Meaningful Learning” เรียนรู้อย่างไรให้มีความหมาย

การเรียนรู้ เกิดขึ้น บนฐานของความรู้และทักษะที่เรียนรู้มาแล้ว การเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการส่งต่อจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่ครูจะต้องทำก็คือ ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างไรบ้าง ความรู้ที่ผู้เรียนมี อาจผิดบางส่วน หรือ ผิดทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ใหม่มีอุปสรรค และทำให้ยากขึ้น เรียกว่า Conceptual Change
ความรู้มี 3 ประเภท ประกอบด้วย ความรู้ด้านความหมาย (What) ความรู้ด้านขั้นตอน (How) และความรู้ด้านทักษะปฏิบัติ (Psychomotor skills) การเรียนรู้ความรู้แต่ละประเภทจะใช้วิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. การเรียนรู้ความรู้ด้านความหมาย ทำโดยให้ผู้เรียนได้สร้างความคิดใหม่ด้วยตัวเอง โดยผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียน สร้าง ทดสอบ ขยาย จากความรู้เดิมที่ตนเองมี
2. การเรียนรู้ด้านขั้นตอน ทำโดยจัดสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ หลายๆครั้ง จนทำได้โดยอัตโนมัติ โดยมีผู้รู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะให้เกิดความเข้าใจว่าอะไรที่ทำถูก และอะไรที่ทำผิด
3. การเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ในบางเรื่องอาจต้องให้ผู้เรียนมีความรู้ด้านความหมาย ด้านขั้นตอนก่อน จึงจะสามารถจัดสิ่งแวดล้อม ให้เกิดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ ในขณะที่การเรียนรู้ทักษะปฏิบัติบางเรื่อง อาจไม่จำเป็นต้องผ่านการเรียนรู้ทั้งสองประเภทนี้ก่อนก็ได้
การเรียนรู้ที่ดีที่สุด ควรเป็นระดับที่สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในบริบทเดิม หรือบริบทที่แตกต่างจากเดิมหรือที่เรียกว่า “Meaningful Learning” ซึ่งเป็นทฤษฎีของออซูเบล ที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ โดยการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฏจากในหนังสือที่โรงเรียน มาใช้กับความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองของผู้เรียน ตามโครงสร้างสติปัญญา (Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำ ทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจ และมีความหมาย นั่นคือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ หรือข้อมูลใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนในโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียนมาแล้วนั่นเอง
“การจัดเก็บ และการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ต้องเกิดจากการเชื่อมโยงความรู้เดิม กับ ความรู้ใหม่”
“การร่วมมือกันในการเรียนรู้ จะทำให้เกิดการเรียนรู้มากว่าที่จะเรียนรู้เองโดยลำพัง”
“การอธิบายสิ่งที่เรียนรู้ ให้กับเพื่อน ครู หรือ ตนเอง จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้”
อ้างอิง teachingresources.psu.ac.th/document/2548/Ai_Rommani_Rat/1.pdf
Related Courses
Social and cultural awareness classroom

ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...


Social and cultural awareness classroom

พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้

พื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace เป็นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อใ ...
Creative Independent Study Classroom Design

ทำความรู้จักกับวิชา IS ในอีกมุมมองหนึ่ง สอนอย่างไรให้นักเรียนคิดเป็น วิธีการไหนที่ทำให้นักเรียนสนใจ ไม่น่าเบื่อ แถมยังสามารถนำ ...


Creative Independent Study Classroom Design

บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญห ...
Related Videos

ผู้เรียนเป็นหลัก "ห้องเรียนฐานสมรรถนะ (CBE)"

ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา

3 เรื่องราว 3 มุมมองกับการเลี้ยงลูกในยุคโควิด-19
