ในสมัยก่อนการสร้างเกมนั้นยังมีขนาดเล็ก และสามารถใช้คนคนเดียวในการสร้างเกมได้
สิ่งที่ต้องเรียนรู้ การเขียนโปรแกรมต่างๆ ภาษาในการเขียนโปรแกรม เช่น assembly, c เป็นต้น
และอาจต้องมีความสามารถในการวาดรูป ทำพิกเซลอาร์ต แต่งเพลง สร้างเสียงประกอบได้ด้วย
สำหรับในปัจจุบันการสร้างเกมนั้น ไม่สามารถทำคนเดียวได้อีก เนื่องจากเกมมีขนาดใหญ่มาก ดังนั้นเราจึงแบ่งหน้าที่กันทำงาน
โดยคร่าวๆ ดังนี้
1. หน้าที่นักออกแบบเกม สำหรับ การออกแบบเกม
- เรียนรู้เกี่ยวกับกลไกของเกม (game mechanics)
- เรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของเกมต่างๆ เช่น การต่อสู้(fighting) การผจญภัย(adventure) ปริศนา(puzzle) ฯลฯ
- เรียนรู้เกี่ยวกับออกแบบด่าน (level design)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบตัวละคร (character design) การออกแบบเนื้อเรื่อง (storytelling)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบ UI/UX (User Interface/User Experience)
2. หน้าที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์เกม และการเขียนโปรแกรม
- เรียนรู้ภาษาโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างเกม เช่น C++, C#, Java, Python
- เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เอนจิ้นเกม (game engine) ยอดนิยม เช่น โปรแกรม Unity, Unreal Engine, Godot เป็นต้น
- เรียนรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆ ที่ใช้สนับสนุนในเกม เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), ระบบฟิสิกส์ (Physics), สร้างใช้คำสั่งเล่นเสียง (Sound) ต่างๆ
3. หน้าที่นักพัฒนากราฟิก สร้างกราฟิก
- เรียนรู้เกี่ยวกับ 2D หรือ 3D graphics ขึ้นอยู่กับประเภทเกม
- เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสร้างโมเดล 3D เช่น Blender, Maya
- เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมวาดภาพ 2D เช่น Photoshop, GIMP
4. หน้าที่นักแต่งเพลง และ เสียง
- เรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบเสียง (sound design)
- เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมตัดต่อเสียง เช่น โปรแกรม Audacity, Adobe Audition
5. ฝ่ายสนับสนุน เช่น ผู้บริหารโปรเจกต์เกม และ ฝ่ายสนับสนุนเครื่องมืออื่นๆ
- เรียนรู้เกี่ยวกับ Git, เวอร์ชันควบคุม (version control)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการโปรเจ็กต์ (project management)
- เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารทีมงาน การหาแหล่งเงินทุน
จะเห็นได้ว่า กว่าจะได้เกมสนุกๆ ที่เราเล่นกันนั้น มีหน้าที่หลายตำแหน่งในการพัฒนาเกมเลย
ซึ่งอาจใช้คนตั้งแต่ 2-3 คน ไปจนถึง 400-500 คน ก็ได้ แล้วผู้อ่านอยากทำหน้าที่ตรงส่วนไหนของการสร้างเกม
คำแนะนำ:
ในการสร้างเกมนั้น ถ้าจะเริ่มต้น ควรเริ่มต้นจากเกมง่ายๆ ก่อน เรียนรู้ทีละขั้นตอน ฝึกฝนบ่อยๆ มีความอดทน ตั้งใจ พัฒนาฝีมือ หาแรงบันดาลใจจากเกมอื่นๆ
Related Courses
Micro Learning การฟื้นฟูภาวะถดถอยด้วยการช่วยเหลือผู้เรียน
การเรียนรู้ที่ถดถอยจะหายไป หากได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากผู้มีความชำนาญ และการสร้างความร่วมมือผ่านการเรียนรู้ของคณะ ...



Micro Learning การฟื้นฟูภาวะถดถอยด้วยการช่วยเหลือผู้เรียน
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
การสอนภาษาไทยผ่านกระบวนการ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหลากหลายรูปแ ...



เทคนิคสอนภาษาไทยแบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA) ฉบับครูมัธยม
Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
แนวทางการดูแลรักษาเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะสมาธิสั้น ต้องผสมผสานการรักษาหลายวิธี ถ้าเด็กได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้ ...



Micro Learning ห้องเรียนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กสมาธิสั้น)
Related Videos


ประสานความร่วมมือ ก้าวไปสู่ความสมบูรณ์แบบและมีคุณภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA

