งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”

งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”

Starfish Education ได้ดำเนินการทั้งด้านนวัตกรรมและการมีภาคีเครือข่ายทำงานในพื้นที่ ในเรื่องของ Learning Losses เชิงพื้นที่ เห็นอะไรบ้าง

ในที่นี้ขอเปิดประเด็นในสิ่งที่เรามองเห็น และสิ่งที่เป็นสัญญาณ อย่างเช่น ช่องว่างการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมานาน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดที่เป็นวิกฤติซ้ำซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนหรือนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง  

ทางโรงเรียนบ้านปลาดาวและมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ ได้พยายามทำให้ช่องว่างในการเรียนรู้เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งเรื่องของการทำ Remote Learning ด้วยวิธีการต่างๆ การประเมินการเรียนรู้ ตลอดจนการดำเนินการทั้งในด้านเชิงวิชาการ เชิงทฤษฎี และในด้านการปฏิบัติ ทั้งนี้ ถ้าจะพูดถึงคำจำกัดความ Learning Losses หรือการเรียนรู้ที่ถดถอย ในมุมมองของ Starfish สิ่งที่จะต้องควรระวังในผู้เรียนมี 3 เรื่อง คือ ด้านวิชาการ ด้านพัฒนาการ และด้านสังคม เนื่องจากที่เด็กไม่ได้ไปโรงเรียน สิ่งที่หายไปก็คือเรื่องของพัฒนาการ เพราะฉะนั้น ในการเปิดเทอมที่จะถึงนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องมองถึงปัจจัยเหล่านี้ 

ในภาพของการจัดการศึกษาทั้งประเทศ อยากจะให้คำนึงว่าสิ่งที่เด็กไม่ได้เรียนรู้ หรือว่าสิ่งที่ขาดหายไปในระหว่างที่ไม่ได้เรียน On-site มีอะไรบ้าง โดยทาง Starfish ได้วางมาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอยทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ คือ 

1) การประเมินสภาพแวดล้อมทั้งระบบ ว่าเด็กมีการเรียนรู้ถดถอยหรือไม่ เด็กมีพัฒนาการเป็นอย่างไร การต้องการความช่วยเหลือ ตลอดจนการสนับสนุนต่างๆ จากครู โรงเรียนและผู้ปกครองในการเติมเต็มช่องว่างให้กับเด็กในรูปแบบใด 

2) การวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อที่จะช่วยฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอยของเด็กอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอน การตั้งทีมคณะทำงาน ทรัพยากร งบประมาณ ระยะเวลาต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้แผนที่วางไว้ในการช่วยฟื้นฟูถูกดำเนินการไปได้อย่างดี 

3) การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู เพื่อที่ครูสามารถที่จะจัดการเรียนการสอนได้ถูกในการช่วยเหลือเด็กได้ถูกต้อง รวมถึงการสร้างสื่อช่วยเหลือในด้านของการพัฒนาครู เพราะฉะนั้น การเตรียมความพร้อมตรงนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญเป็นแรงสนับสนุนให้กับครูในการที่จะทำงาน 

4) การช่วยเหลือนักเรียน คือ การออกแบบที่มองเฉพาะเรื่องของการเรียนรู้ของเด็กเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอน การเรียนส่วนบุคคล การฝึกฝน อุปกรณ์การเรียน การสนับสนุนด้านสุขภาวะ การช่วยเหลือทางครอบครัว 

5) การติดตาม ปรับปรุงและผลสะท้อนกลับ ที่ต้องเฝ้าสังเกตและประเมินรวมถึงการปรับรูปแบบในการทำงานเป็นทีมของโรงเรียน รูปแบบในการพัฒนาครู รูปแบบในส่วนของการแทรกแซงที่ทำกับผู้เรียนและใช้ระยะเวลาสั้น ซึ่งทั้ง 5 มาตรการ เป็นกรอบที่โรงเรียนบ้านปลาดาวได้ดำเนินการที่จะช่วยเหลือเด็ก ช่วยให้เด็กกลับมาเรียนที่โรงเรียนได้อย่างมีความสุข สามารถที่จะก้าวหน้าแล้วเดินทางในการศึกษาของเขาต่อไปได้

ในฐานะของคนที่มีประสบการณ์การปิดช่องว่างของห้องเรียนในยุคโควิด – 19 มีเครื่องมือหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมอะไร สำหรับครูในพื้นที่อื่นๆ หรือว่าโรงเรียนอื่นๆ ที่อยากจะฟื้นฟูการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับทุกด้าน ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องวิชาการ

จริงๆ แล้วมีหลายอย่างที่อาจจะต้องคำนึงถึง คือ 

1) การเช็คสุขภาวะกายและใจของผู้เรียน ว่าเด็กที่เข้ามาในวันเปิดเทอมเป็นอย่างไร มีการประเมินสถานการณ์ครอบครัวเป็นรายบุคคล 

2) ไม่เร่งอัดความรู้ในทันที เช่น การติวหรือการให้งานเพิ่มทันที บางครั้งการติวถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการช่วยเสริม แต่อยากให้พึงระวังการใช้ให้ถูกจังหวะและเวลา ตลอดจนคอยมองหาวิธีการเติมเต็มแบบไหนในการช่วยเหลือเด็ก 

3) การวางแผนพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล เพื่อดูว่านักเรียนแต่ละคนต้องการความช่วยเหลือจากครูส่วนไหนเป็นพิเศษ 

4) เน้นทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที เช่น ทักษะการดูแลตนเอง การมีวินัยในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน 

5)  ประเมินผลบ่อยขึ้นและหลากหลายรูปแบบมากขึ้น ไม่ใช่แต่วิธีการสอบแต่อาจจะใช้การสังเกตพฤติกรรมเป็นการประเมินดูว่าเด็กที่เข้ามาด้วยสภาพแบบไหนที่เราจะช่วยเหลือได้ 

6) การสื่อสารกับผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ การสื่อสารกับผู้ปกครองที่หลายโรงเรียนทำได้ดีมากอยู่แล้วอยากให้ทำต่อเนื่อง เพื่อที่จะให้ผู้ปกครองได้ช่วยกันทำงานกับครูในการแก้ไขปัญหา  

7)   การยืดหยุ่นต่อการทำงาน พร้อมปรับเปลี่ยนแผนร่วมกับทีมโรงเรียนได้เสมอ

ทั้งนี้ ขอเพิ่มเติมในส่วนของการวิเคราะห์ Learning Losses มากน้อยแค่ไหน ทางโรงเรียนบ้านปลาดาวได้ดำเนินการแล้ว เห็นได้ว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ถดถอยที่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์จากผลทดสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 5 โดยใช้ข้อสอบ NT จากชุดที่นักเรียนเคยทำ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ลดลงมากกว่าด้านภาษา และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5มีความสามารถด้านภาษาลดลงมากกว่าด้านคณิตศาสตร์ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เด็กกลุ่มเก่งมีความรู้ถดถอยมากกว่ากลุ่มอ่อนทั้ง 2 ระดับชั้น แต่ในการประเมินเป็นผลการประเมินแค่ครั้งเดียว อาจจะต้องมีการปรับอยู่ สำหรับเครื่องมือการวัดการเรียนรู้ที่ถดถอยด้านวิชาการ สิ่งที่ได้พัฒนาแนวทางในการวัดว่าเด็กเกิดการเรียนรู้ที่ถดถอยอย่างไร คือ การดึงประเด็นในข้อสอบ NT หรือ O-Net จากชุดที่เด็กเคยทำ โดยวิเคราะห์จากสิ่งที่เด็กต้องรู้จากตัวชี้วัดรายวิชาในข้อสอบ และนำมาจัดเป็นชุดข้อสอบใหม่ ซึ่งในการหนุนเสริมต่อการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย คือ การใช้ขนาดอิทธิพล (Effect Size) เป็นเครื่องมือในการวัด โดยการที่ครูใส่คะแนน Intervention สิ่งที่ทำหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ปรับเปลี่ยนไป มีการประเมินก่อน-หลังทำ และทำการวิเคราะห์ผล Effect Size ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมืออย่างง่ายที่โรงเรียนสามารถนำไปใช้ หรือเป็นแนวทางในการวัดได้ 

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร 

นักการศึกษานวัตกรรมใหม่ CEO ของ Starfish Education

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
4317 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

การพัฒนาทักษะการเขียน

ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การพัฒนาทักษะการเขียน
Starfish Academy

การพัฒนาทักษะการเขียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy

Related Videos

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
05:26
ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร

มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร
4018 views • 3 ปีที่แล้ว
มาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย (Learning Losses)
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
426 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
614 views • 2 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
78 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]