แชร์ TIP เขียน วPA จากโรงเรียนนำร่อง

แชร์ TIP เขียน วPA จากโรงเรียนนำร่อง

“เปลี่ยนวิธีคิด พลิกความเชื่อ ด้วยระบบวิทยฐานะแบบใหม่”

อย่างที่ทราบว่าก่อนที่ ก.ค.ศ. จะนำแบบประเมินวิทยฐานะ วPA แบบใหม่มาใช้กับครูทั่วประเทศ ได้มีการนำไปทดลองใช้กับโรงเรียนนำร่องในพื้นที่ต่างๆ แล้ว เพื่อให้ได้เกณฑ์ แบบประเมินที่มีมาตรฐานตรงตามเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดคุย แนะแนวทางสร้างความเข้าใจในจุดเน้นที่สำคัญของการเขียน PA จากประสบการณ์จริงกับคุณครูชาญชัย ก้อใจ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จังหวัดเชียงราย 1 ในโรงเรียนนำร่อง เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนประเมินวิทยฐานะแบบใหม่ หรือ วPA ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและตรงตามเป้าหมาย

วPA เป็นภาระงานเพิ่มจริงหรือไม่

วPA เป็นบันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน ซึ่งเป็นงานที่ครูทำในโรงเรียนเป็นประจำ ไม่ได้เป็นภาระงานที่เพิ่มแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน งานสนับสนุนหรือการพัฒนาวิชาชีพของตนเอง ทั้ง 3 หัวข้อนี้อยู่ในตำแหน่งมาตรฐานครูที่ ก.ค.ศ. กำหนดซึ่งเป็นการจัดระบบงานให้สามารถตามงานด้วยตนเองได้

เขียน PA (งาน ผลลัพธ์ และตัวชี้วัด) อย่างไรให้ครอบคลุม

ก่อนที่จะมาทำ วPA จะต้องมีกรอบแนวคิดในการเขียน วPA ว่าบริบทโรงเรียนเป็นอย่างไร จากการประชุมหารือในรูปแบบ PLC โดยศึกษาข้อมูลจาก SAR ของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษา แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีตามแผนยุทธศาสตร์ สังคมและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และปัญหาด้านผู้เรียน ซึ่งในการเขียน PA จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 

ส่วนแรก คือ ภาระงานของครูเป็นส่วนที่ยากที่สุด เนื่องจากเป็นส่วนที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน 3 ด้าน 15 ตัวชี้วัด ส่วนที่ 2 คือ ประเด็นท้าทาย 

โดยในส่วนที่ 1 ภาระงานที่เป็นไปตาม ก.ค.ศ. เป็นจำนวนชั่วโมงสอนที่กำหนดไว้ว่า “ไม่ต่ำกว่า 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และรวมกับภาระงานอื่นแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์” สำหรับครูที่มีรายวิชาที่สอนน้อยกว่าที่กำหนด สามารถนำงานอื่นๆ มารวมได้ไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง เช่น งานส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ (กิจกรรม PLC การรวมกลุ่มทำสื่อ จัดสอนซ่อมเสริม ฯล) งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา (งานที่ได้รับผิดชอบนอกเหนืองานสอน เช่น หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มสาระฯ ซึ่งภาระงานและจำนวนชั่วโมงจะอยู่ในประกาศของโรงเรียน) งานตอบสนองนโยบาย (งานที่เป็นนโยบายของสพฐ. หรือกระทรวงฯ ที่ครูได้รับมอบหมาย) 

ส่วนที่ 2 งานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู มีอยู่ 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ มี 8 ตัวชี้วัด ยกตัวอย่างเช่น ตัวชี้วัดที่ 1 สร้างหรือพัฒนาหลักสูตร อาจจะดำเนินโดยการนำหลักสูตรมาทำเป็นโครงสร้างหลักสูตรใหม่ในทักษะด้านต่างๆ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามโครงสร้างหลักสูตร ตัวชี้วัดคือโครงสร้างหลักสูตรที่มีการพัฒนาและนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ถือได้ว่าตัวชี้วัดของตัวชี้วัดที่ 1 เป็นโครงสร้างที่มีการพัฒนาและนำไปใช้ ตัวชี้วัดที่ 2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเขียนแผนการสอน แต่ยังสามารถใช้รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเป็นตัววัดได้ด้วย ผลลัพธ์สู่ผู้เรียน คือ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาจากการออกแบบ/กระบวนการในการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 4 สร้างเครื่องมือหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ ตัวชี้วัดนี้สามารถวัดได้ 3 งาน ทั้งการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วย ซึ่งตัวชี้วัดที่ 6 ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูส่วนใหญ่คิดว่าคืองานวิจัย ถ้าครูมีความสามารถทางด้านงานวิจัยสามารถเขียนเป็นงานวิจัยได้ แต่สำหรับครูที่ไม่ถนัดงานวิจัย อาจจะเขียนว่าจะประมวลความรู้หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหากระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยสรุปและนำเสนอเป็นแผ่นภาพ กราฟ หรือบรรยายให้กับนักเรียนชั้นเรียนและมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันของครูและนักเรียน สิ่งที่ได้คือนักเรียนและครูได้ร่วมสรุปองค์ความรู้ของเนื้อหาและวิชาที่สอน รวมไปถึงปัญหาและแนวทางในการจัดกิจกรรมการสอนในครั้งต่อไปอย่างไร แต่ถ้าครูอยากทำวิจัยในชั้นเรียนก็สามารถทำได้ ทั้งนี้ครูต้องทำการระบุจำนวนในการทำวิจัยในแต่ละภาคเรียน ตัวชี้วัดที่ 1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ส่วนใหญ่จะมองว่าห้องเรียนสะอาด น่าอยู่ แต่การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของครูผู้สอน ถือว่าเป็นบรรยากาศในการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนเช่นกัน ผลลัพธ์นักเรียนได้รับแบบอย่างในการปฏิบัติตนและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตัวชี้วัด วัดได้จากปฏิบัติตนตามแบบอย่างและมีความสุขในการเรียนรู้ภายในห้องเรียน โดยมีผลงานนักเรียนและชิ้นงานของนักเรียนเป็นที่ประจักษ์ และตัวชี้วัดที่ 1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน อาจจะเสริมด้วยกิจกรรม เสริมทักษะพัฒนานักเรียน เช่น จัดโครงการเสริมอาชีพระยะสั้น ค่ายเสริมทักษะ พัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน เป็นต้น

ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ มี 4 ตัวชี้วัด ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา ซึ่งเป็นงานของครูประจำชั้น ครูประจำวิชา ส่วนผลลัพธ์ได้อะไรจากการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ นั่นก็คือนักเรียนได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องจากการที่มีผลบันทึกไว้ดีหรือไม่ หรือว่าควรปรับปรุง แก้ไขอย่างไรกับตัวผู้เรียน ทั้งนี้ สามารถนำมาช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาผู้เรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นผลสัมฤทธิ์ พฤติกรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์หรือสมรรถนะที่ปรากฎเป็นตัววัดอยู่ในเอกสารต่างๆ ตัวชี้วัดที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนในชั้นเรียนที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น ตัวชี้วัดที่ 2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ซึ่งเป็นงานปกติของครูในการคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลลัพธ์สามารถแบ่งกลุ่มนักเรียนตามระดับความรู้ความสามารถของนักเรียน ตัวชี้วัดจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความแตกต่าง ด้านการเรียนรู้ให้ได้รับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้น ตัวชี้วัดที่ 3 ปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่นๆ ของสถานศึกษา ตัวชี้วัดที่ 4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคี เครือข่าย และสถานประกอบการ เป็นการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคีเครือข่าย เช่น กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน สรรหาสถานประกอบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับผู้เรียน เป็นต้น

ด้านพัฒนาวิชาชีพ ตัวชี้วัดที่ 1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ครูแต่ละคนอาจจะศึกษาพัฒนาตนเองต่างสาขาวิชาที่ตัวเองรับผิดชอบ ซึ่งใน วPA จะไม่มีการเก็บจำนวนชั่วโมงแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ จากการพัฒนาของครู ได้รับการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ จากการเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการของครูผู้สอน ตัวชี้วัดนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพจากการพัฒนาตนเองของครู ทั้งนี้ ยังมีตัวชี้วัดที่สำคัญในการพัฒนาทักษะอาชีพ คือ การมีส่วนร่วมและเป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการเข้าร่วมกิจกรรม PLC เพื่อแก้ไขปัญหาของการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น PLC ยังอยู่และจำเป็นต้องมีในโรงเรียน แต่แค่ไม่เก็บชั่วโมง PLC เพราะว่าครูทุกคนย่อมมีปัญหาแตกต่างกัน การระดมความคิดของครูผ่านการร่วมกิจกรรม PLC เป็นแนวทางในการแก้ปัญหานักเรียนและปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนั้น ถ้าหากครูต้องการจะเลื่อนวิทยฐานะ สามารถใช้กิจกรรม PLC บรรยายนำเสนอในรูปแบบวิดีโอประมาณ 10 นาทีได้ อีกงานหนึ่งการเข้าร่วมนิเทศชั้นเรียนของเพื่อนครู เป็นการเปลี่ยนการนิเทศเพื่อนครู ผลลัพธ์เพื่อเรียนรู้ ศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของเพื่อนครู และนำมาปรับปรุงพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนที่ครูสอน ตัวชี้วัด นำจุดเด่นจากการนิเทศชั้นเรียนมาพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนและแก้ไขปัญหาจุดด้อยจากการได้รับการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากเพื่อนครู

ทั้งนี้ ในการเขียนผลลัพธ์ต้องเขียนแบบเจาะลึก ปรับให้แคบลง จะทำให้การประเมินง่ายขึ้น แต่ถ้าเขียนรูปแบบกว้างๆ การประเมินจะยาก ทั้งนี้ 1 ตัวชี้วัด สามารถประเมินได้ 2 งาน ทั้งงานออกแบบจัดการเรียนรู้และงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย เพื่อเป็นการลดภาระในการประเมิน ในส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถเขียนได้ว่าจัดกิจกรรมอย่างไร โดยการอธิบายให้กระชับถึงวิธีการ/กระบวนการในการจัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างไร และผลลัพธ์สู่ผู้เรียนอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน

ส่วนที่ 2 คือ ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน เขียนอย่างไรให้ตอบโจทย์ตำแหน่งวิทยฐานะ และสามารถพัฒนาเด็กได้จริง

ในส่วนที่ 2 ทาง ก.ค.ศ. ได้กำหนดของแบบการเขียน วPA ต้องแสดงให้เห็นถึงการริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น สำหรับครูที่อยู่ในระดับไม่มีวิทยฐานะ แสดงให้เห็นถึงการปรับปรุง ประยุกต์ ครูชำนาญการแสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหา ครูชำนาญการพิเศษแสดงให้เห็นถึงการริเริ่ม พัฒนา ครูเชี่ยวชาญแสดงให้เห็นถึงการคิดค้น พัฒนานวัตกรรมและปรับเปลี่ยน และครูเชี่ยวชาญพิเศษแสดงให้เห็นถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ในการเขียนจะต้องสามารถตอบโจทย์ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียนอย่างชัดเจน ด้านวิธีการดำเนินการให้บรรลุผลเป็นการเขียนวิธีการดำเนินการกระบวนการตลอดภาคเรียนในรูปแบบใด ซึ่งแสดงถึงหลักฐานในการทำงานเป็นกระบวนการอย่างชัดเจน ในส่วนผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวังมาจากจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ของโครงการ

การเขียน PA จะขึ้นอยู่กับวงรอบหนึ่งของปีงบประมาณ ซึ่งจะคาบเกี่ยว 2 ปีการศึกษา ซึ่งประเด็นท้าทายจะต้องทำกับเด็กทั้ง 2 ภาคเรียนหรือไม่ อย่างไร

ในการเขียน PA ส่วนตัวไม่ได้เขียนปีการศึกษา เนื่องจากพัฒนาด้วยกระบวนการซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง 2 ภาคเรียนในแต่ละปีการศึกษาได้ นอกจากเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. ได้มีข้อกำหนดว่า กรณีที่ครูเปลี่ยนกลุ่มสาระฯ เปลี่ยนผู้อำนวยการ หรือย้ายสถานศึกษาจะต้องทำการเขียน PA ใหม่

ความอิสระในการตั้งกรอบ PA จำเป็นที่จะต้องใช้รูปแบบที่เหมือนกันหรือไม่

ไม่จำเป็น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของนักเรียนและโรงเรียน ซึ่งอาจจะนำรูปแบบของครูท่านอื่นเป็นแนวทางในการเขียนได้

เคล็ดลับในการเขียน PA ในแบบของครูชาญชัย ก้อใจ

1) มองย้อนถึงปัญหา 

2) ตั้งเป้าหมายที่อยากให้เกิดขึ้น 

3) ปรับทัศนคติของตัวเองและ mindset 

4) สร้างกลุ่มเพื่อหาแนวทาง

การเปลี่ยนแปลงระบบการประเมินเป็น วPA ส่งผลดีต่อนักเรียนและโรงเรียนอย่างไร

ในการประเมิน วPA ส่วนใหญ่จะเป็นการมองในห้องเรียน ซึ่งครูจะอยู่ในห้องเรียนและอยู่กับนักเรียนมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน นักเรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะและสมรรถนะอย่างเต็มที่ ด้านโรงเรียน โรงเรียนมีคุณภาพ เมื่อนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะจากครู โรงเรียนย่อมมีนักเรียนที่มีคุณภาพมากขึ้น ตรงตามมาตรฐานของโรงเรียนและตามมาตรฐานชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนด้วย

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ

  1. เอกสารนำเสนอPA ครั้งที่ 2
  2. แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ล่าสุด

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10430 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1000 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5794 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6927 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
786 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
1034 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1254 views • 2 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร
11:30
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9311 views • 2 ปีที่แล้ว
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร