การสร้างหนังสือแบบอินเทอร์แอคทีฟ สำหรับยุคดิจิทัล

Starfish Academy
Starfish Academy 2659 views • 2 ปีที่แล้ว
การสร้างหนังสือแบบอินเทอร์แอคทีฟ สำหรับยุคดิจิทัล

กิจกรรม Workshop ครั้งนี้ เป็นการเรียนรู้การสร้างหนังสือในรูปแบบอินเทอร์แอคทีฟ ซึ่งเป็นสื่อการเรียนการสอน โดยผ่านการสร้างจากคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า “สื่อดิจิทัล” จะเห็นได้ว่า ในยุคปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีค่อนข้างมากมายและหลากหลาย ส่งผลให้การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนมีความแตกต่างจากเดิม มีอุปกรณ์ (Device) ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ถูกเร่งด้วยสภาพแวดล้อมในช่วงที่มีการเพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนจากในห้องเรียนเป็นรูปแบบ Face-to-face 

กล่าวคือ ต้องมีการเรียนแบบผสมผสานมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นที่มาสำหรับครูในยุคปัจจุบันที่จะต้องมีการ Re-skill Up-skill หรือแม้กระทั่งการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติม สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการ Up-skill เพื่อเปลี่ยนสื่อที่คุ้นเคยจากรูปแบบข้อความ หรือรูปภาพเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบได้

สำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล เอกสารประกอบการเรียนรู้ที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล จะต้องมีการออกแบบให้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ที่หลากหลายในรูปแบบ Visualization หรือ Infographic เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น มีภาพเคลื่อนไหว รูปภาพสามมิติ (Augmented Reality : AR) เสียงประกอบ หนังสือใช้ภาษาที่ทันสมัย มีการโต้ตอบกับผู้เรียน มีลิงก์เชื่อมโยงไปยังแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เนื่องจากผู้เรียนมีการเรียนรู้และความถนัดที่แตกต่างกัน ดังนั้น สื่อประกอบการเรียนอาจจะต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเนื้อหา คลิปวิดีโอ เสียง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะและสมรรถนะต่างๆ ตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้หรือหลักสูตร

ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือสร้างหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ หรือหนังสือแบบอินเทอร์แอ็คทีฟ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงนอกจากเนื้อหาแล้ว ยังมีการผสมผสานโดยการนำ TPCK Model ซึ่งเป็นโมเดลที่นำเอาเทคโนโลยีมาบูรณาการ (Integrate) เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1) เนื้อหา (Content) ที่ใช้ในการเรียนการสอนมีลักษณะใด มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้อย่างไรถึงจะดีที่สุด 

2) กิจกรรม (Pedagogical) ซึ่งจะเป็นการออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนโต้ตอบกับเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมออนไลน์ หรือออฟไลน์ก็ได้ ที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและสมรรถนะต่างๆ ควบคู่กับการเรียนรู้เนื้อหานั้นๆ

3) เทคโนโลยี (Technological) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเครื่องมือ การโต้ตอบของผู้เรียนผ่านเนื้อหาหรือกิจกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีประกอบ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของเทคโนโลยีในการนำเสนอเนื้อหา หรือทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้ดีขึ้น ไม่จะด้านการอ่าน ฟัง หรือดู 

สำหรับกิจกรรม Workshop ในครั้งนี้ จะเป็นการเรียนรู้เครื่องมือการสร้างหนังสือแบบอินเทอร์แอ็คทีฟ 3 โปรแกรม ประกอบด้วย 

1) FLIPHTML5 เป็นเครื่องมืออย่างง่ายในการสร้างหนังสือดิจิทัล โดยครูอาจจะมีเนื้อหาในรูปแบบใบความรู้ ใบงานต่างๆ และ Converse เป็นรูปแบบไฟล์ดิจดทัล 

2) Flipsnack ที่ต่อยอดมาจาก FLIPHTML5 เป็นเครื่องมือสำหรับการออกแบบหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ โดยการใช้ Template สำเร็จรูป รูปภาพ สื่อประกอบ รวมไปถึงกำหนดการโต้ตอบในหนังสือ 

3) Book Creator เป็นเครื่องมือสร้างหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ การโต้ตอบในรูปแบบของการบันทึกเสียง รายละเอียดขั้นตอนดังนี้

1. FLIPHTML5

1.1 เปิดเว็บไซต์ fliphtml5.com

1.2 คลิก Sign in เพื่อเข้าสู่ระบบ หรือลงชื่อใช้ด้วยบัญชี Facebook หรือ Google

1.3 คลิกที่ My Flips เลือก “New folder” ใส่รายละเอียดเพื่อสร้างโฟลเดอร์งาน คลิก “Create”

1.4 คลิก “Add New Book” เลือก “Upload PDF” เพื่ออัพโหลดไฟล์งาน (ขนาดไม่เกิน 300 mb)

1.5 รอจนกว่าโปรแกรมจะทำการ Convert ไฟล์ PDF เป็น Fliphtml5 

1.6 สามารถปรับแต่ง ตั้งค่าหนังสือได้ โดยกดไปที่เมนูด้านซ้าย ตั้งค่าเกี่ยวกับข้อมูลหนังสือ หลังจากใส่ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว คลิก “Apply” เพื่อแสดงผลตามที่ผู้ใช้กำหนด

1.7 การแชร์ หรือเผยแพร่หนังสือ คลิกที่ “Book link” แล้วทำการ Copy link หรือสร้าง QR Code ได้

1.8 การรายงาน สามารถสั่ง Print ได้ทั้งหมด หรือเฉพาะหน้าได้

1.9 การแก้ไขรูปแบบหนังสือ คลิกที่ “General Setting” มีเมนูอยู่ด้านซ้ายมือทั้งหมด 4 เมนู

  • 1.9.1 การตั้งค่าข้อมูลหนังสือ เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว คลิก “Apply”
  • 1.9.2 การตั้งค่า Template หรือรูปแบบหนังสือเกี่ยวกับเมนูต่างๆ เมื่อเลือกเสร็จแล้ว คลิก “Apply”
  • 1.9.3 การตั้งค่าพื้นหลังของที่วางหนังสือ เมื่อเลือกเสร็จแล้ว คลิก “Apply”
  • 1.9.4 การตั้งค่าขั้นสูงเกี่ยวกับ Table of content หรือปรับเปลี่ยนภาษาในการใช้งานโปรแกรม และอื่นๆ เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว “Apply” เพื่อแสดงผลตามที่ผู้ใช้กำหนด

2. Flipsnack

2.1 เปิดเว็บไซต์ www.flipsnack.com

2.2 คลิก Sign in เพื่อเข้าสู่ระบบ หรือลงชื่อใช้ด้วยบัญชี Facebook หรือ Google

2.3 คลิกที่ Flipbook เลือก “Upload PDF” เป็นการสร้างหนังสือจากไฟล์ที่มี หรือ “Create from scratch” เป็นการสร้างหนังสือจาก Template ได้ ทั้งนี้ให้ทำการเลือก “Create from scratch” 

2.4 ทำการเลือกขนาดของหนังสือ คลิก “Create”

2.5 ชึ้นหน้าต่างใหม่ โดยจะมีเมนูเครื่องมือต่างๆในการสร้างหนังสือ Template และสื่อประกอบทางด้านซ้ายมือ และด้านขวามือจะเป็นการแสดงผลเพจ

2.6 การสร้างหน้าปกหนังสือ ทำการค้นหา “Cover” เลือกรูปแบบ

2.7 การแก้ไขข้อมูลหน้าปก คลิกที่ “Layer” ทำการเลือกข้อมูลที่ต้องการแก้ไข ทั้งนี้ สามารถใช้เมนูด้านซ้ายมือทำการปรับขนาด สี หรือการจัดวางของตัวหนังสือได้ตามความเหมาะสม

2.8 หลังจากนั้น ทำการคลิก “ Add new page” เป็นการสร้างหน้าเพิ่มขึ้นมา และทำการเลือก Template จะมีการบอกจำนวนหน้าของแต่ละ Template สามารถเลือกได้ตามจำนวนหน้าที่ต้องการ และเลือก Layer ตามที่ต้องการได้ ทั้งนี้สามารถใช้ Template อื่นร่วมได้ สำหรับการแก้ไขข้อมูลเป็นไปตามขั้นตอนข้อที่ 2.7

2.9 สร้างการโต้ตอบ มี จากการสร้าง Link เลือก หน้าหนังสือที่ต้องการ ทำการ Search หาข้อมูลในเว็บไซต์ และคัดลอก URL หลังจากนั้นทำการคลิก Hyperlink ที่โปรแกรม Flipsnack และทำการคลุมรูปภาพหน้าหนังสือที่ต้องการ คลิก “Action” เลือก “Go to URL” และวาง URL ที่ Copy ไว้ 

2.10 การแทรกรูปภาพ คลิก “Photo” ค้นหา และ เลือก รูปภาพที่ต้องการ 

2.11 การแทรกวิดีโอ คลิก “Video” ทำการค้นหา และ เลือก วิดีโอที่ต้องการ

2.12 การนำไปใช้ คลิกที่ “Share Now” ขึ้นกล่องข้อความ “Publish your work” ทำการกรอกรายละเอียดของหนังสือ คลิก “Publish” ทำการ Copy URL เพื่อทำการแชร์หนังสือ

3. Book Creator

3.1 เปิดเว็บไซต์ www.bookcreator.com

3.2 คลิก Sign in เพื่อเข้าสู่ระบบ หรือลงชื่อใช้ด้วยบัญชี Gmail และ Microsoft

3.3 คลิก “Continue as a teacher”

3.4 คลิกที่ “New book” เลือกแม่แบบหนังสือที่ต้องการ เลือก “Pages” เป็นจำนวนหน้าหนังสือ ทั้งนี้ สามารถเพิ่มจำนวนหน้าได้ โดยการคลิกไปที่หน้าสุดท้ายและกดที่เครื่องหมาย + 

3.5 ไปที่หน้าต่าง “Cover” เพื่อทำการสร้างปกหนังสือ 

3.6 การเพิ่มองค์ประกอบในหนังสือ โดยกดที่เครื่องหมาย + ด้านบนขวา ซึ่งจะเป็นฟังก์ชันในการเพิ่มข้อความ รูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง และการวาดรูป

3.7 การนำไปใช้งาน คลิกที่เครื่องหมาย “จุด 3 จุด” เลือก “Share” ทั้งนี้ สามารถแชร์หนังสือได้ 3 รูปแบบ คือ การแชร์สาธารณะผ่านเว็ปไซต์ การ Download file เป็นดิจิทัลบุ๊ค และ การ Print out ในรูปแบบเอกสาร หลังจากทำการเลือกรูปแบบแล้ว กด “ยืนยัน” ในแต่ละรูปแบบที่เลือก

จะเห็นได้ว่า ในการสร้างหนังสือแบบอินเทอร์แอคทีฟ สำหรับยุคดิจิทัล สามารถทำได้ง่าย และเปลี่ยนรูปแบบงานเดิมๆ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมไปถึงยังเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในการเรียนรู้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish Academy

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish Academy
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
Starfish Future Labz

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

Starfish Future Labz
1441 ผู้เรียน

Related Videos

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
06:40
Starfish Academy

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน

Starfish Academy
369 views • 2 ปีที่แล้ว
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
04:12
Starfish Academy

3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว

Starfish Academy
379 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
8711 views • 9 เดือนที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
4987 views • 9 เดือนที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”