โดยทั่วไปแล้ว เด็ก ๆ จะเริ่มรับรู้เรื่องของการเอาใจใส่ได้ต่อเมื่อเขาอายุประมาณ 8-10 เดือน ซึ่งหลังจากนั้น ทักษะด้านการเอาใจใส่ หรือ การเอาใจใส่ผู้อื่น ของพวกเขาจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันอย่างมากหลังจากนี้
สิ่งที่เรารู้คือเมื่อเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้การเอาใจใส่ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในช่วงพัฒนา จะสามารถทำให้พวกเขามีทักษะในการเอาใจใส่อย่างมากในชีวิตจริง หรือตอนที่พวกเขากลายเป็นผู้ใหญ่ เขาจะกลายเป็นคนที่ดูแลผู้อื่นด้วยความอ่อนโยน เคารพ และ เข้าอกเข้าใจผู้อื่น
ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมิใช่ทักษะที่คงที่ แต่สามารถปลูกฝังได้ และช่วยกันผลักดันผ่านพี่น้องหรือผู้ใหญ่ที่เปี่ยมด้วยความเอาใจใส่ แต่อย่าลืมว่า ทักษะดังกล่าวนั้นต้องอาศัยเวลาในการพัฒนา
เมื่อถึงจุดนี้แล้วคุณคงอยากทราบว่าจะทำอย่างไรเพื่อเพิ่มความเห็นอกเห็นใจให้ลูกของคุณ เรามี 3 เทคนิคง่าย ๆ มาให้อ่านกันค่ะ
1.เป็นตัวอย่างในความเอาใจใส่
ไม่ว่าเมื่อใด มอบความอบอุ่น และ ความเห็นอกเห็นใจให้ลูกเสมอ ลูก ๆ ของคุณกำลังเฝ้ามองสิ่งต่างเพื่อเรียนรู้ และ หาวิธีที่ถูกต้องในการปฎิสัมพันธ์ อย่างที่ทราบกันว่าสิ่งรอบตัวนั้นคือสิ่งที่ทรงอิทธิพลกับตัวลูก ๆ ดังนั้นจงเป็นตัวอย่างที่ดีในการให้คุณค่า เอาใจใส่ความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงการเห็นอกเห็นใจเมื่อมีคนเสียใจ ,เสียขวัญ ,สับสน หรือต้องการการช่วยเหลือ เมื่อเด็ก ๆ แสดงความรู้สึกที่ไม่ดี เราจะต้อง “รับรู้ ”ความรู้สึกของพวกเขา แสดงความห่วงใย และดูแลจนพวกเขาส่งสัญญาณว่าเขาโอเค และ พร้อมจะไปทำสิ่งอื่นต่อ
ในขณะเดียวกัน เด็กเล็ก ๆ นั้นไม่ได้ต้องการเพียงการปลอบประโลม แต่ควรมีการบ่งชี้พวกเขาว่าเขารู้สึกอะไรอยู่ด้วย เมื่อเขาร้องไห้ ก็ถามไถ่ ว่าเสียใจหรือ? ให้ (พ่อ/แม่) ช่วยอะไรได้บ้าง?
2. รวมความรู้สึก ,ความคิด และ พฤติกรรม เป็นหนึ่งเดียว
“หนูดีรู้สึกเสียใจเพราะมิกกี้เอาของเล่นของหนูดีไป...ลูกว่าทำอย่างไรดีนะ ให้หนูดีรู้สึกดีขึ้น?”
เมื่อพวกเขาพูดถึงความรู้สึก ,ลองโยงกับพฤติกรรมต่าง ๆ กับความรู้สึก เพื่อให้ลูก ๆ ได้เข้าใจเหตุ และ สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกับคำถามข้างต้น จะทำให้ลูก ๆ เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ได้มากขึ้น หรือมากกว่านั้น สามารถเล่าผ่านนิทาน การแสดงในบ้าน รวมถึงหนังสือ พูดถึงความรู้สึกต่าง ๆ ของตัวละคร รวมถึงพฤติกรรม และสิ่งที่ตัวละครทำหลังจากนี้
เมื่อคุณเชื่อมโยง รวบรวมสิ่งต่าง ๆ พวกเขาจะเข้าใจตัวเองเมื่อได้พบเจอกับความรู้สึกต่าง ๆ ในชีวิตมากขึ้น เช่น เมื่อเห็นตัวละครเศร้าใจ เพราะคิดถึงครอบครัว พวกเขาจะเชื่อมโยงความรู้สึกนั้นเมื่อเขารู้สึกเศร้ากับบางสิ่งที่คล้ายกัน และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองรู้สึกได้ดีขึ้น
สำหรับเด็ก ๆ ที่โตกว่า (5ปีขึ้นไป) ลองให้พวกเขาได้ลองเข้าไปอยู่ในมุมมองของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือเด็ก แล้วถามว่า “คิดว่าเขากำลังรู้สึกอะไรอยู่? ทำไมเขารู้สึกแบบนั้น? เราจะช่วยเขาอย่างไรได้บ้าง?” เป็นต้น
3.ให้ห้องอบอวลด้วยการเอาใจใส่
ในฐานะครอบครัว ห้องเรียน เราแนะนำให้ช่วยกันสร้างห้องที่เต็มไปด้วยความเอาใจใส่ ซึ่งจะสนับสนุนให้พวกเขาเป็นคนที่เอาใจใส่ และ เข้าใจในผู้อื่น ทั้งครอบครัว และเพื่อน ๆ ของเขา
ถ้าลูกของคุณไม่เข้าใจในเรื่องของการเอาใจใส่ ลองสร้างโอกาสในการที่พวกเขาจะได้เอาใจใส่ผู้อื่น และ ชูสิ่งนั้นว่าสิ่งที่เขาทำลงไป ช่วยผู้อื่นอย่างไร เช่น
“เราใจดีมากเลยนะ ที่ได้ช่วยป้าคนนั้นหาแว่นตา พ่อบอกว่าป้าเขาต้องดีใจมากแน่ ๆ ที่เราช่วยเขา เก่งมากลูก”
ทักษะความเอาใจใส่ที่ดีนั้น สามารถทำให้เด็ก ๆ อยู่ในสังคมภายนอกได้ ซึ่ง พ่อแม่ ครู ผู้ปกครอง หรือแม้แต่พี่น้อง สามารถที่จะมีส่วนช่วยในการเป็นตัวแปรสำคัญเพื่อพัฒนาสิ่งนี้ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.todaysparent.com/family/parenting/3-simple-ways-to-teach-kids-to-have-empathy-for-others/
บทความใกล้เคียง
สอนลูกเรียน Coding ภาษาแห่งอนาคต

พูดถึงการเรียน Coding คุณพ่อคุณแม่หลายคนคิดถึงเรื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นเลยใช่ไหมคะ? เป็นการเรียนเขียนโปรแกรมไหม? มีแต่คำสั่งยาก ๆหรือเปล่า? ลูกจะติดหน้าจอไหม? แถมยังงงอีกว่ามันจะมาปรับใช้ในชีวิตลูกได้อย่างไร? วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องนี้ค่ะCoding ...
Soft Skills ที่ต้องมีสร้างลูกเป็นมืออาชีพทุกสายงาน

เมื่อพูดถึงคำว่า Skill หรือทักษะ หลายคนมักนึกถึงความสามารถด้านวิชาชีพ เช่น ทักษะการทำอาหาร ทักษะการคำนวณ ทักษะการอ่านเขียน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็น Hard Skill คือสิ่งที่เราเรียนรู้จนเกิดความชำนาญ และนำไปต่อยอดประกอบอาชีพได้ แต่ยังมีทักษะอีกช ...
“Media Literacy” ทักษะสำคัญของเด็กในยุคดิจิทัล

โลกอินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้สะดวก รวดเร็ว เปิดโลกกว้างให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ แต่อีกด้านที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ข้อมูลข่าวสารจำนวนมากนั้นอาจไม่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ หรือเป็นประโยชน์เสมอไป เช่น การตัดต่อภาพ ตัดต่อเสียงเพื่อบิด ...