"ลูกพูดคนเดียว" ปัญหาหรือว่าเป็นเรื่องปกติ?

Starfish Academy
Starfish Academy 8238 views • 3 ปีที่แล้ว
"ลูกพูดคนเดียว" ปัญหาหรือว่าเป็นเรื่องปกติ?

ถ้าวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่า ลูกกำลังพูดคุยกับตัวเอง หรือกับอะไรสักอย่างที่มองไม่เห็น เราว่าร้อยทั้งร้อยคุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะสงสัย ไปถึงตกใจว่าทำไมลูกถึงพูดคนเดียวกันนะ?  วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงเรื่องนี้กันค่ะ พร้อมกับมาช่วยกันหาคำตอบ กันว่าลูกพูดกับตัวเอง หรือพูดกับอะไรกันแน่? 

การพูดกับตัวเองเกิดจากอะไร?

ไม่ใช่เฉพาะเด็กๆเท่านั้นหรอกค่ะ เราชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีเผลอพูดกับตัวเองบ้าง ถ้าถามว่าการพูดกับตัวเองนั้นเกิดจากอะไร ต้องวกเข้าเรื่องของสมองเลยค่ะ สมองส่วน Broca Area ที่มีอิทธิพลต่อการพูดและภาษา สมองส่วน Wernicke’s Area รับผิดชอบทักษะการฟัง และตีความ ซึ่งสมองทั้ง 2 ส่วนทำงานผสานกัน 

ตีข้อมูลโต้ไปมาคล้ายเล่นปิงปอง  

แต่อย่างไรก็ตามจังหวะการตีโต้ยังมี ‘ช่องว่าง’ ที่เป็นกลไกให้คุณไม่ตอบในขณะที่

ตัวเองพูด มีช่วงหน่วงเวลาอยู่ที่ 300 – 700 มิลลิวินาที ที่สมองจำเป็นต้องใช้คิด บางคนประมวลผลได้เร็ว และอีกหลายคนใช้เวลาประมวลผลนานกว่าคนอื่นๆหลายครั้งที่กลไกนี้ก็หย่อนยานบ้าง ทำให้เกิดประสบการณ์ “พูดกับตัวเอง” (talk to self) จนอาจเป็นเรื่องปกตินั่นเอง

ลูกพูดคนเดียวต้องกังวลไหม?

การพูดคนเดียวของเด็กนั้น เกิดจากแรงผลักดันที่จะฝึกทักษะทางภาษา ถือว่าเป็นการพัฒนาทั้งร่างกายและสมอง อันนี้เราไม่ได้คิดเองเออเองนะคะ  ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์  มีชื่อเสียงจากการศึกษาพัฒนาการทางปัญญา ของเด็กนั้น ก็กล่าวว่าการพูดเดียวของเด็ก เป็นหนึ่งในลำดับขั้นของพัฒนาการของเด็ก คือเป็นรูปแบบภาษาขั้นต้นที่ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางนั่นเอง 

เช่นเดียวกับ Adam Winsler นักจิตวิทยาอีกท่าน พบว่า เด็กๆ ในช่วงก่อนปฐมวัย

ที่พูดกับตัวเอง ระหว่างทำการทดสอบทักษะ พวกเขามีสมาธิจดจ่อได้ดีขึ้น จนมีการสรุปโดยคร่าวๆ ว่า “การพูดกับตัวเองเป็นเครื่องมือสำคัญที่ย้ำเตือนว่าเราเป็นใคร” เหมือนกับการอ่านออกเสียง ที่ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้ ได้ไวมากขึ้นนั่นเองค่ะ 

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลไป การพูดกับตัวเองนี้บางครั้งจะยังต่อเนื่องไปจนถึงวัยอนุบาล แต่เมื่อลูกโตขึ้นกว่านี้พูดได้มากกว่านี้เขาจะเริ่มรู้จักใช้ความคิดเงียบๆ มากขึ้น

ลูกพูดคนเดียวหรือพูดกับใคร?

ไม่ได้จะพาเข้าเรื่องไสยศาสตร์ หรือสิ่งลี้ลับอะไรค่ะ แต่จะมาแนะนำคุณพ่อคุณแม่รู้จักกับ "เพื่อนในจินตนาการ" (Imaginary Friend) ซึ่งพบได้ไม่น้อยในเด็กเล็กปกติทั่วไป โดยปกติแล้วเด็กๆ จะเล่นของเล่น ตุ๊กตา แล้วก็พูดคุยด้วย เป็นเรื่องปกติ

ใช่ไหมคะ? แต่จากการศึกษาพบว่าเมื่ออายุ 7 ปี เด็กร้อยละ 37 เขยิบจินตนาการจากของเล่นทั่วไปไปเป็น "เพื่อนในจินตนาการ" ที่ไม่มีตัวตนจริง ซึ่งเกิดจาก 

"พลังแห่งจินตนาการ" ของเด็กเล็กๆ นั่นเอง

คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะจริงๆแล้ว เด็กๆนั้น ทราบดีว่าว่าเพื่อนคนนี้ไม่มีตัวตน อาจจะมีเพียงส่วนน้อยจริง ๆ ที่จะยืนยันว่าเพื่อนคนนี้มีตัวตน "จริง ๆ" ซึ่งหากไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตก็ไม่เป็นไร 

สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่มักเข้าใจผิดคือคิดว่าเด็กๆ ที่มีเพื่อนในจิตนาการ และพูดคุยอยู่นั้น เป็นเด็กที่มีปัญหา เพื่อนไม่เล่นด้วย หรือขี้เหงา แต่แท้จริงแล้วเด็กที่มีเพื่อนในจินตนาการมักมีแนวโน้มที่จะกล้าแสดงออก มีความสุขต่อการเล่น ต่อการใช้ชีวิต และ มีทักษะที่ดีกว่าในการแก้ปัญหาอีกด้วย

ลูกพูดคนเดียว พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

คุณพ่อ คุณแม่หลายคน มักเอาบรรทัดฐานของผู่ใหญ่ไปตัดสินพฤติกรรมของลูก 

ว่ามันไม่ควรเป็นอย่างนั้น หลายคนจึงออกปากสั่งห้ามไม่ให้ลูกพูดคนเดียว ทั้งๆ 

ที่สิ่งนี้ เป็นเพียงพฤติกรรมตามวัย ปัญหาที่จะตามมาก็คือ เมื่อโตขึ้นเขาจะกลาย

เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง

เราจึงอยากจะย้ำกับคุณพ่อคุณแม่ว่า การพูดคนเดียว การพูดกับตัวเอง และการพูดกับเพื่อนในจินตนาการ ต่างก็เป็นพฤติกรรมที่ปกติของเด็กเล็ก ที่ผู้ใหญ่ควรสนใจ เพื่อจะได้เข้าใจความคิด และความรู้สึกต่างๆ ในจิตใจของเขา จากนั้นลองเข้าไปฟังว่าลูกกำลังคิดอะไรหรือทำอะไร เข้าร่วมพูดคุยไปกับลูก จะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้คุณเข้าใจลูกได้มากขึ้น และสามารถช่วยเหลือ หรือดูทิศทางเพื่อพัฒนาทักษะและ ความสามารถของเขาได้ในอนาคตค่ะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
Starfish Academy

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

Starfish Academy
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1383 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6550 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

แนะนำหลักสูตร well being

คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...

แนะนำหลักสูตร well being

แนะนำหลักสูตร well being

Starfish Labz

Related Videos

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
359 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
221 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION
13:50
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
127 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
594 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ