พฤติกรรมก้าวร้าว คือ การใช้อารมณ์รุนแรง พฤติกรรมนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนมากแล้วพฤติกรรมนี้มักจะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ได้มากกว่า เพราะเด็กนั้นถือเป็นวัยที่ยังไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมความโกรธหรืออารมณ์หงุดหงิดของตัวเองได้ เวลาที่มีสิ่งใดมากระทบจิตใจหรือทำให้ไม่พอใจ เด็กมักจะแสดงอาการก้าวร้าวออกมาทันทีโดยไม่ทันได้คิดไต่ตรองว่าสิ่งนั้นควรทำหรือไม่
จริง ๆ แล้ว สาเหตุของความก้าวร้าวในเด็กนั้นมีอยู่หลายปัจจัย เด็กทุกคนไม่จำเป็นต้องก้าวร้าวเสมอไป ในบางครอบครัวที่ผู้ปกครองมีการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมเด็กก็จะสามารถปรับตัวและควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้เมื่อโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในบางครอบครัวการเลี้ยงดูหรือสั่งสอนอาจจะยังคงเป็นวิธีที่ผิดอยู่ ฉะนั้นโรงเรียนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสถาบันครอบครัวอีกแห่งหนึ่งที่จะสามารถให้คำแนะนำและสั่งสอนเด็ก ๆ ที่กำลังมีพฤติกรรมก้าวร้าวให้ดีขึ้นด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมดังนี้
1.การรู้ถึงสาเหตุ ก่อนที่ครูจะสอนเด็กให้หยุดก้าวร้าวได้นั้น ครูต้องเข้าใจก่อนว่าสาเหตุของการก้าวร้าวนั้นเกิดจากอะไร พฤติกรรมเหล่านี้มักเกิดขึ้นตอนไหนและอะไรคือปัญหาที่แท้จริง
2.เปิดใจรับฟัง เมื่อครูทราบถึงปัญหาแล้วว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ครูต้องรับฟังว่าเด็กกำลังต้องการอะไร ความสำคัญของปัญหานี้อยู่ตรงไหน เด็กกำลังต้องการความรักความสนใจ หรือเพียงอยากระบายสิ่งที่อึดอัด ครูต้องรับฟังเด็กอย่างเปิดใจเพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด
3. กำหนดกติกาหรือการลงโทษ การลงโทษที่พูดถึงนี้ไม่ใช่การตีหรือด่าทอด้วยความรุนแรง แต่เป็นการลงโทษต่อพฤติกรรมที่ไม่สมควรทำ ครูต้องสอนเด็กว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนผิด และถ้าผิดจะต้องโดนลงโทษอย่างไร ซึ่งบทลงโทษนี้ครูจะต้องอธิบายเหตุและผลให้ดีว่าทำไมถึงต้องลงโทษ เพื่อที่จะให้เด็กนั้นเข้าใจและหัดยอมรับกับการทำผิดของตัวเอง
4 .การชื่นชมเมื่อเด็กประพฤติตัวดี การพูดชื่นชมนั้นถือเป็นการสร้างกำลังใจที่ดีอย่างหนึ่ง เมื่อเด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้นได้ทีละนิด ครูควรพูดชื่นชมเพื่อให้เด็กนั้นทราบว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นเป็นเรื่องดีแล้ว ถึงแม้เรื่องที่ชมจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็ตาม
5. การเป็นตัวอย่างที่ดี พฤติกรรมเลียนแบบเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อย การที่ครูใช้อารมณ์ในการแก้ไขปัญหาอาจจะทำให้เด็กเกิดการจดจำและทำตาม ฉะนั้นถ้าหากจะป้องกันไม่ให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ครูก็ควรต้องเริ่มจากการเป็นตัวอย่างที่ดีให้ได้ก่อน
จะเห็นได้ว่าโรงเรียนนั้นมีส่วนสำคัญมากในการสะท้อนพฤติกรรมของเด็กกับการเลี้ยงดูไม่แพ้กับสถาบันครอบครัว และยิ่งในยุคสมัยนี้แล้วมีพ่อแม่เด็กหลายคนที่ชอบใช้โทรศัพท์มือถือในการเลี้ยงลูกเพื่อตัดปัญหาการดื้อหรืองอแง การละเลยปล่อยให้เด็กเล่นโทรศัพท์มือถือเยอะ ๆ นั้นจะทำให้เด็กสมาธิสั้น ไม่เชื่อฟังและเกิดอาการต่อต้านพ่อแม่หรือคนรอบข้างได้ ฉะนั้นโรงเรียนและครูจึงมีส่วนคัญในการที่จะช่วยแนะนำและให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง เพื่อให้พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็ก ๆ นั้นดีขึ้นและลดน้อยลงได้
Related Courses
How to วิธีการพัฒนาและรู้จักตนเอง
การรู้จักตัวตนที่เป็นตัวเราจริง ๆ รู้ว่าเราเป็นใครและอยากทำอะไร ก็จะส่งผลให้เรามีความมั่นใจ พร้อมค้นหาวิธีพัฒนาตนเองและเข้ ...



ตำหนิอย่างไรไม่ให้เสียความเชื่อมั่นในตนเอง
การตำหนิผู้อื่น การวิพากษ์ วิจารณ์ หาข้อตำหนิผู้อื่นเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป “คงไม่มีใครที่ ไม่เคยถูกตำหนิ และไม่มีใคร ไม่ตำหนิผู้อื่น” ...



ตำหนิอย่างไรไม่ให้เสียความเชื่อมั่นในตนเอง
การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
เด็กๆ มีพฤติกรรมที่หลากหลาย มีทั้งพฤติกรรมทางบวกและลบ ดังนั้น “ครู” จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยพาเด็กๆ ให้เข้าใจตนเอง ว่าเ ...



การดูแลพฤติกรรมเด็กๆ ในห้องเรียน (ประถมศึกษา)
ฝึกทักษะ Empathy บนโลกออนไลน์
การเอาใจเขามาใส่ใจเราบนโลกออนไลน์เป็นทักษะหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีจริยธรรม เพราะทักษะการเอาใจ ...



Related Videos


เด็กดีสร้างได้ : การเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงบริหารและส่งเสริมพฤติกรรมเชิงบวก


TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

