ครู SMART ทำได้ สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA

ครู SMART ทำได้ สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA

การสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA เป็นการพาครูกลับสู่ห้องเรียนให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าห้องเรียนนั้นจะมีการสอนในรูปแบบใด ตามแนวคิด Focus on Classroom และจากการดูคลิปตัวอย่างการจัดการเรียนสอนในครั้งนี้ จะเป็นการแบ่งปันไอเดียต่างๆ วิธีการสอน เทคนิคการสอนในสาระต่างๆ จากการนำหลัก 8 ตัวชี้วัด หรือที่เรียกว่า 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง สอดแทรกในการจัดการเรียนรู้ตามที่ทาง กคศ. กำหนดใช้เป็นเกณฑ์ในการวัด Performance ของครูในการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ และช่วยให้ครูได้พัฒนาตนเองให้เป็นครูมืออาชีพ ซึ่งสิ่งสำคัญจากไอเดียเหล่านี้ ครูสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้เด็กเกิดสมรรถนะได้อย่างสูงสุด

ทั้งนี้ ได้มีการนำหลัก 8 ตัวชี้วัด หรือที่เรียกว่า 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง ที่ได้แนวคิดจากหนังสือ How Learning Work ซึ่งได้พูดถึง 7 หลักการสอนที่ทรงพลัง และอีก 1 ตัวชี้วัดที่ กคศ. เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการเป็นทิศทางพัฒนาการสอนของครู ประกอบด้วย 

1)  เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกับสิ่งที่จะสอน 

2)  ทำให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือทำจริง 

3)  สร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้ 

4)  ฝึกให้นักเรียนคิดและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 

5)  ครูให้ Feedback นักเรียน และให้นักเรียนสะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง 

6)  จัดบรรยากาศชั้นเรียนให้นักเรียนกระตือรือร้น และมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ 

7)  ทำให้นักเรียนมีการกำกับตัวเองในการเรียนรู้ และ

8)  ความแม่นยำถูกต้องของเนื้อหา

สำหรับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดเวฬุวัน จ.เชียงใหม่ โรงเรียนต้นเรื่องในครั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบผสมผสานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เปิดการสอนในระดับชั้นป.1, ป.6 และ ม.3 แบบแบ่งครึ่งห้องมาเรียน อีกครึ่งห้องเรียนแบบไฮบริด (ออนไลน์ที่บ้าน) พร้อมกัน และในระดับชั้นอื่นได้จัดการเรียนการสอน ในรูปแบบออนไลน์ โดยได้มีการนำหลักการ 8 วิธีการสอนที่ทรงพลังเข้ามาสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้ 

ทั้งนี้ โรงเรียนได้นำคลิปวิดีโอการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้น ป.4 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ คลิปช่วงที่ 1 การสำรวจความรู้ก่อนเรียน เป็นกระบวนการสอนในการสำรวจความรู้ของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการสอนที่ทรงพลัง ในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกับสิ่งที่จะสอน ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า ในการเรียนของเด็กในห้องเรียนไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์หรือมาจากความคิดทางบวกหรือลบ ดังนั้น ครูมีหน้าที่ที่จะต้องปรับความคิดของนักเรียน โดยการนำความรู้เดิมของเด็กออกมาในรูปแบบของการใช้คำถามปลายเปิดทั้งหมด และจากข้อจำกัดของเด็กเล็กในด้านความถนัดทางภาษา อาจใช้การวาดภาพมากกว่าการเขียน และการใช้คำถามเพิ่มเติมให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้ทราบความรู้เดิมของเด็ก ทั้งนี้ ครูอาจจะต้องสร้างกระบวนการคิดให้เด็ก การให้พื้นที่ ให้ความรู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น โดยการสร้างความมั่นใจและเน้นย้ำคำพูด “ไม่เป็นไร” “ไม่มีผิด-ถูก” ให้บ่อยขึ้น 

ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้ ซึ่งจากคลิปแรงจูงใจไม่ได้ส่งผ่านทางคะแนน แต่เป็นการสร้างแรงจูงใจภายในจากความรู้เดิมของนักเรียนและเพื่อนร่วมชั้น ทำให้เกิดการสะท้อนคิดถึงสิ่งที่เรียนรู้มา ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นความอยากเรียนรู้ของนักเรียน 

คลิปช่วงที่ 2 ขั้นตอนของการสอน นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต และการค้นหาคำตอบด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ เน้นย้ำว่าการลงมือปฏิบัติอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องผ่านกระบวนการคิด การลงมือทำ และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสังคมด้วย และในระหว่างทางก็จะเห็นการสะท้อนกลับ 

จากคลิปวิดีโอจะเห็นว่า เด็กเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน หรือเกิดความผิดพลาดจากการสอนที่นักเรียนดูคลิปหรือจากประสบการณ์ที่เกิดจากการสังเกตไม่เพียงพอ ทำให้การสอนสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ ฉะนั้นต้องกลับมาที่กระบวนการ feedback กับนักเรียนถึงความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน โดยการดูคลิปเพิ่มเติม หรือดูตัวอย่างของเพื่อนที่มีความถูกต้อง ใกล้เคียงกับเป้าหมายหรือสิ่งที่คาดหวังไว้ รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ที่ได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า การที่ กคศ. กำหนดเกณฑ์โดยการให้อัดคลิปวิดีโอการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะได้ทราบถึงแนวทาง เทคนิคหรือวิธีการสอนของครูเป็นเช่นไร นักเรียนมีความคุ้นชินมากน้อยเพียงใด เพราะ feedback ของเด็กมาจากธรรมชาติของเด็ก ซึ่งอยู่ที่กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีพลังและส่งพลังให้เด็กและเด็กส่งตอบกลับมา 

คลิปช่วงที่ 3 การสรุปและการสะท้อนเนื้อหาในบทเรียน เป็นเรื่องของการสะท้อนคิดเกี่ยวกับตนเอง โดยการใช้แอปพลิเคชั่น Wordwall เป็นการสร้างคำถามง่ายๆ ในการสะท้อนคิดของนักเรียนตามหลักการสอนทรงพลัง คือ นักเรียนมีการกำกับตัวเองในการเรียนรู้ (Self-regulation) เป็นการกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ว่าจะทำอะไร นำไปสู่การลงมือปฏิบัติ เห็นข้อจำกัดในผลงานจากการสะท้อนผลของครู นำผลงานไปปรับ แก้ไขจนเกิดเป็นผลงานที่สมบูรณ์

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง สามารถสอดแทรกไว้ในกระบวนการเรียนการสอนได้ และเชื่อว่าครูทุกคนสามารถทำได้ และสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิชาที่สอนได้ สุดท้ายแล้ว พลังจากเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่เด็กได้รับ รอยยิ้ม ความสนุก และความสุขที่ได้จากการเรียนการสอนก็จะสะท้อนกลับมาที่ครูเช่นกันทั้งนี้สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/starfishlabz/videos/964020490984607/

ครูวสุพงษ์ อิวาง โรงเรียนวัดเวฬุวัน จ.เชียงใหม่

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6828 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10286 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3660 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
777 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
การเขียน วPA
05:24
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การเขียน วPA

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1245 views • 2 ปีที่แล้ว
การเขียน วPA
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
933 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร
11:30
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8381 views • 2 ปีที่แล้ว
เส้นทางสู่ วPA กับบทบาทของผู้บริหาร