ออกแบบการสอนอย่างไร? ให้ตอบโจทย์ประเด็นท้าทายเกณฑ์ วPA

ออกแบบการสอนอย่างไร? ให้ตอบโจทย์ประเด็นท้าทายเกณฑ์ วPA

การออกแบบการสอนที่หลากหลาย ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่สามารถนำไปใช้กับนักเรียน เพื่อให้มีห้องเรียนเป็นของตนเองอย่างแท้จริง และเพื่อให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้จากการนำหลัก 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง ทั้งนี้ ในช่วงปิดภาคเรียน ครูจึงต้องทำการวางแผนการสอนในปีการศึกษาต่อไป และถ้ากล่าวถึง วPA ต้องมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นท้าทาย เนื่องจากในภาคเรียนที่ 1 ครูต้องมุ่งที่ประเด็นท้าทายในการเริ่มปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้เด็กเกิดสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 (บ้านคลองควน) จ.สุราษฎร์ธานี โรงเรียนต้นเรื่องในครั้งนี้ โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-demand Online และ On-site ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เปิดการสอนในระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 64 คน ดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิดโรงเรียนสุขภาวะทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียน โรงเรียน สภาพแวดล้อม ชุมชนและครอบครัวเป็นสุข เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในการสร้างเสริมให้กับผู้เรียนเป็นสุขทุกคน โดยมีนวัตกรรมที่ใช้ในกระบวนการทั้งการบริหารจัดการและการเรียนการสอนหลัก 3 ตัว คือ 

1) นวัตกรรม “จิตศึกษา พัฒนาปัญญาภายใน” 

2) PBL การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 

3) PLC การสร้างชุมชนเรียนรู้แห่งวิชาชีพ สำหรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น 2 ลักษณะ คือ ช่วงเช้าเป็นการสอนรายวิชาหลัก ช่วงบ่ายเป็นการสอนแบบบูรณาการใช้กิจกรรมจิตศึกษาและจิตวิทยาเชิงบวกในการสอน ด้านการเตรียมจัดการเรียนการสอน การทำแผนการสอน โรงเรียนได้ดำเนินการทบทวนการสอนเพื่อเตรียมตัวในการเปิดภาคเรียน 

โดยการประชุมร่วมกันกับคณะครู และมีผู้อำนวยการเป็นผู้นำในการ PLC มีการใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการสื่อสาร ซึ่งเป็นการสะท้อนตนเองถึงสิ่งที่ทำได้ดี สิ่งที่อยากปรับปรุงแก้ไข และแนวทางในการพัฒนาของครูทุกคน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น ยกตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นป.1 พบว่า เดิมนักเรียนจำพยัญชนะไม่ได้ อ่านและผสมคำไม่ได้ จึงได้ทำการตั้งเป้าในการจัดการเรียนรู้ คือ การอ่านออก-เขียนได้ เพื่อปูพื้นฐานในการเรียนระดับชั้นป.2 ซึ่งในภาคเรียนที่ผ่านมายังไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้ และในปีการศึกษาต่อมา ได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหามากขึ้นเพื่อให้นักเรียนสามารถต่อยอดการเรียนรู้ได้

สำหรับประเด็นท้าทายตามเกณฑ์ วPA เนื่องจากเป็นโรงเรียนนำร่อง จึงขอแชร์ประสบการณ์ในการเขียนข้อตกลง โดยการนำปัญหาที่พบมาเขียนเป็นประเด็นท้าทาย ซึ่งครั้งแรกที่ได้ทำการเขียน PA กคส.ยังไม่ได้ประกาศใช้ จึงได้นำแบบฟอร์ม (ฉบับร่าง) วPA ให้ครูทดลองเขียน PA ของตนเองตามความเข้าใจและส่งกลับไปยัง กคส. ซึ่งได้รับคำแนะนำเพื่อนำกลับมาแก้ไข โดยการทำ PLC ร่วมกันภายในโรงเรียน จึงได้ข้อสรุปในการเขียนข้อตกลง วPA ตามปีงบประมาณ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 

ส่วนที่ 1 การปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่งของครู 

ส่วนที่ 2 ประเด็นท้าทาย 

ทั้งนี้ สิ่งแรกที่ต้องคำนึง คือ วิทยฐานะของครูซึ่งจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับระดับปฏิบัติการที่คาดหวังในแต่ละระดับของวิทยฐานะ และสภาพปัญหาของผู้เรียน เทคนิค วิธีการในการแก้ปัญหา เพื่อทำเป็นประเด็นท้าทายที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและนักเรียน ครูต้องทำการพูดคุย ขอคำแนะนำจากผู้อำนวยการ เพื่อให้ปัญหาที่พบมีความเจาะจงมากขึ้น และการทำข้อตกลงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้น จึงนำมาเขียนเป็นประเด็นท้าทาย และแจกแจงรายละเอียดภาระงานในส่วนที่ 1 ทั้ง 3 ด้าน (การจัดการเรียนรู้ การสนับสนุน และการพัฒนาตนเอง) เพื่อออกแบบการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงไปสู่แผนการสอน

ในส่วนของงานด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน (มี 8 ตัวชี้วัด – สร้างหลักสูตร ศึกษาพัฒนาหลักสูตร สร้างสื่อ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ วัดและประเมินผล และอบรมจริยธรรมนักเรียน) ซึ่งในแผนการสอนสามารถเขียนให้ปรากฎทั้ง 8 ตัวชี้วัดได้โดยการที่ครูส่งแผนการสอน คลิปวิดีโอที่สอดคล้องกับแผนการสอน และผลลัพธ์ของผู้เรียนที่จะปรากฎในภาระงานตามข้อตกลง สำหรับเทคนิคและวิธีการสอนในการจัดการเรียนการสอนมีอยู่ 3 ขั้น คือ ขั้นนำ (ชง) เป็นการนำกิจกรรมมาใช้ตามบริบทของโรงเรียน ขั้นสอน (เชื่อม) เป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมและใหม่ของเด็ก เพื่อนำไปสู่การต่อ

ยอดความรู้ใหม่ ขั้นสรุป (ใช้) เป็นขั้นตอนการสะท้อนคิด การจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูและ นักเรียน ตลอดระยะเวลา 1 คาบเรียน 

จะเห็นได้ว่า การทำ วPA เป็นสิ่งที่ครูทุกคนสามารถทำได้ หากมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การใช้ปัญหาที่พบเป็นประเด็นท้าทาย และนำมาเขียนในภาระงาน 3 ด้าน ซึ่งนำไปสู่การเชื่อมโยงแผนการสอนและสื่อการสอน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้กับผู้เรียน ทั้งนี้ การทำ วPA ไม่ใช่การทำวิจัย แต่เป็นการแก้ปัญหาที่มีกระบวนการเป็นของตนเอง ถ้าหากครูสามารถทำได้อย่างเป็นระบบ วPA ก็คือหนึ่งในภาระงานที่ครูได้ดำเนินการอยู่แล้วในกิจวัตรประจำวัน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.youtube.com/watch?v=tnuMfRuOczE

ครูเสาวรส ส้มพลอย 

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 88 (บ้านคลองควน) จ.สุราษฎร์ธานี

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6349 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8893 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3502 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
746 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1229 views • 2 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
750 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร
11:30
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6656 views • 2 ปีที่แล้ว
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร