สอนภาษาไทยเริ่มต้นดีมีเทคนิค

ภาษาไทยเป็นวิชาทักษะที่ผู้เรียนต้องได้รับการฝึกฝนในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง ฉะนั้นการใช้เทคนิคการเรียนรู้ทางด้านภาษาถือได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่าย เข้าใจรวมทั้งสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและในครั้งนี้จะเป็นการแบ่งปันเทคนิคดีๆในการสอนภาษาไทยที่จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกและรักในการเรียนรู้วิชาภาษาไทยยิ่งขึ้น
เทคนิคเรื่องแรกที่เด็กควรรู้ และครูเริ่มสอนภาษาไทย
1. พยัญชนะไทย สอนให้เด็กรู้จัก “พยัญชนะไทย” โดยวิธีการ กิจกรรม หรือสื่อการสอนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพลง คลิปวิดีโอ บัตรพยัญชนะ สื่อออนไลน์ หรือเกมเพื่อช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็กได้รู้จัก เข้าใจและจดจำพยัญชนะไทยได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. การฝึกลีลามือ เป็นการฝึกการจับอุปกรณ์การเขียนของเด็กในแต่ละช่วงวัย ตั้งแต่การใช้นิ้วมือ สีเทียนลากเส้นหรือระบายสี เพื่อเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง สร้างความคุ้นเคย และการจดจำในการเชื่อมโยงถึงการฝึกเขียนต่อไป
3. การฝึกเขียนพยัญชนะที่ถูกต้อง โดยการใช้สมุด ใบงาน หรือแบบหัดเขียนพยัญชนะไทยตามหลักตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นการฝึกให้เด็กจดจำและเขียนพยัญชนะไทยได้อย่างถูกวิธี
4. ฝึกออกเสียงพยัญชนะ สอนให้เด็กจดจำพยัญชนะผ่านการออกเสียงโดยการใช้เทคนิคแยกอักษร 3 หมู่ คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ ควบคู่กับการฝึกเขียนพยัญชนะตามที่ครูบอก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และจดจำพยัญชนะนั้น ๆ
5. ฝึกอ่านประสมสระ โดยเริ่มจากสระเสียงยาวก่อน ได้แก่ สระอา สระอู สระอี ฯล ผ่านสื่อการสอนในรูปแบบการแสดงท่าทางประกอบเพลงการใช้บทกลอน บทเพลง หรือบัตรคำประกอบรูปภาพเพื่อให้เด็กเกิดการจดจำพยัญชนะและสามารถจินตนาการความหมายของคำ ๆ นั้นได้
6. การใช้วรรณยุกต์ เป็นการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำที่ประกอบด้วยพยัญชนะกับสระ เพื่อแยกความหมายของคำ ซึ่งเด็กจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้และผันวรรณยุกต์ เริ่มแรกครูอาจจะทำการสอนในเรื่องของไตรยางค์ การสอนผันวรรณยุกต์ 5 เสียงตามอักษร 3 หมู่ เพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ แม่นยำ และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
7. ตัวสะกด เป็นการสอนให้เด็กรู้จักแต่ละมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา ได้แก่ แม่กก แม่กง แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกย และแม่เกอว และมาตราตัวสะกดตรงมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
8. ฝีกเขียน เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน เน้นทำบ่อยๆ แต่ในการฝึกเขียนนั้นครูสามารถใช้เทคนิคอื่น ๆ ควบคู่ได้ เช่น การเขียนตามคำบอก แบบฝึกเสริม ฯล เป็นต้น
เห็นได้ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความละเอียด ซับซ้อนและสละสลวย ฉะนั้น การสอนภาษาไทยอาจจะต้องอาศัยเทคนิควิธีการในการฝึกฝนแต่ละขั้นตอนจากง่ายไปสู่ระดับที่ยากขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ แม่นยำและการนำไปใช้ที่ถูกวิธีได้
Related Courses
สำนวนภาษาอังกฤษคูล ๆ ฉบับนำไปพูดได้เลย
อยากใช้ภาษาสวย สื่อสารเป็นธรรมชาติ เข้าใจวลีเด็ดสำนวนดังเพื่ออัพสกิลให้การสื่อสารภาษาอังกฤษของเราและสามารถสร้างความ ...



การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...



สื่อไอซีทีง่ายๆด้วย Google Sheet
เรียนรู้การใช้ Flippity สร้างการสร้างเกมจับคู่, เกมแผ่นป้ายปริศนา, เกมล่าสมบัติ และเกมเกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น Hangman, C ...



การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...



Related Videos
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)

Starfish Country Home School Foundation [ENG]


Everyone Can Code - ใคร ๆ ก็เขียนโค้ดได้ผ่านชมรม Swift Coding Club ครั้งที่ 3

