เสวนาสะท้อนผลการดำเนินงาน 3 ปี : ความสำเร็จของโรงเรียนพัฒนาตนเอง

Starfish Academy
Starfish Academy 793 views • 1 ปีที่แล้ว
เสวนาสะท้อนผลการดำเนินงาน 3 ปี : ความสำเร็จของโรงเรียนพัฒนาตนเอง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เพื่อเด็กทุกคน : บทเรียนจากโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่น 1”

ภายใต้โครงการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

เสวนาสะท้อนผลการดำเนินงาน 3 ปี : ความสำเร็จของโรงเรียนพัฒนาตนเอง 

โครงการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) มุ่งพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ภายใต้กรอบแนวคิดการบริหารจัดการโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีอิสระในการบริหารจัดการตนเอง และการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 พัฒนาไปสู่หลักสูตรสถานศึกษา โดยการสนับสนุน พัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยเทคนิคและเครื่องมือจากเครือข่ายร่วมดำเนินงานทั้ง 11 เครือข่ายหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการ coaching การสนับสนุนเทคนิคทางวิชาการ การ

กระตุ้นและจัดระบบกระบวนการในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย (Goal) ระบบสารสนเทศ (Info) การพัฒนาครูและผู้บริหารด้วยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในระดับชั้นเรียน (Classroom) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ด้อยโอกาสและมีความต้องการพิเศษ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนหลากหลายรูปแบบ (Network)

จากการดำเนินโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของแต่ละเครือข่ายได้มีมุมมองต่อการดำเนินงานและความยั่งยืนในการสืบต่อนวัตกรรมต่าง ๆ ดังนี้

นายภาณุวัฒน์ บุญเย็น หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา – จากการดำเนินงานเป็นไปตามต้นแบบที่วางไว้ โดยจุดคานงัดได้มุ่งที่ตารางเรียน ซึ่งจะเห็นได้จากนวัตกรรม 3 ตัวที่เข้าสู่ตารางเรียนจะเป็นตัวกำหนดวิถีที่มั่นคง และมีวง PLC ที่ถูกออกแบบอย่างเป็นระบบในการขับเคลื่อนตรวจ 3 นวัตกรรม และจากการดำเนินการ PLC ของกลุ่มลำปลายมาศ ทำให้เห็นถึงเนื้อเดียวกันของนวัตกรรมกับระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก ทั้งนี้ จากการดำเนินงานได้พบปัญหาแทรกซ้อนระหว่างการทำ TSQP ในการโยกย้ายของผู้บริหาร ส่งผลให้เกิดความกังวลถึงความยั่งยืนในการที่โรงเรียนจะสามารถอยู่ต่อได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ถ้าระบบมั่นคงโรงเรียนก็สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ และจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้สูญเสียโรงเรียนในเครือข่ายจำนวนมากจากองค์ประกอบแทรกซ้อนหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นจุดที่ควรให้ความสำคัญในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิทักษะแห่งอนาคต – สำหรับโรงเรียนพัฒนาตนเอง ประการแรกต้องมีความกล้าหาญในการเป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใจในสิ่งที่ทำ ทำให้เป็นโรงเรียนบันดาลใจเพื่อศิษย์ขาดแคลน ด้วยระบบที่สร้างความสุข ความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ระบบการติดตาม และการช่วยเหลือต่างๆ เรื่องที่สองคือ ห้องเรียน high for tuning classroom ภายในโรงเรียน สองส่วนนี้ ถือได้ว่าเป็นคานงัดที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ เครือข่ายสามารถเสริมหนุน เสริมแรง และกระตุ้นให้โรงเรียนดำเนินการตามบริบทของตนเองได้ การคิดค้น พัฒนานวัตกรรมต้นแบบสำหรับโรงเรียนในการเลือกใช้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของตนเอง โดยวิเคราะห์ปัญหาจากบริบทต่างๆ ของโรงเรียน และช่วยพัฒนาตามปัญหาและสถานการณ์ และทำหน้าที่โค้ชซึ่งเป็นลักษณะของโรงเรียนและเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน

รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น – จากการที่โครงการหรือผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดองค์ประกอบถึงมาตรการเชิงคุณภาพ ถือได้ว่าเป็นการออกแบบเชิงองค์ประกอบที่ดี มีความชัดเจนกับโรงเรียนที่จะพัฒนาตนเอง อย่างไรก็ตาม ถ้ามีวิธีการหรือแนวทางของนวัตกรรมจะทำให้สอดคล้องกับมาตราการ กระบวนการ และ Learning Outcome มากขึ้น ส่งผลให้ภาพของโรงเรียนพัฒนาตนเองชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ดร.เจือจันทร์ - ในมุมมองด้านวิธีการของแต่ละภาคีเครือข่ายมีความแตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ตัวผู้เรียน ดังนั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ คือ ระบบในการบริหารจัดการ และระบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งโค้ชแต่ละคนมีกลยุทธ์ (Strategy) ที่นำไปสู่โรงเรียนต่างกัน ฉะนั้น ในการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ ผู้บริหารโรงเรียนต้องให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทั้งโรงเรียน ทั้งนี้ จากประสบการณ์การทำงานพื้นที่ในเชิงรูปธรรม ภาคีเครือข่ายได้มีมุมมองถึงแนวโน้มในการที่จะยกระดับพื้นที่เข้าสู่ระดับส่วนกลาง ดังนี้

รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิทักษะแห่งอนาคต – จากประสบการณ์การทำงานกับเขตพื้นที่ฯ จะเห็นได้ว่า ศึกษานิเทศก์ 1 คนจะต้องมีองค์ความรู้ 3 มิติ คือ สิ่งที่เชี่ยวชาญ ความรู้ในการโค้ชเชิงพื้นที่หลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษา (SAR) แต่สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อโรงเรียนในการพัฒนาตนเอง คือ ความเข้าใจในเรื่องของมาตรการบริหารโรงเรียนแบบ Host School Approach ซึ่งเป็นการใช้ประสบการณ์ของโค้ชในลักษณะ Coach fellowship และเพิ่มเติมในมิติของการประกันคุณภาพการศึกษาและหลักสูตร โดยการให้ศึกษานิเทศก์ทำความเข้าใจและดำเนินการต่อในรูปแบบของโค้ชและทำการถอดบทเรียนต่อไป อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กังวลคือ นโยบายในการโยกย้ายครู อาจส่งผลให้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับโรงเรียนน้อย ทั้งนี้ อยากให้ต้นสังกัดมีระเบียบหรือคู่มือในการพัฒนาโรงเรียนเพื่อเป็นการต่อยอดในการพัฒนาโรงเรียนต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการประสานงานที่ครอบคลุมมากขึ้น

รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – สิ่งที่คิดว่าเป็นไปได้ คือ การสร้างโรงเรียนให้อิสระ และโรงเรียนต้องเป็นตัวของตัวเอง การทำให้โรงเรียนสามารถสอนเชิงรุกได้อย่างแท้จริง และสามารถประเมินผลงานตัวเองเชื่อมกับ วPA ได้ โดยมีหลักฐานและข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า โรงเรียนมีความสามารถในการพัฒนาตนเองอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ การเข้าถึงภาคการศึกษาอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียม ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และควรจะมีการวิพากษ์ เพื่อให้ตกผลึกในเรื่องของการพัฒนาการศึกษาได้อย่างแท้จริง

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม – สำหรับการทำงานร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดที่ผ่านมา ได้มีการพยายามเข้าถึงทุกรูปแบบ แต่เนื่องด้วยปีแรกโครงการยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก เรื่องของจดหมายสั่งการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการเข้าทำงานร่วมกับโรงเรียนและเขตพื้นที่ ในส่วนของพื้นที่ ทางมูลนิธิฯ ได้ทำงานร่วมกับเขตพื้นที่ โดยการทำ MOU ร่วมกับแต่ละเขตพื้นที่ การทำงานร่วมกับศึกษานิเทศก์ การสร้างความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่และบริบทของโรงเรียน เนื่องจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ วิธีการทำงานของสตาร์ฟิชฯ ยังยึดมั่นในการเข้าสู่โรงเรียนในรูปแบบกัลยาณมิตร ลดความเป็นทางการและความเป็นวิชาการ พยายามประสานติดต่อในรูปแบบของเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการทำงาน จะทำอย่างไรให้โรงเรียนรู้สึกไม่เป็นภาระเพิ่มแต่เป็นการให้ความช่วยเหลือ 

เพราะฉะนั้น ในการทำงานร่วมกับศึกษานิเทศน์ โรงเรียนอาจจะต้องมีบทบาทการทำงานร่วมกันในรูปแบบของการเป็น host แม้กระทั่งการทำงานนอกเขตพื้นที่หรือสังกัด ซึ่งจะทำให้เห็นการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการโค้ช การให้ข้อมูล ตลอดจนการให้คำแนะนำกับโรงเรียน ถือว่าเป็นการพัฒนาวิชาชีพของทั้งศึกษานิเทศก์ โรงเรียน และมูลนิธิสตาร์ฟิชในการเรียนรู้งานอีกด้วย นอกเหนือจากนั้น การทำให้ระบบคงอยู่ถึงแม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนบุคลากร โรงเรียนอาจจะต้องเน้นในเรื่องของระบบ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลยุทธ์หรือแผนการดำเนินการของโรงเรียนที่จะมุ่งไปในทิศทางใด เพื่อให้เกิดวิธีการหรือระบบใหม่ๆ ในการถ่วงดุลตรวจสอบ ติดตามและพัฒนาในรูปแบบที่ชุมชนต้องการ ฉะนั้น จะทำอย่างไรให้ระบบเป็นชิ้นงานเดียวกัน ตั้งแต่แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงานประจำปี โดยให้มีความสอดคล้องกับหน้างานจริง ทั้งนี้ โรงเรียนอาจจะต้องมีความกล้าหาญในความเป็นตัวตน การสนับสนุนหรือผลักดันให้เกิดการบูรณาการทั้งหมดในงานที่โรงเรียนทำ และเชื่อมโยงกับนโยบายต่างๆ ที่โรงเรียนจะต้องทำ ตลอดจนการนำ วPA มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนสามารถยึดตัวเองได้ต่อไป

รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น – สำหรับมุมมองการทำงานในพื้นที่ ภาพรวมของระบบครุศึกษา ส่วนที่สถาบันผลิตต้องทำหน้าที่ของตนเอง ส่วนเขตพื้นที่ที่ต้องทำงานกับโรงเรียนในการเป็นฟันเฟืองหน้างาน สามารถเป็นตัวเชื่อมโดยการพยายามนำเอานวัตกรรมเข้าสู่ระบบโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ 

เห็นได้ว่า การที่โครงการ โรงเรียน และเครือข่ายจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอาจจะต้องให้โอกาสโรงเรียนได้พัฒนาตนเองตามความต้องการ ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น หรือการยกระดับโรงเรียนแกนนำ ขยายเป็นโมเดลและสร้างโรงเรียนเหล่านี้ให้เป็นโรงเรียนพัฒนาตนเอง สำหรับการศึกษาดูงานอย่างแท้จริง นั่นคือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นและเกิดผลอย่างแท้จริงต่อไป

โดย หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิทักษะแห่งอนาคต

หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา

หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
5780 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
Starfish Academy

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

Starfish Academy
1268 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2260 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy

Related Videos

Starfish Country Home School Foundation
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation

Starfish Academy
211 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
285 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
05:59
Starfish Academy

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม

Starfish Academy
220 views • 2 ปีที่แล้ว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม