2 คำถามคาใจไม่ตอบไม่ได้นะคะ
ชุดปลดล็อค ปลุกความฝัน ตอนที่ 1
สวัสดีค่ะ นี่เป็นบทความชุดแรก ของนีทเอง ขอแนะนำตัวสักเล็กน้อยนะคะ ชื่อนีท เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ค่ะ เป็นนักจิตวิทยาพัฒนาการ ควบคู่ไปกับการมีน้องชาย ที่เป็นเด็กออทิสติก (แต่ต้องขอกระซิบนิดนึงนะคะว่า น้องชาย เป็นแบบ High function) ค่ะ ดังนั้น สิ่งที่ตนเองอยากจะเขียน คือการเขียนเรื่องราวของน้องชาย และวิธีการเลี้ยงดูโดยคุณพี่คนนี้ แบบเจาะลึกสุดๆ แต่ก่อนที่นีทจะเล่าเรื่องราวของน้องชาย วันนี้นีทอยากจะชวนทุกคนที่ติดตามอ่านบทความนี้ มาร่วมกันตอบคำถาม เพื่อปลดล็อค คำว่า “ข้อจำกัด” กันค่ะ
“ 2 คำถามคาใจ ไม่ตอบไม่ได้นะคะ ”
ในคำถามแรก การเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษแตกต่างจากเด็กทั่วไปไหม?
นีทขอตอบในมุมประสบการณ์ของนีทนะคะว่า “ไม่ต่างมาก”เราต้องคิดแบบนี้ค่ะ สมมติว่าเรามีลูกน้อยมา 1 คน เราอยากเลี้ยงเขาเป็นแบบไหน คำตอบที่ออกมาเร็วๆ คือ ก็อยากให้เขาช่วยตนเองได้ เป็นคนดี อยู่ในสังคมได้ บลาๆ ซึ่งคำถามเหล่านี้ ตัวนีทที่มีน้องชายที่เป็นเด็กพิเศษ ก็คิดไม่ต่างกันค่ะ ดังนั้น วัตถุประสงค์จึงไม่ได้ต่างกันเลย เพียงแต่เราอาจจะต้องใช้ความพยายาม หรือมีขั้นตอนในการเลี้ยงดูมากกว่าเด็กทั่วไปเท่านั้นเอง เช่น การพูด เด็กทั่วไปอาจจะอยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมดา แม่ชวนลูกคุย แล้วลูกก็ค่อยๆ เรียนรู้และพูดได้เอง แต่เด็กพิเศษอย่างน้องชาย ก็จะมีวิธีที่มากขึ้นหน่อยในการฝึกพูด เช่น ไปพบนักบำบัดการพูด มีรูปแบบในการฝึกพูด “ ไม่แตกต่าง แค่ต้องอาศัยขั้นตอน และความพยายามมากขึ้นเท่านั้นเอง ”
คำถามที่สอง คือ เด็ก ๆ จะมีอนาคตที่ดีได้ไหม?
นีทเชื่อว่าไม่ว่าเราจะเป็นใคร คนธรรมดา หรือคนพิเศษ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะฝัน และมีอนาคตที่ดีอย่างเท่าเทียมกันค่ะ เพียงแต่อนาคตของเด็กออทิสติก อาจจะมีอุปสรรคเยอะกว่าเด็กทั่วไปเท่านั้นเอง ซึ่งอุปสรรคไม่ใช่เรื่องที่ทำให้เราต้องยอมแพ้และยอมจำนนนะคะ เพราะถ้านีทและน้องชายยอมจำนนด้วยข้อจำกัด วันนี้น้องชายคงทำงานไม่ได้
นีทจึงอยากชวนทุกคนคิดว่า “ไม่ว่าใครก็มีสิทธิที่จะฝัน มีสิทธิที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระไม่ถูกผูกมัดด้วยข้อจำกัด” เพียงแต่บางครั้งข้อจำกัดมันแก้ไขคนเดียวไม่ได้ จึงต้องมีใครสักคนมีร่วมด้วยช่วยกันจึงสำเร็จค่ะ
บทความใกล้เคียง
ถึงแม้โควิด-19 จะส่งผลให้หยุดอยู่บ้าน แต่พัฒนาการของลูกต้องไปต่อ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสถานการณ์ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม หนึ่งในนั้นคือ “การหยุดอยู่บ้านเพื่อทำงานจากที่บ้าน” การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งถือเป็นการปรับตัวอย่างมากต่อการจัดกิจกรรมก ...
พัฒนาทักษะการคิดของลูกด้วย “วินัยเชิงบวก”

หากกล่าวถึง “การสร้างวินัยให้กับลูก” หลายคนคงนึกถึงการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด มีบทลงโทษเพื่อให้จดจำ เช่น การดุ การตีด้วยมือหรือไม้เรียว เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กรู้สึกเจ็บปวด พวกเขาจะไม่ทำพฤติกรรมเดิมอีก เหมือน “คำสั่ง” ที่พ่อแม่ผู้หวังดีเลือกใช้กับลูกของตัวเ ...
วิถีหล่อๆ แบบคุณผู้ชายตัวหอม

ภารกิจของเช้าวันใหม่ (ภารกิจที่ช่วยให้เขา สามารถเอาตัวรอด และใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป)ตอนที่ 1 วิถีหล่อๆ แบบคุณผู้ชายตัวหอม การใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง คือ สิ่งสำคัญที่คุณหมอมักจะแนะนำให้กับผู้ปกครองของเด็กออทิสติกก็คือ ฝึกฝนให้เด็กได้ลองทำด้ ...