ชวนครูมารู้จัก Competency-based education

Starfish Academy
Starfish Academy 4837 views • 3 ปีที่แล้ว
ชวนครูมารู้จัก Competency-based education

ระบบการศึกษาไทยถูกออกแบบมาให้เด็กทุกคนเรียนรู้ และวัดผลในรูปแบบเดียวกัน รวมทั้งแบ่งสายการเรียนหลักเป็นสายวิทย์ และสายศิลป์ ทั้งที่นักเรียนแต่ละคนไม่ได้ชอบหรือถนัดเรื่องเดียวกันไปซะทั้งหมด รวมทั้งในชีวิตจริง มีสาขาอาชีพที่แยกย่อยมากกว่าแค่สายวิทย์ และสายศิลป์อีกด้วย เมื่อระบบการศึกษารูปแบบเดิมไม่ได้ตอบโจทย์ผู้เรียน จึงมีการออกแบบการศึกษาที่จะช่วยให้พวกเขา ได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ และทำให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ หนึ่งในนั้น คือ ระบบการศึกษาที่เรียกว่า “Competency-based Education”

ขอบคุณภาพจาก freepik

Competency-based Education : ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

Competency-based Education เป็นระบบการศึกษาที่สนับสนุนให้นักเรียนได้ค้นหาความชอบ ความถนัด และตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยความแตกต่างของ Competency-based Education กับการศึกษารูปแบบเดิม (Traditional Education) ได้แก่

  • ระบบการศึกษาแบบเดิม มองว่าความก้าวหน้าหรือพัฒนาการของเด็ก ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความถนัด หรือความเชี่ยวชาญ ขณะที่ Competency-based Education จะพิจารณาเรื่องความถนัดของเด็ก ๆ ด้วย 
  • เดิมทีจุดมุ่งหมายของการเรียนขึ้นอยู่กับระดับชั้น หรือช่วงวัย แต่ Competency-based Education จุดมุ่งหมายจะขึ้นกับความจำเป็น และความต้องการของเด็ก ๆ 
  • โดยทั่วไปเด็กกลุ่มที่ได้รับความสนใจ หรือดูแลเป็นพิเศษมักจะเป็นเด็กที่คะแนนสูงกว่าเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ Competency-based Education เด็กทุกคนจะได้รับการสนับสนุน และดูแลอย่างเท่าเทียมกัน ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
  • การศึกษาในรูปแบบเดิมจะประเมินนักเรียนแบบเดียวกันทั้งหมด ส่วน Competency-based Education จะปรับรูปแบบการประเมินให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนมากขึ้น
  • การศึกษาในรูปแบบเดิม ผลลัพธ์ส่วนใหญ่จะเน้นการท่องจำ และความเข้าใจเนื้อหาโดยรวม ขณะที่ Competency-based Education จะเน้นความเข้าใจเชิงลึก และการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ที่หลากหลาย
  • เดิมจะมีการประเมินศักยภาพของผู้เรียนผ่านเกรด การสอบ และคะแนนวัดผล ขณะที่ Competency-based Education จะประเมินผ่านความเชี่ยวชาญ หรือพัฒนาการของเด็ก ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น

ขอบคุณภาพจาก macrovector

ข้อดีและข้อจำกัดของ Competency-based Education

สำหรับข้อดีของ Competency-based Education เช่น

  • มีความยืดหยุ่น เท่าเทียม เพราะไม่ได้มองแบบแบ่งแยกส่วนว่าเป็นเด็กเก่ง เด็กระดับกลาง ๆ หรือเด็กที่ไม่เก่ง แต่มองว่าทุกคนมีเรื่องที่ถนัด/ไม่ถนัดแตกต่างกัน ซึ่งควรจะได้รับการสนับสนุนในแบบของเขาเอง 
  • เด็ก ๆ จะได้เตรียมพร้อม และโฟกัสกับทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในอนาคตอย่างเต็มที่ เพราะเข้าใจความถนัด และความต้องการของตัวเองทำให้รู้ว่า ควรจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะไหนเป็นลำดับแรก ๆ 
  • ผู้เรียนจะรู้สึกว่ามีส่วนร่วมมากขึ้น เพราะได้เป็นคนกำหนดทางเดินของตัวเอง สร้างแรงจูงใจในระยะยาวให้เขามีความรับผิดชอบ และอยากจะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นนอกจากข้อดีแล้ว การศึกษารูปแบบนี้ยังมีข้อจำกัด และเงื่อนไข เช่น
  • ต้องมีการกำหนดนิยามของทักษะ หรือความสามารถ (Competency) แต่ละอย่าง รวมทั้งการประเมินที่สามารถวัดผลได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และใช้เวลานาน
  • ครูต้องคอยติดตามความก้าวหน้า หรือพัฒนาการด้านการเรียนของเด็ก ๆ อย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ทำให้มีข้อมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนนักเรียนต่อจำนวนครูผู้สอนหนึ่งคน

การปรับใช้การเรียนการสอนแบบ Competency-based Education 

ตัวอย่างการปรับใช้การเรียนการสอนแบบ competency-based Education อ้างอิงจากหลักสูตรมัธยมปลายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ไม่ได้แบ่งสายการเรียนเป็นวิทย์-สายศิลป์ แต่ปรับรูปแบบให้คล้ายมหาวิทยาลัยที่จะมีวิชาพื้นฐาน และวิชาเฉพาะทางให้เลือกตามความสนใจ โดยจะต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ ดังนั้นเด็ก ๆ จะสามารถวางแผนหรือออกแบบการเรียนของตัวเองได้ โดยมีครูคอยให้คำปรึกษา ซึ่งครูจะมี 3 บทบาทหลัก ได้แก่ “ที่ปรึกษา” ของนักเรียนและผู้ปกครอง “ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง” ที่ถ่ายทอดความรู้เชิงลึก และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และ “กระบวนกร” ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพื้นฐานของเด็ก ๆ (สำหรับคุณครูที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ (https://satit.tu.ac.th/high-school#:~:text=Competency-Based%20Education%20เป็นระบบ,มีระบบสนับสนุนการเรียน )

ขอบคุณข้อมูลจาก

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Play and Learn classroom design

Play and Learn classroom design ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเล่นปนเรียน เรียนรู้ความหมายของการเล่นปนเรียน ประ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Play and Learn classroom design
Starfish Academy

Play and Learn classroom design

Starfish Academy
1125 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ

การเรียนรู้บทบาทภาระหน้าที่และเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และอุดมการณ์ของความเป็นครู

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2260 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร

Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Starfish Academy

สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร

Starfish Academy

Related Videos

Makerspace Day #1
07:41
Starfish Academy

Makerspace Day #1

Starfish Academy
444 views • 1 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #1
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
05:05
Starfish Academy

Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

Starfish Academy
477 views • 1 ปีที่แล้ว
Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย
04:25
Starfish Academy

เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย

Starfish Academy
54975 views • 3 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย
Play And Learn = Plearn
03:15
Starfish Academy

Play And Learn = Plearn

Starfish Academy
1417 views • 3 ปีที่แล้ว
Play And Learn = Plearn