“ กาลผ่าน วันเปลี่ยน แต่เรายังไม่เปลี่ยน ”
ในทุกเช้าที่เราลืมตาขึ้นมาบนโลก เราเคยสังเกตตัวเองหรือไม่ว่า เรากำลังปล่อยกายและใจของเราให้เผลอไผลไปกับสิ่งเร้าต่าง ๆรอบตัว
เรา..มักชื่นชม และยินดี ที่ได้เห็นสิ่งที่สวยงาม สิ่งใดไม่สวย ไม่งาม ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากเชยชม
เรา..อยากฟังแต่เรื่องราวดีดี คำพูดไพเราะ คำชื่นชมที่ทำให้เรามีความสุข สิ่งใดที่ฟังแล้วไม่ถูกใจก็ไม่อยากได้ยิน
เรา..อยากได้กลิ่นหอม ของสิ่งต่างๆรอบกาย ถ้าได้กลิ่นเหม็นเราก็ ไม่อยากได้กลิ่น จะรีบหนีหายจากสิ่งนั้น
เรา..อยากลิ้มชิมรสอาหารอร่อย ถ้าไม่ได้กินก็จะหงุดหงิดกายใจ อะไรที่ไม่อร่อย เราก็ไม่อยากกิน
เรา..อยากสัมผัสต่อสิ่งที่ทำให้กายเราสบาย ถ้ารู้สึกไม่สบายกายก็จะเป็นทุกข์และไม่อยากอยู่กับสิ่งนั้น
ชีวิตเราเวียนวน อยู่กับ คำว่า “อยาก” และ “ไม่อยาก” และจะเวียนวนอยู่อย่างนี้ตลอดไป ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะอะไรนะ เราลองมาศึกษาหาข้อมูลที่เป็นความรู้กัน
มนุษย์เรา มีระบบประสาทสัมผัส เรารับรู้และเรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการรับรู้ในรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส (ธรรมารมณ์) การรับรู้เหล่านี้จะทำให้มนุษย์สร้างระบบความคิด ความเชื่อของแต่ละบุคคลขึ้นมา ว่า ชอบ ไม่ชอบ อยาก ไม่อยาก และใช้เวลาอยู่กับสิ่งนั้นทุกวันคืน ทำให้เกิดความรู้สึก สุข ทุกข์ ตลอดเวลาของชีวิต
ในทางธรรม ทั้งความอยาก และไม่อยากล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น ถ้าเรามีความอยากมาก ก็จะกลายเป็นตัณหา หรือ ความทะยานอยาก ที่จัดเป็นบาปอกุศล ที่เป็นรากเหง้าของ โลภะ โทสะ โมหะ ที่จะครอบงำจิตใจของเรา เป็นต้นเหตุให้เราเกิดความทุกข์ใจ
เราผู้ซึ่งมีภารกิจหลักในการเผยแพร่ พระธรรม ความรู้ จะต้องหาวิธีถ่ายทอดองค์ธรรมนี้ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ถึงแก่นแท้ เพื่อให้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน เราเลือกใช้วิธีการจัดกิจกรรมตามแนวทาง Active Learning และได้นำเครื่องมือที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิด คือ การใช้หลักโยนิโสมนสิการ สร้างให้เกิด กระบวนการคิด การใคร่ครวญ และหาคำตอบของชีวิตหลังจากการทำกิจกรรม สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาคือ
- กระบวนการตามหลักโยนิโสมนสิการ
- การมีสติสัมปชัญญะเป็นแกนกลาง ประกอบด้วย การคิด การพูด การลงมือทำและการเข้าใจตนเอง
- สัมมาทิฐิ การยับยั้งชั่งใจ การใคร่ครวญอย่างมีวิจารณญาณ
- ฉันทะ การมีความเพียร อดทน และใฝ่ที่จะเรียนรู้
ธรรมมงคลที่ 27 เป็นหัวข้อธรรมที่ว่าด้วยการอดทนต่อความอยาก หรือ ตัณหา ที่มีคำกล่าวไว้ว่า “ดูนอก ดูใน ข้างในมันร้อน” เราจึงได้เริ่มออกแบบกิจกรรมและเริ่มทำกิจกรรมกับผู้เรียน ฝักมะขามหวาน พันธ์สีทอง ของดีจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ถูกนำมาใช้เป็นบททดสอบของผู้เรียน ตลอดกิจกรรมจะมีการตั้งประเด็นคำถาม ดังนี้
ตัวอย่าง การจัดกิจกรรม “ดูนอก ดูใน ข้างในมันร้อน”
ขั้น 1 ปลุกสติให้ตื่นใฝ่รู้
ทำไม มนุษย์ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ต้องมีความทะยานอยากดิ้นรน ทำบุคคลให้สะดุ้งหวั่นไหว ก็เพราะอาศัยเหตุปัจจัย? เพื่อให้นักเรียนได้แชร์ความคิดกัน
ขั้น 2 ดำเนินกิจกรรมพร้อมตื่นรู้ประสบการณ์
มีการสร้างเงื่อนไข
1. ให้ ดู ก่อนว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร? (ดูลักษณะของฝักมะขาม)
2. ให้ ดม
3. ให้ จับ(สัมผัส) (บีบได้ ขยี้ได้ เบาๆ) ผู้สอนสอบถามว่าเกิดสภาวะอะไรในร่างกาย? ให้เห็นความเบื่อเพราะอยากกินแต่ไม่ได้กิน *ถ้าไม่ได้กินรู้สึกอย่างไร?
4. ให้ เอาปลายลิ้นแตะ ผู้สอนสอบถามว่าเกิดสภาวะอะไรในร่างกาย? ตอนวัยเด็กเราจะเอา จะทานแต่ พ่อ-แม่ไม่ตามใจซื้อให้เรามีวิธีจัดการอย่างไร?
5. ให้ กัดเป็นคำจนหมด แล้ว ต้องอมไว้ในปาก ห้ามกลืน
6. ให้ เคี้ยวต่อ ประมาณ 3 นาที ห้ามกลืน
ขั้นที่ 3 สะท้อนการตื่นรู้อย่างมีสติ
ถอดบทเรียน โดยให้คำถาม
1. เมื่อเราได้เห็น ได้ดม ได้จับ เกิดสิ่งใดหรือรู้สึกอย่างไรในตัวเรา?
2. เมื่อได้ กัด เคี้ยว แล้วยังไม่ให้กลืนอีกจนกว่าจะครบเวลานั้น รู้สึกอย่างไรในขณะนั้น ?
3. ได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้ แล้ว ถ้าเจอในชีวิตจริงผู้เรียนจะจัดการกับสภาวะอารมณ์นั้นอย่างไร?
ขั้นที่ 4 สรุปการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลง
ให้แต่ละกลุ่มมาสะท้อนถึงความรู้สึกที่ได้ทำกิจกรรม
ขั้นที่ 5 นำสู่การการประยุกต์ใช้
ให้แต่ละกลุ่มนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งติดตามผล โดยให้กลุ่มเป็นผู้ประเมินและติดตามแล้วนำมาแชร์กันในชั่วโมงเรียนว่าแต่ละคนมีการพัฒนาการกันอย่างไร และรวบรวมเป็นงานสำรวจวิจัยเพื่อเป็นโครงงานต่อไป
Related Courses
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน
หลักสูตรสำหรับครูที่ต้องการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกิจกรรมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ ...
การเรียนรู้ในห้องเรียนสำหรับนักสร้างสรรค์และการประเมินผู้เรียนด้วยแฟ้มสะสมงาน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ PBL
การจัดประสบการณ์แบบโครงงานจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน ผ่านการวางแ ...
Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...