Parental Burnout พ่อแม่หมดไฟ...แต่ใครจะกล้าพูด

Starfish Academy
Starfish Academy 3013 views • 3 ปีที่แล้ว
Parental Burnout พ่อแม่หมดไฟ...แต่ใครจะกล้าพูด

ในบางครั้งความตั้งใจที่มอบสิ่งดีๆให้ลูกให้มีอนาคตที่ดีให้เป็นไปตามความคาดหวังของพ่อแม่อาจมีเยอะเกินไป จนตัวพ่อแม่เองรู้สึกเหนื่อยและท้อ ไหนจะต้องทำเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ไหนจะต้องทำงานหาเงินมาส่งเสริมและเลี้ยงดูลูก ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งหลายๆคนอาจบอกว่า “เป็นพ่อแม่คนก็เหนื่อยอย่างนี้แหละ” เป็นคำพูดที่คุ้นชินหูแต่ในความเป็นจริงนั้นคนทุกคนมีความเปราะบางด้านอารมณ์ไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดภาวะ Burnout ที่มีลักษณะคล้ายกับการหมดไฟในการทำงานหรือการรู้สึกท้อแท้หมดแรงกับการเรื่องลูกยิ่งปล่อยไว้นานเข้าอาจเกิดภาวะซึมเศร้า และเริ่มห่างเหินจากลูก หากไม่ได้รับการรักษาจะเพิกเฉยต่อลูกไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมเท่าที่ควร นอกจากบางรายอาจมีความรุนแรงต่อลูกโดยการทำพฤติกรรมรุนแรงกับลูกได้นั้นเองค่ะ

พ่อแม่ลักษณะแบบไหนถึงเข้าข่าย Burnout ?

1.ตีกรอบให้ลูกในทุกด้าน นอกจากลูกจะเครียดแล้ว พ่อแม่เองนั้นก็จะเครียดจากการที่เลี้ยงลูกแบบตึงเครียดเกินไป เมื่อลูกไม่ได้ตามที่หวังไว้ก็จะยิ่งเครียด

2.จัดการกับความเครียดไม่เก่ง พ่อแม่บางคนอาจเก็บปัญหาเหล่านั้นไว้เพียงคนเดียวไม่ได้เล่าให้ใครฟังเมื่อปัญหามันยิ่งมีมากก็ไม่รู้จะหาทางออกอย่างไรเพราะไม่มีใครค่อยให้คำแนะนำหรือช่วยแก้ไขปัญหา

3.พ่อแม่ที่ขาดการช่วยเหลือจากคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่ง หรือการโยนภาระให้กับอีกฝ่าย หนึ่ง และพ่อแม่ที่ขาดการช่วยเหลือจากคนรอบข้าง

4.พ่อแม่ที่ทักษะการเลี้ยงลูก ไม่รู้ว่าเลี้ยงอย่างไรหรือเลี้ยงลูกไม่เป็นนั้นเอง

5.พ่อแม่ที่เป็นเด็กพิเศษ การที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษต้องใช้ความทุ่มเทและพลังกายเป็นอย่างมาก มากกว่าเด็กปกติทั่วๆไปที่ใส่ใจเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

6.พ่อแม่ fulltime จะอยู่เลี้ยงลูกทั้งวัน จนไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง

สัญญาณเตือนว่าคุณหรือคนรอบข้างเป็น Burnout

1.รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา นอนพักแค่ไหนก็ยังเหนื่อย

2.หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ เรื่องเพียงเล็กน้อยก็หงุดหงิดได้

3.จำวัน เดือน ปี ไม่ได้ ยุ่งจนสับสนลืมวัน เดือน ปี ไปเลย

4.ชอบคิด หรือเคยคิดอยากมีเวลาส่วนตัวอยู่บ่อยๆ

5.รู้สึกผิดว่าเป็นพ่อแม่ที่ไม่ดีพอสำหรับลูก

6.เคยคิดว่าลูกทำพฤติกรรมเรียกร้องหรือก่อกวน มองลูกในแง่ลบ

7.ลืมไปแล้วว่าก่อนมีลูกเป็นคนอย่างไร

8.พอมีเวลาว่างจากการเลี้ยงลูกก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไร

9.ไม่กล้าพูดว่าตัวเองมีความสุขตลอดเวลา ไม่แน่ใจว่ามีความสุขครั้งล่าสุดเมื่อไหร่

10.ถอนหายใจบ่อยๆโดยไม่รู้สาเหตุ 

ทางออกของภาวะ Burnout

ยอมรับว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบในโลกนี้มีผิดพลาดได้ ต้องรู้จักให้อภัยตัวเอง และลูกได้ เพราะทุกคนก็เคยพลาดกันทั้งนั้น

อย่าอายที่จะร้องขอความช่วยเหลือ ถ้าไม่ไหวขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวหรือคู่ชีวิต เพราะการเลี้ยงลูกไม่ใช้หน้าที่ของคนใดคนนึง แต่เป็นการดูแลร่วมกัน

หาเวลาให้ตัวเองบ้างอย่างน้อยๆควรมีวันของตัวเองสักวัน ให้ตัวเองนั้นได้ผ่อนคลาย เช่น การไปเดินห้าง ทำเล็บ หรือทำกิจกรรมที่ตนนั้นสนใจ

ปรึกษานักจิตวิทยา หากสุดหนทางแล้วจริง ๆ ก็ควรพบนักจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาและพร้อมที่จะรับฟังคุณอย่างตั้งใจ

ทั้งนี้ที่การเลี้ยงลูกแบบตึงเครียดเกิดไปอาจเป็นผลเสียได้ทั้งลูกและตัวของพ่อแม่เองหากเหนื่อยก็เพียงพักบ้างยิ่งฝืนอาจจะทำอะไรๆได้แย่ลงเพราะไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ดังประโยชน์ที่ว่า “There is no such thing as a perfect parent or a perfect kid, so we have to let go of that. It only hurts, it will never help.” ไม่มีสิ่งใดในฐานะพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบหรือเด็กที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องยึดติดกับมัน เพราะจะมีแต่เจ็บปวดเปล่าๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://anchor.fm/pornchanok-wantanakorn/episodes/Parental-Burnout-ebgvne 

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
Starfish Academy

How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์

Starfish Academy
1630 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
2992 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7739 ผู้เรียน
เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

จะทำอย่างไร ถ้าลูกโกหก

การโกหกของเด็กเกิดจากการไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างความจริงกับความฝัน และการโกหกในแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน คุณพ่อ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
จะทำอย่างไร  ถ้าลูกโกหก
Starfish Academy

จะทำอย่างไร ถ้าลูกโกหก

Starfish Academy
1280 ผู้เรียน

Related Videos

สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต
05:59
Starfish Academy

สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต

Starfish Academy
164 views • 2 ปีที่แล้ว
สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
169 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
530 views • 3 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
210 views • 3 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน