ฝึกลูกรับมือกับปัญหา ด้วยทฤษฎีหมวก 6 ใบ

Starfish Academy
Starfish Academy 12566 views • 4 ปีที่แล้ว
ฝึกลูกรับมือกับปัญหา ด้วยทฤษฎีหมวก 6 ใบ

“คุณครูบอกว่า วันนี้ต้องหักคะแนนเด็กชาย A เพราะไม่ส่งการบ้าน โดยเด็กชาย A สารภาพว่าเล่นเกมจนดึกจนลืมทำการบ้าน” ถ้าคุณพ่อคุณแม่เจอสถานการณ์แบบนี้ จะคุยกับลูกอย่างไร ?

ขอบคุณภาพจาก Kelly Sikkema

เราเชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนคงอยากให้ลูกเรียนรู้จากความผิดพลาด และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แต่เมื่อโลกใบนี้ไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ การชวนมองเฉพาะข้อดีกับข้อเสีย อาจไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ 

วันนี้เราเลยอยากชวนมาทำความรู้จักกับ “ทฤษฎีหมวกการคิด 6 ใบ (Six Thinking Hats)” ของคุณ Edward de Bono ซึ่งเป็นวิธีการคิดเพื่อแก้ปัญหาอย่างรอบด้านที่ใช้ได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่บทความนี้เราจะลองมาปรับใช้เพื่อฝึกลูกให้รับมือกับความผิดพลาดกัน

ว่าแล้วก็หยิบหมวกมาสวมทีละใบ แล้วคิดไปพร้อมกับเด็กชาย A กันเลยดีกว่า

1. หมวกสีขาว (White Hat)  คือการพูดถึงข้อเท็จจริง ที่ไม่มีความคิดเห็นหรืออารมณ์ความ

รู้สึกมาเกี่ยวข้อง โดยผู้ปกครองอาจถามเด็ก ๆ ว่า ปัญหาหรือความผิดพลาดนี้คืออะไร มีสาเหตุมาจากไหนได้บ้าง และเงื่อนไขที่เจออยู่เป็นอย่างไร เช่น 

  • ปัญหา : เด็กชาย A ไม่ได้ส่งการบ้านทำให้ถูกหักคะแนน
  • สาเหตุที่ไม่ได้ส่งการบ้าน : เพราะเมื่อคืนง่วงนอนมาก เด็กชาย A เลยลืมทำ
  • สาเหตุที่ง่วง : เพราะการเล่นเกมจนดึก 
  • สาเหตุที่เล่นเกมจนดึก : เพราะคิดว่าจะเล่นเกมก่อนแล้วค่อยทำการบ้าน แต่เล่นเพลินจนลืมดูเวลา
  • เงื่อนไข : ยังสามารถส่งย้อนหลังได้ แม้คะแนนจะน้อยลง

เมื่อถามหาสาเหตุไปเรื่อย ๆ โดยเน้นข้อเท็จจริงเป็นหลัก อาจจะช่วยให้พบต้นตอของปัญหาได้ในที่สุด ซึ่งในสถานการณ์นี้  ปัญหา คือ การจัดลำดับความสำคัญของเด็กชาย A  และการควบคุมตัวเองไม่ให้เล่นเกมเกินเวลา ส่วนเงื่อนไขที่มีตอนนี้ คือยังส่งการบ้านย้อนหลังได้ แต่คะแนนจะลดลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของการหาทางแก้ภายใต้เงื่อนไขที่มีอยู่ 

2. หมวกสีแดง (Red Hat) คือการแชร์อารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อปัญหา เพื่อให้เด็ก ๆ รู้เท่าทันตัวเอง 

แยกอารมณ์ออกจากเหตุผล  และได้แสดงความรู้สึกจริง ๆ ออกมา เพราะหากใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียว พวกเขาอาจไม่ได้จัดการกับความรู้สึกของตัวเอง เช่น

  • เด็กชาย A รู้สึกผิด 
  • เด็กชาย A ยังอยากเล่นเกม เพราะเกมสนุกกว่าการบ้าน เขารู้สึกว่าการบ้านน่าเบื่อ

ความรู้สึกผิดของเด็กชาย A  แสดงว่าเขายังอยากแก้ไขอยู่ แต่ไม่อยากให้ผู้ปกครองมองข้ามความรู้สึกสนุกกับเกม แต่เบื่อการบ้านของเขาด้วย เพราะถ้าหักดิบด้วยการห้ามไม่ให้เล่นเกมอีกเลย อาจสร้างความรู้สึกต่อต้านให้เด็กชาย A ได้ ดังนั้น เราควรหาทางสร้างแรงจูงใจ ให้เด็กชาย A อยากทำการบ้านมากขึ้น เล่นเกมน้อยลง

3. หมวกสีดำ (Black Hat) คือการมองข้อเสีย ผลกระทบที่เกิดขึ้น และสถานการณ์ที่แย่ที่สุดที่เป็น

ไปได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็ก ๆ รอบคอบ ระมัดระวัง และนึกถึงผลที่ตามมามากขึ้น เช่น

  • เกมอาจจะชวนให้ติดลมจนลืมสิ่งที่ต้องทำ ถ้าในอนาคตเป็นเรื่องใหญ่กว่าการบ้านอาจจะส่งผลเสียมากกว่านี้อีก
  • การส่งงานช้ากว่ากำหนด ยิ่งทำให้เสียเวลามากขึ้น เหนื่อยมากขึ้น แถมยังอดเล่นเกมเพราะต้องเอาเวลาไปทำการบ้านย้อนหลัง และการบ้านชิ้นใหม่

4. หมวกสีเหลือง (Yellow Hat) คือการมองข้อดี หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์นั้น ๆ เพื่อให้เขาไม่รู้

สึกว่าปัญหามีแต่ด้านที่แย่เพียงอย่างเดียว และมีกำลังใจในการแก้ไข แถมยังช่วยให้มองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ เช่น

  • คุณครูยังให้โอกาสส่งย้อนหลัง และหักคะแนนไม่มาก
  • ทำให้ได้ทบทวนตัวเอง แล้วพบว่าปัญหาคือการจัดลำดับความสำคัญของตัวเอง

ขอบคุณภาพจาก Frank Vessia

5. หมวกสีเขียว (Green Hat) คือความคิดสร้างสรรค์ มองเห็นทางเลือก และวิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่

เป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขที่มีอยู่ เช่น

  • เปลี่ยนมาทำการบ้านให้เสร็จก่อนเล่นเกมทุกครั้ง เพราะคิดว่ายังควบคุมเวลาการเล่นเกมของตัวเองไม่ได้ ถ้าทำแบบเดิมอาจจะลืมอีกรอบ
  • ตกลงกับพ่อแม่ว่าจะลิสต์กิจกรรมต่าง ๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญ แล้วพยายามทำตามเหมือนเป็น Mission ตามลิสต์นั้น ถ้าทำได้แล้วจะให้รางวัลตัวเอง หรือได้รางวัลจากคุณพ่อคุณแม่

6. หมวกสีฟ้า (Blue Hat) คือการมองภาพรวม และสรุปความคิดทั้งหมด ก่อนตัดสินใจ เช่น

“เด็กชาย A สรุปได้ว่า การลืมส่งการบ้านครั้งนี้ มาจากปัญหาคือ ไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่ทำ ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ในอนาคต ถ้าไม่จัดการปัญหานี้ แต่ก็ยังอยากเล่นเกม และไม่ชอบทำการบ้าน เลยตกลงกับพ่อแม่ว่าจะสร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง ด้วยการทำ Mission ลิสต์กิจกรรมตามลำดับความสำคัญแล้วทำตามนั้น  ถ้าทำสำเร็จสัปดาห์นี้ จะไม่ต้องช่วยคุณพ่ออาบน้ำให้เจ้าตูบ แล้วเอาเวลาส่วนนี้ไปเล่นเกมได้”

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถชวนลูกคิดผ่านการถาม-ตอบแบบสถานการณ์ข้างต้น หรือจะปรับใช้เป็นเกมสนุก ๆ สมมติสถานการณ์มาให้ลูกลองฝึกคิด ก็เป็นกิจกรรมในวันหยุดเก๋ ๆ ได้เหมือนกัน

แต่การถามอาจจะต้องระวังเรื่องน้ำเสียงและการใช้ภาษา ที่ไม่ทำให้ลูกตีความว่าเรากำลังตำหนิหรือถามจี้อยู่ ส่วนการเสนอแนะทางเลือกหรือคำตอบ ก็สามารถทำได้โดยไม่ชี้นำ ไม่เป็นประโยคคำสั่ง เช่น “ถ้าเป็นทางเลือกนี้ลูกคิดว่ายังไงบ้าง” คล้ายกับการเสนอไอเดีย แต่ก็ยังเปิดให้เขาได้แสดงความคิดเห็น ตัดสินใจด้วยตนเอง 

ขอบคุณข้อมูลจาก

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

จะทำอย่างไร ถ้าลูกโกหก

การโกหกของเด็กเกิดจากการไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างความจริงกับความฝัน และการโกหกในแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน คุณพ่อ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
จะทำอย่างไร  ถ้าลูกโกหก
Starfish Academy

จะทำอย่างไร ถ้าลูกโกหก

Starfish Academy
4.8 (9 ratings)
1344 ผู้เรียน
Technology Skills
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
5 (6 ratings)
1949 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
Starfish Academy

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

Starfish Academy
4.9 (7 ratings)
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
5 (1 ratings)
3154 ผู้เรียน

Related Videos

สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต
05:59
Starfish Academy

สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต

Starfish Academy
221 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
186 views • 2 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
627 views • 5 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
234 views • 5 ปีที่แล้ว