5 เคล็ดลับอัปเกรดการสอนแบบปฏิบัติของเราให้ดียิ่งกว่าเดิม!
หากพูดถึงเทคนิคการสอนที่ได้รับความสนใจและมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ และการสอนของคุณครูที่สุดในยุคปัจจุบันนี้ หนึ่งในเทคนิคที่ไม่กล่าวถึงคงไม่ได้เลยก็คือ Active Learning หรือการสอนแบบปฏิบัติ การสอนเชิงรุกขวัญใจเด็กๆ และคุณครูหลายๆ คนด้วยธรรมชาติของเทคนิคที่เน้นการมีส่วนร่วมและกิจกรรมที่สร้างความสนุกทั้งคุณครูและเด็กๆจึงชอบการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ไม่ยากแต่ในการเรียนรู้แบบปฏิบัติให้ดีนั้น แน่นอนว่าเรายังต้องอาศัยการเรียนรู้การลองผิดลองถูก และการทดลองใช้เคล็ดลับเพิ่มเติมต่างๆ มากมายเพื่อให้รูปแบบห้องเรียนแบบปฏิบัติของเราออกมาอย่างดีที่สุด
ในบทความนี้ Starfish Labz จึงขอพาคุณครูรวมถึงผู้อ่านทุกคนมาเรียนรู้ 5 เคล็ดลับแสนง่ายแต่มากประสิทธิภาพที่คุณครูสามารถใช้ในการสร้างการสอนแบบปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพกันค่ะจะมีเคล็ดลับแสนง่ายใดที่น่าสนใจน่านำมาลองปรับใช้ในการออกแบบห้องเรียน Active Learning ของเรากันบ้างตาม Starfish Labz มากันเลย
5 เคล็ดลับ อัปเกรดการสอนแบบปฏิบัติของเราให้ดียิ่งกว่าเดิม!
1.เรียนรู้และทำความเข้าใจหัวใจของ Active Learning รวมถึงความสามารถ ศักยภาพของเราในการสอน
การสอนเชิง Active Learning ให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด เคล็ดลับแรกที่อาจดูเหมือนเป็นเรื่องผิวเผินแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งก็คือการทำความเข้าใจหลักการและหัวใจสำคัญของตัวเทคนิคนั่นเองค่ะหลายๆ ครั้งเราคิดว่าเราอาจรู้แล้วว่าการสอนแบบนี้คืออะไร แต่พอลองไปทำเข้าจริงๆ กลับพบว่ายังจับต้นชนปลายไม่ถูก Active Learning คืออะไรสำหรับเราเมื่อเราค้นคว้าและเรียนรู้ตัวโมเดลแล้ว เราเข้าใจไหมว่ากระบวนการที่เรียกว่าการสอนเชิงรุก หรือการสอนแบบปฏิบัตินี้คืออะไรและอะไรคือสิ่งที่เราคิดว่าเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีที่สุดในโมเดลนั้นๆ อะไรคือจุดอ่อนและจุดแข็งที่เรามองเห็นในตัวเองเมื่อเราเข้าใจว่าการสอนแบบ Active Learning คืออะไร เช่น เมื่อเราเริ่มเข้าใจแล้วว่าการสอนแบบ Active Learning ต้องอาศัยการให้ความใส่ใจกับเด็กๆ การมีส่วนร่วมและการมีกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่ดีเป็นหลักๆ เราสามารถทำแบบนั้นได้หรือเปล่า มีจุดไหนของรูปแบบการสอนที่เป็นจุดอ่อนหรือจุดแข็งของเรา
2.เรียนรู้บรรดาเคล็ดลับหรือเทคนิคต่างๆ ในการออกแบบกิจกรรม
การเข้าใจหลักการหรือหัวใจสำคัญของ Active Learning เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น เมื่อเราเรียนรู้ถึงแก่นแท้ของตัวรูปแบบการสอนแล้ว อีกหนึ่งเคล็ดลับที่สำคัญก็คือการลงรายละเอียดในรูปแบบการสอนอย่างเฉพาะของเรา แม้การสอนแบบปฏิบัติจะมีหลักการกลางแต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณครูทุกคนจะสอนแบบปฏิบัติเหมือนกัน ดังนั้นแล้วอีกหนึ่งเคล็ดลับสำคัญ คือการเรียนรู้และออกแบบโดยเฉพาะของคุณครูเองที่สำคัญในการเรียนรู้แบบ Active Learning ก็คือเหล่ากิจกรรมต่างๆที่ช่วยให้เด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆในเชิง Experiential Learning หรือการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ และหัวใจสำคัญก็คือการเลือกรูปแบบกิจกรรมที่ใช่ ซึ่งในปัจจุบันมีหลากหลายเคล็ดลับเทคนิคกิจกรรมเชิง Active Learning มากมายให้คุณครูได้เลือกสรร กิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ
- กิจกรรมโต๊ะกลม (Roundtable) เทคนิคกิจกรรมแบบ Active Learning จัดกลุ่มให้เด็กๆ มากกว่า 2 คนไปนั่งเป็นวงกลม ชวนเด็กๆ แสดงความคิดเห็นของตน บอกเล่าประสบการณ์ความรู้ ตลอดจนความรู้สึก หรือการทบทวนต่างๆ ที่เขาอยากแบ่งปันกันในกลุ่ม เหมาะสำหรับเป็นการทบทวนบทเรียนและสรุปการเรียนรู้ที่เพิ่งจบไปในคลาส
- กิจกรรมมุมสนทนา (Corners) เทคนิคกิจกรรมแบบ Active Learning แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ชวนให้เขาช่วยแลกเปลี่ยนและช่วยกันตอบคำถาม ตามมุมหรือจุดต่างๆ ของห้องเรียน ชวนเด็กๆ แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบสำหรับโจทย์ปัญหาต่างๆ ที่คุณครูตั้งประเด็นขึ้นมา
- กิจกรรมนอกห้องเรียน (Outdoor Activity) อีกหนึ่งสุดยอกิจกรรมแบบ Active Learning จัดกลุ่มพาเด็กๆ ออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียนจนถึงนอกโรงเรียนไม่ว่าจะในรูปของการไปทัศนศึกษาหรือการทำกิจกรรมนอกห้องเรียนภายในชั่วโมงเรียนเหมาะสำหรับการพาเด็กๆ ไปดูการลงมือทำจริงๆ ของผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เหนือไปกว่าแค่การบอกเล่าของคุณครู เป็นต้น
3.ใช้เทคนิคการสอนอื่นๆ ที่ดีร่วมด้วย
นอกเหนือจากเทคนิคการสอนแบบปฏิบัติ แน่นอนว่ายังมีอีกหลากหลายเทคนิคการสอนอื่นดีๆมากมายที่คุณครูสามารถนำมาใช้ร่วมกับการสอนแบบ Active Learning ของตัวเองได้ เช่น การสอนเชิงบวก (Positive Teaching) การศึกษาจิตวิทยาเชิงบวกที่ดีต่างๆ เข้ามาช่วยกระตุ้นความอยากรู้และความสนใจของเด็กๆ หรือการสอนตามหลักประสาทวิทยา (Brain-Based Learning) ซึ่งว่าด้วยการทำงานของสมองและเคล็ดลับง่ายๆ ต่างๆ ที่คุณครูสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กๆ
4.ปรับจาก ‘ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง’ เป็น ‘ทั้งผู้สอนและผู้เรียน’
การเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก็จริงแต่ก็ใช่ว่าเราจะนำมาปรับปรุง ปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ใหม่ไม่ได้เลย อีกหนึ่งเคล็ดลับที่ Starfish Labz อยากแนะนำ คือ การลองคิดนอกกรอบและปรับจากเดิมที่เราคิดถึงแต่เด็กๆ อย่างเดียว มาเป็นที่คุณครูด้วย คุณครูอยากสอนแบบไหน ห้องเรียนแบบปฏิบัติในใจของคุณครูเป็นอย่างไร หลายๆ ครั้งก็ไม่ใช่เพียงแค่เด็กๆ อย่างเดียวแต่มาจากความปรารถนา ความตั้งใจ และความสนใจจริงๆ ของคุณครูเองที่อยากจะสร้างห้องเรียนแบบปฏิบัติที่ดีให้กับเด็กๆยิ่งคุณครูรู้สึกสนใจหรือรู้สึกว่าการเรียนการสอนแบบนี้สนุกหรือน่าลองนำมาสอนจริงๆ ก็ยิ่งมีโอกาสที่คุณครูจะพัฒนา ใส่ใจและให้การเรียนการสอนกับเด็กๆ ได้อย่างเต็มที่เป็นเทคนิคที่ช่วยทั้งสร้างแรงจูงใจให้กับคุณครูอย่างเป็นธรรมชาติและช่วยสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพให้กับเด็กๆ นั่นเองค่ะ
5.บูรณาการ EdTech เข้ามาช่วยแบ่งเบาในด้านต่างๆ
มีทุกเคล็ดลับที่ว่ามาแล้วเคล็ดลับสุดท้ายก็คือการลองหันมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาร่วมด้วยสำหรับการสอนแบบปฏิบัติ คุณครูสามารถเลือกใช้ EdTech ได้อย่างหลากหลาย ทั้งในลักษณะเป็นอุปกรณ์เสริมในกิจกรรมและทั้งสำหรับการทำงานส่วนตัวของคุณครูเอง เช่น เวลาประเมินสมรรถนะหรือทักษะการเรียนรู้ของเด็กๆตัวอย่าง EdTech ที่คุณครูสามารถใช้ได้ เช่นการใช้ Starfish Class ช่วยประเมินทักษะการเรียนรู้ของเด็กๆ หลังการเรียนแบบปฏิบัติรวมถึงเครื่องมือทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่คุณครูสามารถเลือกสรรเพื่อมาแบ่งเบาภาระของตนเอง
และนี่ก็คือ 5 เคล็ดลับการสอนแบบปฏิบัติที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากคุณครูทุกคนกันค่ะ แต่ละเคล็ดลับเรียกได้ว่าไม่ยากเลย คุณครูสามารถค่อยๆเรียนรู้ ค่อยๆปรับ ค่อยทำๆ กันได้อย่างสบายขอแค่มีความสนใจ Starfish Labz เชื่อว่าคุณครูจะต้องสามารถออกแบบห้องเรียน Active Learning ในฝันของเด็กๆ ออกมาได้อย่างแน่นอนค่ะ
อ้างอิง:
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...