การเรียนรู้โดยการกระตุ้นคืออะไร? ทำความรู้จักเคล็ดลับการสอนยุคใหม่แสนง่ายแต่ได้ประโยชน์ยิ่งกว่าเดิม

ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากความเชี่ยวชาญและทักษะเฉพาะทางของคุณครู อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ต่างที่คุณครูสามารถใช้เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ดีที่ให้กับเด็กๆหนึ่งในองค์ประกอบดังกล่าวก็คือเจ้าสิ่งที่เรียกว่า Stimulated Learning หรือการเรียนรู้โดยการกระตุ้นที่ถือเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับง่ายๆ ที่คุณครูสามารถใช้เพื่อพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็กๆ นั่นเองค่ะ แต่เอ้ . . . . เจ้า Stimulated Learning นี้คืออะไร? ที่ว่าง่ายเนี่ยง่ายจริงไหม? อยากจะลองเสริมดู ทำอย่างไรได้บ้าง? วันนี้ Starfish Labz เตรียมบทสรุปอย่างง่ายๆ มาให้แล้วค่ะ
Stimulated Learning คืออะไร?
Stimulated Learning หรือการเรียนรู้โดยการกระตุ้น คือเทคนิคหรือรูปแบบการเรียนการสอนที่คุณครูมีการใช้องค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ เสริมเข้ามาเพื่อช่วยสร้างความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้และคุณภาพโดยรวมในการสอนนั่นเองค่ะ ฟังจากชื่อแล้วอาจฟังดูเหมือนเป็นสิ่งยากแต่จริงๆ แล้วการเรียนรู้โดยการกระตุ้นก็คือสร้างห้องเรียนที่เด็กๆ รู้สึกว่าน่าสนใจและอยากเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนรู้มีความรู้สึกที่ดีและเป็นบวกต่างๆ เมื่อก้าวเข้ามาอยู่ในห้องหรือพื้นที่ของการเรียนรู้ Stimulated Learning อีกนัยหนึ่งก็คือการบูรณาการเอาความรู้เชิงจิตวิทยารวมถึงการเรียนรู้เชิงบวกอย่างง่ายๆเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนเพื่อช่วยทั้งการเรียนรู้ของเด็กๆ และการสอนของคุณครูเมื่อเด็กๆ รู้สึกดีแล้วการสอนก็มีชัยไปกว่าครึ่งมีโอกาสที่คุณครูจะเหนื่อยน้อยลง เด็กๆ โฟกัสมากกว่าเดิมและได้รับคุณประโยชน์อย่างเต็มที่ซึ่งการเสริม Stimulated Learning ที่ว่านี้จริงๆ ก็เป็นได้ทุกอย่างเลยตั้งแต่วิธีการสอน (Teaching Methods/Techniques), การใช้แสง (Lighting), สี (Color), ภาพ (Visuals), หรือไปจนถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์การคิดนอกกรอบต่างๆ ตามแต่ความสนใจของคุณครู
จุดเด่นของ Stimulated Learning โดยทั่วไปเราอาจมักเข้าใจว่า Stimulated Learning ต้องเกิดจากคุณครูเท่านั้นหรือต้องโฟกัสไปแต่ที่วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนของคุณครูแต่ในความเป็นจริง Stimulated Learning ยังรวมถึงองค์ประกอบภายนอกที่คุณครูสามารถใช้เพื่อเสริมการเรียนการสอนของตัวเองด้วยโดยที่คุณครูไม่ต้องคอยออกแรงอยู่ตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นความสนใจของเด็กๆ ซึ่งบอกเลยว่าเมื่อได้ลองเริ่มสร้างห้องเรียน Stimulated Learning แล้วคุณครูจะสามารถสัมผัสได้เลยค่ะว่าแม้กระทั่งเรื่องเล็กๆ อย่างการลองเปิดห้องให้มีแสงธรรมชาติเข้ามาก็สามารถช่วยเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีหรือการพาเด็กๆ ออกไปเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติหรือในสถานที่ที่เหมาะเจาะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเทคนิคการสอนแบบ Stimulated Learning ในเชิง ‘Passive’ แต่ได้ผลแบบ ‘Active’ คือช่วยกระตุ้นเด็กๆ อย่างอัตโนมัติและต่อเนื่องโดยที่คุณครูแถมไม่ต้องลงแรงยิ่งคุณครูสามารถเรียนรู้องค์ประกอบการกระตุ้นที่ดีได้มากแค่ไหนก็ยิ่งสามารถช่วยการสอนของตัวเองได้มากขึ้นนั่นเองค่ะฃ
ตัวอย่างการกระตุ้นในการเรียนรู้แบบ Stimulated Learning
การกระตุ้นใน Stimulated Learning จริงๆแล้วสามารถเป็นสิ่งที่หลากหลายเป็นสิ่งที่คุณครูสามารถสำรวจ ค้นคว้า และใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้ เพราะจริงๆแล้วในแต่ละห้องเรียน เด็กๆแต่ละห้องรวมถึงคุณครูแต่ละคนเองก็ล้วนมีความชอบและมีห้องเรียน Stimulated Learning ที่ใช่ของตัวเองต่างกัน อย่างไรก็ดีตัวอย่างง่ายๆ ที่คุณครูสามารถลองเริ่มต้นใช้ได้อาทิ การใช้ภาพ, การใช้วิดีโอ, การใช้การ์ตูน, การออกแบบห้องเรียนให้สวยงามและน่าเรียน, การใช้เทคนิคการเรียนรู้ต่างๆที่น่าสนใจไปจนถึงกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อย่าง Hands-On Learning (กิจกรรมเชิงปฏิบัติ) หรือ Outdoor Learning (กิจกรรมนอกห้องเรียน) เองก็ล้วนเป็นสุดยอดองค์ประกอบที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ได้อย่างดีหัวใจสำคัญนอกเหนือจากการพิจารณาที่ตัวเด็กๆแล้วคุณครูยังไม่ควรลืมคำนึงถึงความรู้สึกสบาย (Comfort) ของตนเองกระตุ้นผู้เรียนแล้วแต่ดีต่อคุณครูไหม หรือกลายเป็นสิ่งรบกวนคุณครูอาจมองหาจุดที่สมดุลที่สุดและอาจต้องใช้เวลาสักเล็กน้อยจนกว่าจะเจอองค์ประกอบการกระตุ้นต่างๆ ที่ใช่ที่สุด
3 เคล็ดไม่ลับ ช่วยคุณครูเริ่มสอนแบบ Stimulated Learning
1.เริ่มจากภายใน
ต่อให้องค์ประกอบภายนอกจะดีอย่างไรแต่หากภายในของเราไม่สามารถกระตุ้นให้เด็กๆเกิดความสนใจในสิ่งที่เราสอนได้ยิ่งสอนเราก็อาจยิ่งเหนื่อยและรู้สึกท้อใจหนึ่งในสเตปแรกที่คุณครูทำได้จึงคือการค่อยๆเริ่มจากภายใน ทดลอง ปรับเปลี่ยน เริ่มใช้เทคนิคการสอนใหม่ๆที่สามารถช่วยสร้างการเรียนรู้ที่น่าสนใจได้นั่นเองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพหรือไปจนถึงการทดลองใช้เครื่องมือการสอนความรู้ต่างๆ ทุกอย่างเป็นไปได้หมดขอแค่เป็นสิ่งที่คุณครูรู้สึกสนใจและอยากลองเรียนรู้ที่จะเริ่มทำไม่จำเป็นต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่แต่เป็นการค่อยๆเริ่ม ค่อยๆเสริมและพัฒนาการสอนของตนเองนั่นเอง
2.ขยับไปที่ภายนอก
มีการเปลี่ยนแปลงภายในแล้วคราวนี้ก็ถึงเวลาของภายนอกแสงภายในห้องเรียน เสียง สี การจัดโต๊ะเวลาเรียน สถานที่ กิจกรรม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอีกหนึ่งจุดที่คุณครูสามารถใช้ได้เพื่อพัฒนาการสอนของตนเองและการเรียนรู้โดยการกระตุ้นที่ดีให้กับเด็กๆ
3.ปรับปรุง ยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลง
คงเป็นไปไม่ได้ที่เด็กๆทุกคนจะรู้สึกสนุกสนานได้รับการกระตุ้นหรือรู้สึกดีตลอดเวลาในการเรียนการสอนองค์ประกอบหนึ่งๆอาจเหมาะกับเด็กบางคนในขณะที่เด็กบางคนอาจเป็นองค์ประกอบที่เขาเฉยๆ ไม่ได้รู้สึกอะไรการสร้างห้องเรียน Stimulated Learning ที่ดีอาจไม่ใช่การมองหาความสมบูรณ์แบบ แต่อย่างน้อยที่สุดคือการเสริมและเพิ่มเติมสิ่งดีๆที่จะช่วยเด็กๆแต่ละคนได้ไม่มากก็น้อย
หากคุณครูชื่นชอบเคล็ดลับการสอนแบบนี้ยังสามารถลองพัฒนาเป็นโมเดลการสอนเฉพาะของตัวเองทดลองใช้และสำรวจผลตอบรับจากเด็กๆ ดูได้ว่าโมเดลห้องเรียนแบบนี้ดีต่อเขาไหมเขารู้สึกอย่างไรมีอะไรบ้างที่เราสามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือมีองค์ประกอบใดบ้างที่เราสามารถใช้ได้ในทุกๆ ห้องเรียนเป็นโมเดลในรูปแบบกลางๆ ที่เราเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดและสามารถใช้ได้ไปตลอด
สิ่งเหล่านี้คือทุกสิ่งที่สร้างห้องเรียน Stimulated Learning ที่ดีและยังเป็นตัวช่วยสำคัญในการลดความเหนื่อยล้าความรู้สึกท้อในการสอนต่างๆ ของคุณครูทั้งในระยะสั้นๆและระยะยาวได้อย่างดีด้วยนะคะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
Related Courses
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน
เผยเคล็ดลับ! เทคนิคการจัดการเรียนรู้และชั้นเรียน สู่ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน พร้อมไหมที่จะยกระดับการสอนของคุณ? คอร์สออนไลน์นี้ร ...



เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...



Related Videos


วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA


แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA


เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)
