เปิดโลกจินตนาการ สร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านกิจกรรม Makerspace สู่ห้องเรียนแห่งอนาคต ที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนทุกคน ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และลงมือทำจริง เพื่อพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ สร้างแรงบันดาลใจให้กล้าคิด กล้าทำ และพร้อมที่จะก้าวไปสู่โลกแห่งอนาคตได้อย่างมีความสุข
จากที่ได้พูดคุยกับคุณครูนั้น ครูปูได้เล่าแบ่งปันถึงการจัดกิจกรรม คือ ทางโรงเรียนได้วางรูปแบบการจัด Makerspace ในกิจกรรมบูรณาการท้องถิ่น (กิจกรรมเสริมทักษะ) ร่วมกับกิจกรรมของชุมนุม มีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยแบ่งกิจกรรม Makerspace ออกเป็น 6 ห้อง ได้แก่ ห้อง Cooking, ห้องตัดเย็บ, ห้องช่าง, ห้องสตูดิโอ, ห้องการแสดง และห้องศิลปะ ซึ่งในลักษณะการเข้าใช้แต่ละห้องนั้น ทางโรงเรียนได้มีการวางตารางไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกทำกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย
ครูปูยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการนำ Makerspace มาใช้นั้น แน่นอนว่าได้สร้างประโยชน์ให้กับโรงเรียนหลายด้านเลย โดยเฉพาะในด้านของนักเรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครอง ซึ่งครูปูก็ได้ให้รายละเอียดของแต่ละด้าน ดังนี้
ด้านนักเรียน
Makerspace ช่วยในการพัฒนานักเรียนที่เห็นได้ชัด 3 ด้าน คือ
1. นักเรียนได้เรียนรู้การคิดอย่างมีเหตุผล มีประสบการณ์จากการได้ทดลอง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการลงมือปฏิบัติจริง ช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดเพื่อให้สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์
2. Makerspace ช่วยสนับสนุนการทำงานกลุ่ม ซึ่งทำให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
3. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานผ่านกระบวนการ โดยไม่จำกัดแค่ทฤษฎีเท่านั้นแต่ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทดลองจริงในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและสนุกสนาน
ด้านครูผู้สอน
Makerspace ส่งเสริมให้ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนเป็นนักคิด และสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเองผ่านกระบวนการ STEAM Design Process โดยบทบาทของครูมีดังนี้
1. ครูมีโอกาสสร้างบทเรียนที่มีความสนุกสนาน และหลากหลายรูปแบบ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น
2. ครูได้คิดค้นวิธีการสอนที่หลากหลายและสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน นอกจากนั้นครูยังได้ใช้ Starfish Class ในการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริงด้วย
3. ครูสามารถจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้จากหลากหลายวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังได้มีการบูรณาการกับวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างลงตัว เช่น งานยี่เป็ง ซึ่งเป็นกิจกรรมลอยกระทงของภาคเหนือ สังเกตได้ว่า กระทงของนักเรียนมีความแตกต่างจากปีที่ ผ่าน ๆ มา เพราะนักเรียนได้ออกแบบกระทงที่มีความหลากหลายและไม่เหมือนใคร เน้นวัสดุเหลือใช้ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ปกครองที่ได้มาร่วมกิจกรรมอย่างเห็นได้ชัด
ด้านผู้ปกครอง
ผู้ปกครองเห็นว่าลูก ๆ ได้เรียนรู้จากการลงมือทำ ทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ที่สำคัญได้เห็นพัฒนาการของลูกในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และทักษะทางเทคโนโลยี
ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้านและโรงเรียน ซึ่งผู้ปกครองให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเป็นอย่างดีและเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้
ครูปูยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ถึงแม้ Makerspace จะช่วยให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการที่เป็นระบบขั้นตอน แต่ในการจัดการเรียนการสอนก็ย่อมมีอุปสรรคเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การบริหารจัดการเวลา และการประเมินผลที่หลากหลาย ดังนั้นการเตรียมความพร้อมจึงจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ และสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง ใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการจัดสรรเวลาให้ชัดเจน และเพิ่มการฝึกอบรมครูให้มีทักษะที่เหมาะสม เพื่อให้การเรียนรู้ของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
ครูปูมองว่า Makerspace ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่สนุกสนานและเต็มไปด้วยความท้าทาย เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีพื้นที่ในการทดลองและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ช่วยเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิต และเติบโตเป็นผู้มีทักษะที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีความสุข
Related Courses
เสริมทักษะการคิด รับมือกับวิกฤตอากาศด้วย Makerspace
ผู้เรียนในช่วงอายุ 13-18 ปี เรียนรู้และเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนทั่วโลก เรา ...



เสริมทักษะการคิด รับมือกับวิกฤตอากาศด้วย Makerspace
ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ 6 ปัจจัยการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียน ในแบบฉบับ Booklet เช็คลิสต์ 8 วิธีออกแบบกิจ ...



ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม
Micro Learning หลักการเขียนภาษาไทย ป.4-6
หลักการเขียนภาษาไทย ป.4-6 เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบของ Micro Learning เรื่อง คำขวัญนำใจ ย่อความจากนิทาน และเขียนเ ...



Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...



Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Related Videos


แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA


Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

