 Learning outcome / Learning access / Learning platform การวิจัยและสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารสังคมและผลักดันเชิงนโยบาย นอกจากนั้น ยังมีกระบวนการหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาเชิงคุณภาพ ซึ่งทาง กสศ. และสตาร์ฟิช รวมถึงภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการโครงการเข้ามาส่งเสริมโรงเรียนในการดำเนินการทั้งหมด 8 ด้าน คือ 

1) การบริหารจัดการชุดโครงการ 

2) การวิจัย ติดตาม และประเมินผลโครงการ 

3) การสนับสนุนระบบสารสนเทศคุณภาพเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน (Info) 

4) การใช้แนวทางการประเมินผลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน (Formative Assessment) 

5) การประเมินตนเองด้วยการประเมินผลเชิงพัฒนากระบวนการ หรือ Development Evaluation 

6) การวิจัยพัฒนาการวัดและประเมินผลทางการเรียนรู้ Active Learning ที่พัฒนา Executive Function 

7) การถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ 

8) การสื่อสารสังคม (Public Advocacy) ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ เน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก

ในเรื่องของการเรียนรู้ของผู้เรียน การประยุกต์ใช้นวัตกรรม แต่สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ การสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นแกนนำ แหล่งเรียนรู้และสนับสนุนการพัฒนา เกิดองค์ความรู้การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบนำไปสู่การผลักดันนโยบาย ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา

การทำงานกับหน่วยงานต้นสังกัดที่มีนโยบายขยายผลไปยังโรงเรียนสังกัดอื่นๆ การสื่อสารสังคมรับรู้ถึงความเสมอภาคและเท่าเทียมทางการศึกษาของเด็ก/เยาวชน โรงเรียนมีสมรรถนะในการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และมี PLC ที่มีเป้าหมายชัดเจนในแต่ละช่วง และส่งผลต่อ Core Learning Outcomes ของผู้เรียน ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่โรงเรียนได้ดำเนินการทำอยู่แล้ว อาจจะมีบางส่วนที่ทำไปแล้วแต่ยังไม่มีความชัดเจน อาจไม่ได้เป็นจุดเน้นหรือไม่มีในแผนปฏิบัติงานของโรงเรียน และเป็นสิ่งที่จะดำเนินการช่วยกันในปีนี้

ด้านการดำเนินการ มีการทำงานร่วมกัน ทั้งส่วนของการสนับสนุนส่งเสริม เป็นหน่วยงานต้นสังกัดทั้งส่วนกลางและเขตพื้นที่ฯ โดยโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ และสตาร์ฟิชเป็นพี่เลี้ยง เป็นโค้ชในการช่วยเหลือขับเคลื่อนโครงการ สำหรับโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการรุ่นที่ 1 ซึ่งทางสตาร์ฟิชทำงานร่วมกับเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และสมุทรสาคร โดยมีศึกษานิเทศน์ เขตพื้นที่ฯ มาร่วมเป็นโค้ชในการขับเคลื่อนร่วมกับโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนจะมีคณะกรรมการที่เป็นกลไกสำคัญในการวางแผน และดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ โดยการทำงานร่วมกับครูและส่งผลต่อเด็กด้วย ทีมวิจัยจะดำเนินการช่วยเหลือในการเก็บหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลถึงสิ่งที่ทำสร้างความแตกต่างหรือไม่ ช่วยให้การศึกษาหรือ Learning outcomes ของผู้เรียนมีการพัฒนาหรือไม่ สำหรับโครงการรุ่นที่ 2 จะเพิ่มเติมในส่วนของทีมจาก ศธจ. เทศบาลเชียงใหม่ เขตพื้นที่ฯ เทศบาลลำพูน เขตพื้นที่อยุธยา และนครปฐม ด้านเป้าหมาย Whole School Approach คือ โรงเรียนทั้งระบบ ประกอบไปด้วย โรงเรียนทั้งหมด 91 โรงเรียน แบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 จำนวน 58 โรงเรียน รุ่นที่ 2 จำนวน 33 โรงเรียน โดยที่โรงเรียนสามารถตั้งเป้าหมายที่มี High Expectation มีเวลา และการกำหนด Core Learning Outcomes ที่ทาง กสศ. กำหนด มีระบบการดูแลช่วยเหลือพัฒนานักเรียนร่วมกับผู้ปกครอง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ในส่วนของห้องเรียนเน้นการเรียนแบบ Active Learning ครู นักเรียนรู้เป้าหมาย วัดผลได้ด้วยตนเอง ด้านนักเรียนเน้นให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ มีทักษะและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ด้านครู สามารถจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในชั้นเรียน ออกแบบแผน มีกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย และด้านผู้อำนวยการ มีความเข้าใจและสามารถดำเนินการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้เกิด 5 สิ่งดังนี้ 1) Goal 2) Info 3) Classroom (Active Learning) 4) PLC และ 5) Network

กรอบแนวคิดโครงการในการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมาย 

กรอบแนวคิดโครงการ 2564 ประกอบด้วย องค์ประกอบทั้ง 9 ด้าน และ 5 ด้าน บวก 1 ของ กสศ. แต่สิ่งที่จะเน้นย้ำเพิ่มขึ้นในปีนี้ คือ 

1) การสร้างนวัตกรรม 3 ด้าน คือ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน และการพัฒนาสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน 

2) ระบบติดตามช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้สารสนเทศ 

3) การประเมินเชิงพัฒนา (ED) โดยโรงเรียนเป็นผู้ประเมินตนเอง 

4) การวัดขนาดอิทธิพล (Effect Size) ของโครงการ เป็นการวัดถึงสิ่งที่ทำมีอิทธิพลหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพื่อให้สามารถปรับการทำงานได้ทันต่ดสถานการณ์  

5) โรงเรียน 8 แห่ง เข้าร่วม PLC โครงการครูเพื่อศิษย์ เป็นโครงการที่เน้นการเรียนรู้ของครูและโรงเรียนในการจัดทำแผนการสอน จัดการเรียนการสอน เป็นเวทีสำหรับการพูดคุย แลกเปลี่ยนและพัฒนาร่วมกัน

การทำงานของมูลนิโรงเรียนสตาร์ฟิช คันทรีโฮมและหน่วยงานต้นสังกัดในการพัฒนาโรงเรียน 

การดำเนินงานของ Starfish เป็นการเก็บข้อมูลร่วมกับ TDRI ในการทำวิจัย การออกแบบโครงการ กิจกรรม เช่น TSQP Kick off Leadership workshop Teacher workshop ฯลฯ ในส่วนของการดำเนินงานสนับสนุน เช่น หาโค้ชภายนอก หาผู้เชี่ยวชาญ ประสานต้นสังกัด ฯลฯ รวบรวม สรุปและนำเสนอรูปแบบกิจกรรมและการเรียนรู้ร่วมกันทั้ง 2 รุ่น และสามารถสร้างเป็นเครือข่ายร่วมกันได้ สำหรับระยะเวลาการทำงานจะเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนสิงหาคมตามปีงบประมาณ โดยจะเริ่มจากการ Kick off Workshop และทำการ Coaching ทั้งหมด 10 ครั้ง ในรูปแบบออนไลน์ ส่วน PLC Happy Hour Life ทั้งหมด 5 ครั้ง การ PLC ของครู 5 ครั้ง และการ PLC ของผู้อำนวยการ 5 ครั้ง ด้านบทบาทของหน่วยงานต้นสังกัด เป็นการทำงานร่วมกันในการติดตามการดำเนินงาน เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น เยี่ยมชมติดตามโรงเรียน จัด PLC Leader & Teacher โรงเรียนในโครงการ และร่วมพัฒนาคุณภาพ โดยการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ รับฟังการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแนะนำแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือตามโครงสร้างระบบที่มี

ทั้งนี้ การดำเนินงานในสถานการณ์ที่แต่ละโรงเรียนต้องเผชิญ อยากให้มีการปรับตัว ในส่วนของจุดเน้นหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่คิดค้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะฉะนั้น การสร้างนวัตกรรมหรือการขับเคลื่อนการศึกษาในระยะนี้ อยากให้พูดคุยกัน ช่วยเหลือกัน ทำงานร่วมกันให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาและลดช่องว่างการถดถอยในการเรียนรู้ให้มากขึ้น

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6377 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
3828 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8957 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy

Related Videos

Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
480 views • 1 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
10:22
Starfish Academy

CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1026 views • 1 ปีที่แล้ว
CBE - การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
746 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน