มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็ก (Learning Loss) โดย Starfish Education

5 มาตรการฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอยในเด็ก (Learning Loss) โดย ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education พร้อมกรณีศึกษาจากโรงเรียนบ้านปลาดาว ที่ออกแบบการเรียนรู้ควบคู่กับการเรียนออนไลน์ในวิกฤตการณ์โควิด-19 เพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมของเด็กๆ
โรงเรียนบ้านปลาดาว คือหนึ่งในโรงเรียนต้นแบบที่นำ 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็กมาใช้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งต้องออกแบบการเรียนรู้ใหม่ผ่าน Learning Box โดยจัดทำและจัดส่งไปที่บ้านของนักเรียน พร้อมกับส่งครูลงพื้นที่ไปยังชุมชน เพื่อทำงานร่วมกับอาสาชุมชน เช่น ผู้ปกครอง และรุ่นพี่อาสา เพื่ออธิบายการใช้งาน และออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ช่วยให้เด็กๆ เรียนที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และติดตามแก้ไขปัญหาที่พบในแต่ละบ้านได้อย่างตรงจุดมากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กเล็กต้องได้รับความเอาใจใส่ คอยช่วยเหลือจากผู้ปกครองเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของลูกอยู่เสมอ ส่วนเด็กโตก็เรียนออนไลน์ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมร่วมด้วย และต่อไปนี้ คือ 5 มาตรการ ดังกล่าว
“ทำความเข้าใจปัญหา ประเมินสถานการณ์ และบริบทแวดล้อมรอบตัวเด็ก”
มาตรการที่ 1. ประเมินสภาพแวดล้อมทั้งระบบ (Landscape Assessment)
- ทำข้อสอบวัดความรู้เพื่อทดสอบว่าเด็กมีความรู้ที่ถดถอยลงหรือไม่
- ออกสำรวจพื้นเพของแต่ละครอบครัว โดยครูจัดทำตารางเยี่ยมตามบ้าน
- ทำแบบสำรวจประเมินความพร้อมเรียนออนไลน์ ว่าแต่ละครอบครัวสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี และการบริการอินเทอร์เน็ตมากน้อยแค่ไหน
“นัดผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนประชุมหารือกันเพื่อวางแผนรับมือ”
มาตรการที่ 2. การวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Planning) เพื่อสร้างความพร้อมและความมั่นใจให้แก่บุคลากรของโรงเรียน
โรงเรียนกำหนดบทบาทหน้าที่ของครู
- ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กแต่ละระดับชั้นและรายวิชา
- วางมาตรการความปลอดภัยในการดำเนินงาน
- วางแผนบริหารจัดการทรัพยากร
- วางแผนบริหารจัดการงบประมาณ
- ขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง
โรงเรียนกำหนดระยะเวลาและสถานที่เรียนทางไกลที่เหมาะสม
ตัวอย่างเช่น ใน 1 วันนักเรียนควรเรียนออนไลน์เพียงวันละ 3 คาบ คาบละ 40-50 นาที และระหว่างวันจะต้องสอดแทรกกิจกรรมที่หลากหลายควบคู่ไปกับการเรียนผ่านหน้าจอด้วย โดยจะต้องกำชับผู้ปกครองให้คอยตรวจสอบดูแล เป็นต้น
“ออกแบบเนื้อหาใหม่สำหรับเรียนออนไลน์ให้เหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัย”
มาตรการที่ 3. การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู (Professional Development Support for Teachers)
- ช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ คือ จัดอบรมครูให้เข้าใจปัญหาที่ทำให้ผู้เรียนเกิดอุปสรรคทางการเรียนรู้
- หลักสูตร จัดอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละช่วงวัย
- เครื่องมือครู จัดสรรเครื่องมือและอุปกรณ์การสอนให้แก่ครู เพื่อเตรียมพร้อมจัดการเรียนการสอนทุกรูปแบบ ทั้ง online, on-hand, และ on-site
นี่เป็นเรื่องใหม่ที่ครูจะต้องได้รับการพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างตอบโจทย์ Starfish Education เห็นความสำคัญเรื่องการพัฒนาครู จึงได้มีการจัดอบรมทั้งออนไลน์ และออฟไลน์อยู่เสมอ ยกตัวอย่างหัวข้อการอบรม เช่น เรื่องการสร้างสื่อการสอน และการให้เทคนิคการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ให้น่าสนใจ
“คอยหาทางช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้นักเรียนที่เรียนตามเพื่อนไม่ทัน”
มาตรการที่ 4. การช่วยเหลือเด็กเรียนรายบุคคล (Intervention and Support for Students) เป็นมาตรการที่ Starfish Education ให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ประกอบไปด้วยองค์ประกอบย่อยๆ ดังนี้
- การวางแผนการเรียนรายบุคคล: คุณครูวางแผนการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล เพราะเด็กมีการเรียนรู้ถดถอยที่แตกต่างกันทั้งสภาพแวดล้อมและสภาพครอบครัว หากไม่สามารถทำเป็นรายบุคคลได้ อย่างน้อยคุณครูจะต้องช่วยเป็นรายกลุ่ม ต้องช่วยกันดูแลทั้งที่บ้าน และในส่วนของโรงเรียนเองจะต้องคำนึงถึงการออกแบบกิจกรรม ที่จะต้องตอบโจทย์นักเรียนรายบุคคล
- อุปกรณ์การเรียน และการสนับสนุนด้านสุขภาวะ : โรงเรียนบ้านปลาดาวได้สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนรู้ และนวัตกรรมการเรียนรู้ อย่าง Learning Box (กล่องการเรียนรู้) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการที่ส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้ และทักษะที่สำคัญสำหรับเด็กๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึงการสอนแบบออนไลน์ได้ ซึ่งในกล่อง Learning Box จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์การเรียนที่เหมาะสมกับช่วงวัย Booklet /3R กิจกรรม Makerspace/ กิจกรรมทักษะชีวิต แตกต่างตามช่วงวัย ได้แก่ ชั้นปฐมวัย และประถมศึกษา ร่วมถึงในกล่องมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะของเด็กนักเรียน (Well-being) จากสมุด ‘Fun Activities’ ที่รวบรวม 10 กิจกรรมสร้างความสุข / 10 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกาย / 10 กิจกรรมสร้างความเป็นเด็กดี ให้เด็ก ๆ สามารถฝึกได้ที่บ้าน นอกจากนี้โรงเรียนบ้านปลาดาวยังมีกิจกรรมชื่อว่า ‘นักจิตวิทยาแวะมาเล่น’ เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เพื่อพูดคุยและทำกิจกรรมกับนักเรียนระดับชั้นป.4-6 เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ
- การช่วยเหลือทางครอบครัว : โรงเรียนบ้านปลาดาวส่งครูลงพื้นที่เพื่อเข้าไปช่วยเหลือดูแลนักเรียนในชุมชน โดยได้ประสานงานร่วมกับผู้ปกครองอาสา รุ่นพี่อาสาในชุมชน เพื่อช่วยเหลือ และอธิบายการใช้งานกล่องการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ในกรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถสอนหนังสือนักเรียนเองได้ โดยจัดให้มีทีมลงพื้นที่ 2 สาย โดยแต่ละสายจะมีทั้งครูอนุบาล และครูประถมศึกษาลงพื้นที่ไปด้วยกัน หากพื้นที่ใดไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เราก็จะมีผู้ปกครองอาสาที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ เข้าไปทำหน้าที่แทน
“ติดตามพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่องแล้วนำมาพัฒนาการสอนอยู่เสมอ”
มาตรการที่ 5. (การติดตามปรับปรุงและผลสะท้อนกลับ (Monitoring and Intervention Redesign)
- การพัฒนา
- ผลตอบรับ
- การประเมิน
เพื่อให้ทิศทางการวัดผลของโรงเรียนปลาดาวมีความเป็นระบบ จะต้องติดตาม ประเมิน และนำมาปรับรูปแบบการทำงานร่วมกับทีมอยู่เสมอ เพื่อการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงได้ทันเวลา
Starfish Education หวังว่ากรณีศึกษาจากโรงเรียนบ้านปลาดาว ที่ได้ดำเนินการนำ 5 มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็ก มาเป็นกรอบตั้งต้นและเป็นกลยุทธ์ในการทำงานกับสถานการณ์เช่นนี้ จะช่วยทำให้ผู้อำนวยการ คุณครู หรือนักการศึกษาได้ไอเดียและต้นแบบในการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อคุณครู ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียนจะรับประโยชน์จากการปรับการเรียน เปลี่ยนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ให้เหมาะกับพัฒนาการของเด็กๆ ได้ดีขึ้นนะคะ
Related Courses
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...



การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...



การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ
ฉีกกฏการเรียนการสอนแบบเดิมด้วยเทรนด์การเรียนรู้แนวใหม่แบบสั้น ง่าย ได้ความรู้ กับเทคนิคการสอนแบบพอดีคำ เพื่อลดภาระและ ...



Related Videos


มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)


โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก


TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)
