เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA
ในหัวข้อกิจกรรมนี้ คุณครูตะวันแสงทอง และคุณครูจักรกฤช ได้นำเคล็ดลับในการ “ผ่าน” การประเมินเกณฑ์ PA มาแลกเปลี่ยนให้คุณครูที่ได้ลงทะเบียนเพื่อรับเทคนิคต่างๆ และนำกลับไปใช้ในการยื่น PA ของตนเองโดยมีทั้งหมด 5 เคล็ดลับ ดังต่อไปนี้
เคล็ดลับที่ 1: รู้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน
1.มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะไม่น้อยกว่า 4 ปีติดต่อกัน
Tips : ไม่ต้องรอให้ครบรอบปีแล้วทำ คุณครูสามารถทำคลิปล่วงหน้าไปก่อนได้เลยแล้วค่อยนำมาส่งแต่ขออยู่ในช่วง 4 ปี และสามารถใช้คลิปจากโรงเรียนเก่า (ก่อนที่ย้ายโรงเรียน) ก็สามารถทำได้
2.มีการพัฒนางานตามข้อตกลง ย้อนหลัง 3 รอบการประเมินโดยแต่ละรอบ มีภาระงานตามที่ก.ค.ศ. กำหนด และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70
Tips : ยังสามารถยื่นแบบผสมได้ก่อน 30 กันยายน 67 หากใครมีว.21
3.มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 4 ปี
Tips : ห้ามถูกลงโทษทางวินัยเพราะอาจจะเสียเวลาได้
เคล็ดลับที่ 2: รู้เกณฑ์การตัดสินทั้ง 3 ด้าน
ด้านที่ 1 : ด้านการจัดการเรียนรู้ คุณครูต้องเข้าใจ 8 ตัวชี้วัดและจัดการเรียนการสอนตามวิทยฐานะที่เราต้องการโดยมีผลงานที่ครูจะต้องส่ง ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้ (ไม่ระบุจำนวนหน้า)
2) คลิปวิดีโอ จำนวน 2 คลิป ได้แก่
คลิปที่ 1 = คลิปการสอน (ความยาวไม่เกิน 60 นาที)
- เห็นกระดาน/ เห็นตัวผู้สอน/ เห็นตัวผู้เรียน
- ห้ามใส่เสียง ห้ามเร่งภาพให้เร็วขึ้น ห้ามตัดต่อ ไม่ต้องเช็กชื่อเพื่อเป็นการรักษาเวลา
- บันทึกเป็นไฟล์ MP4
คลิปที่ 2 = คลิปแรงบันดาลใจ
- บ่งบอกปัญหาของนักเรียน/บอกสถานการณ์ของโรงเรียน เพื่อให้กรรมการทราบบริบทของโรงเรียน
- แทรกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้
- ตัดต่อวิดีโอได้
- ห้ามมีเสียงดนตรีประกอบ ห้ามมีตัวหนังสือบรรยาใต้ภาพ
*หมายเหตุ คลิปที่ 2 แนะนำให้ทำหลังจากถ่ายคลิปวิดีโอที่ 1 เสร็จแล้ว เพื่อความเชื่อมโยงกันของเนื้อหา
ด้านที่ 2 : ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คุณครูต้องจดจำเกณฑ์การให้คะแนน ดังต่อไปนี้
- 10 คะแนน คลิปผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (สามารถตัดต่อได้) ต้องส่งมากกว่าร้อยละ 75% ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก 30 ส่งผลงานเด็กอย่างน้อย 28 คน / ผลงานต้องสอดคล้องผลการเรียนรู้ในแผน
- 10 คะแนน ไฟล์รูปภาพ ใบงาน กิจกรรมของนักเรียนและเพิ่มร่องรอยในการตรวจของคุณครู ไม่
เกิน 6 รูป
- 10 คะแนน ไฟล์ PDF ที่วัดจุดประสงค์การเรียนรู้ไม่ควรเกิน 10 หน้า
ด้านที่ 3: ผลงานทางวิชาการ
เคล็ดลับที่ 3 : วิเคราะห์แผนและการเรียนรู้ 8 ตัวชี้วัดอย่างละเอียด
ให้คุณครูวิเคราะห์ 8 ตัวชี้วัดจากในแผนการเรียนรู้ และเขียนพฤติกรรมบ่งชี้ที่อยู่ในแผน
ตัวชี้วัดที่ 1 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
ตัวชี้วัดที่ 2 : ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
ตัวชี้วัดที่ 3 : ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 4 : ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 5 : ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 6 : ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
ตัวชี้วัดที่ 7 : ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
ตัวชี้วัดที่ 8: ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง
เคล็ดลับที่ 4: กลยุทธ์ในการทำแผนให้ปัง
- แผนการจัดการเรียนรู้ต้องสามารถทำให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กัน (Active Learning)
- แผนการจัดการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับบริบทของนักเรียน และชีวิตประจำวันของนักเรียน
- แผนการจัดการเรียนรู้ต้องให้โจทย์นักเรียนที่แตกต่างกัน
เคล็ดลับที่ 5: ให้ความสำคัญกับการตอบโจทย์ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง
- การแก้ปัญหา (ชำนาญการ) - ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างการสอน
- การริเริ่มใช้วิธีการใหม่ๆ (ชำนาญการพิเศษ)
- การคิดค้นและปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ (เชี่ยวชาญ)
- การแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรม (เชี่ยวชาญพิเศษ)
ส่วนใน PA มาจากการบันทึกหลังการสอน (ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งข้อ 4)
*การสอนด้านที่ 1 และด้านที่ 2 มีความสอดคล้องกัน
ทั้ง 5 เคล็ดลับนี้ วิทยากรทั้งสองท่านได้มีความหวังว่าจะช่วยให้คุณครูที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ 70 กว่าท่านได้เข้าใจเบื้องต้นและสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการยื่น PA ของตนเองได้ในลำดับต่อไป
Related Courses
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)