เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 4 โครงการ สนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หัวข้อ “เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน”
กิจกรรม PLC Teacher ในครั้งนี้ เป็นรูปแบบของการ PLC ร่วมกัน ในหัวข้อเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิค วิธีการ รูปแบบการใช้สื่อและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมตามบริบทและสถานการณ์
เทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักๆ คือ
1. การใช้เครื่องมือพื้นฐานบนคอมพิวเตอร์ หรือการปรับแต่งฟังก์ชันให้เหมาะสม โดยการใช้ปุ่ม Window logo key ซึ่งมีคุณสมบัติในการเรียกฟังก์ชันพื้นฐานและฟังก์ชันจำเป็นของคอมพิวเตอร์มาใช้ สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ จะเป็นการเรียนรู้การใช้ฟังก์ชัน ดังนี้
- ฟังก์ชัน Magnifier เป็นการซูมหน้าจอ วิธีการเรียกใช้ฟังก์ชัน คือ กดปุ่ม Window logo key พร้อมกับเครื่องหมาย + กรณีลดหน้าจอ กดปุ่ม Window logo key พร้อมกับเครื่องหมาย –
- ฟังก์ชัน Mouse pointer เป็นการขยายรูปเม้าส์ หรือลูกศรหน้าจอคอมพิวเตอร์ วิธีการเรียกใช้ฟังก์ชัน คลิก “Mouse pointer” เลือก “Change pointer size” ทั้งนี้สามารถปรับแต่งสีของ Mouse ได้
- ฟังก์ชันการแคปหน้าจอ ทำได้โดยการ กดปุ่ม “Print Screen” หรือกดปุ่ม Window logo key + ปุ่ม “Print Screen” เป็นคำสั่งของการแคปหน้าจอและบันทึกไฟล์รูปอัตโนมัติใน My picture ของคอมพิวเตอร์ หรือ กดปุ่ม Window logo key + Shift + S เป็นคำสั่งของการเลือกเฉพาะส่วนในการแคปหน้าจอ
- ฟังก์ชันการอัดหน้าจอ ทำได้โดยการ กดปุ่ม Window logo key + Alt + R พร้อมกัน หรือใช้โปรแกรม Power point ตั้งแต่ version 2016 ขึ้นไป คลิก “แทรก” เลือกคำสั่ง “การบันทึกหน้าจอ”
- ฟังก์ชันการตัดต่อคลิปวิดีโอ คือ ฟังก์ชัน Photo ที่มีใน Windows คลิก “Video Editor”
สำหรับข้อดีของการใช้เครื่องมือพื้นฐานบนคอมพิวเตอร์ คือ การใช้ฟังก์ชันในเครื่องให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ส่วนข้อจำกัด คือ ฟังก์ชันให้เลือกใช้ไม่หลากหลายเท่ากับการดาวน์โหลดหรือการใช้โปรแกรมเสริมอื่นๆ
2. การวัดประเมินผล / การสอน / ทำแบบฝึกหัด เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มแบบออนไลน์ผ่าน webwhiteboard.com เป็นโปรแกรมที่สามารถให้นักเรียนเรียนรู้หรือทำงานร่วมกัน (Collaborative learning) สำหรับวิธีการใช้งาน
- เข้าระบบ webwhiteboard.com คลิก “Start whiteboard”
- การวางรูปภาพ สามารถเลือกรูปและทำการลากวางรูปได้ที่ whiteboard
- การแชร์รูปภาพ หรือข้อมูล ทำการคลิกที่ “Share board” ตรงมุมขวาบนของหน้าจอ ทำการ “Copy link” เพื่อแชร์ให้นักเรียนใช้งานร่วมกัน ทั้งนี้ ครูสามารถติดตามการทำงานของนักเรียนได้ และรายงานผลทั้ง file image หรือ PDF ได้ โดยการคลิกที่ “Export this board”
สำหรับข้อดีของการใช้เครื่องมือ webwhiteboard คือ ไม่ต้องลงทะเบียนในการใช้งาน แต่ถ้าต้องการที่หลากหลายเพิ่มเติม สามารถลงทะเบียนการใช้งานได้ ใช้งานง่ายได้ทั้งมือถือและคอมพิวเตอร์ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกวิชา ทุกระดับชั้น และสามารถโหลดไฟล์เก็บไว้ได้ ข้อจำกัด คือ มือถือไม่สามารถพิมพ์ได้ต้องใช้การเขียน และบอร์ดมีอายุการใช้งานภายใน 24 ชั่วโมง
3. การสร้าง Template กล่องรูปทรงต่างๆ http://www.templatemaker.nl/ เป็นเว็ปไซด์ที่ครูสามารถสร้างโมเดลในรูปแบบต่างๆ สำหรับวิธีการใช้งาน ในเว็ปไซด์จะมีรูปทรงหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เมื่อทำการเลือกรูปแบบที่ต้องการแล้ว จะมีฟังก์ชันให้ทำการปรับค่าตามที่ต้องการ เลือกประเภทไฟล์ คลิก “Create” ข้อดี คือ ฟรีใช้งานง่าย มีโมเดลหลายแบบ เลือกกระดาษได้หลายไซส์ สามารถทำเป็นสื่อการสอนและโมเดลประกอบได้หลากหลาย
เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน
สำหรับเทคนิคการสอนออนไลน์อย่างไรให้สนุกนั้น หัวใจสำคัญในการจัดการเรียนการสอน คือ ผู้สอน สื่อ และผู้เรียน ซึ่งกิจกรรม PLC Teacher ในครั้งนี้ จะอยู่ในส่วนของการใช้สื่อ และเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างไร เพื่อนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ตลอดจนการวัดและประเมินผล เพื่อให้ทราบถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ทั้งนี้ ในการใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับการจัดการเรียนรู้ จะต้องเป็นสื่อที่มีความเหมาะสมและนักเรียนรู้สึกคุ้นเคย เช่น โปรแกรม Google Meet สำหรับงานสอน แอปพลิเคชัน LINE ในการสร้างเป็นกลุ่มห้อง และทำการโพสต์เนื้อหาลงในอัลบั้มกลุ่มหลังจากที่ทำการสอนเสร็จ รวมไปถึงการสั่งงาน การติดตามและการส่งงาน แอปพลิเคชันสำหรับรายวิชาComplete Anatomy, Desmos และ แอปพลิเคชัน Kahoot สำหรับการวัดและประเมินผล เป็นต้น นอกจากนี้ บรรยากาศในการเรียน ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการเรียนออนไลน์เป็นประจำย่อมส่งผลให้ความสนใจในการเรียนของนักเรียนน้อยลง ซึ่งครูเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบรรยากาศให้การเรียนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแต่งตัวตามธีมในแต่ละชั่วโมง การใช้กิจกรรมในการสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามความสนใจของนักเรียน การใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การใช้เพลงประกอบการสอน โดยการให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลง ดูคลิปวิดีโอ ร้องเพลง และทำการสรุปเนื้อหา นิยามต่างๆ จากเนื้อเพลง เพื่อทบทวนความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน รวมไปถึงการใช้แอปพลิเคชันช่วยสอน เพื่อให้เด็กฝึกจนเกิดทักษะ ความเข้าใจ และสรุปเนื้อหาที่เรียนจากการทำกิจกรรมทั้งกลุ่มและเดี่ยว การติดตามงานนักเรียนอาจจะใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การร้องเพลง การใช้กิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมในการติดตามงาน เป็นต้น
ด้านการวัดและประเมินผลเน้นการวัดตามบริบทที่สอน กล่าวคือ การเรียนรู้ในแต่ละรายวิชาครูสอนแบบไหนต้องวัดแบบนั้น ถึงแม้ว่า การจัดการเรียนการสอนจะอยู่ในรูปแบบไหน เทคนิคหรือวิธีการสอนเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญ คือ การให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ จากการใช้สื่อและเทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมกับนักเรียนและบริบทมากที่สุด และด้วยสถานการณ์เช่นนี้ การให้กำลังใจซึ่งกันและกันจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ครูจักรพงศ์ จันทวงศ์ โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์
ดร.พัชรินทร์ แก้วมาเมือง โรงเรียนเซนด์เทเรซา หนองจอก
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...