การสอนของครูสู่ผลลัพธ์ของผู้เรียนตามเกณฑ์ วPA

Starfish Academy
Starfish Academy 22600 views • 1 ปีที่แล้ว
การสอนของครูสู่ผลลัพธ์ของผู้เรียนตามเกณฑ์ วPA

เมื่อการเรียนรู้ยุคสมัยใหม่ได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ท้าทาย ครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพัฒนาวิธีการสอนให้มีความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ผู้เรียนอย่างแท้จริงซึ่งเป็นไปตามตามเกณฑ์ ว9/2564 หรือ วPA ที่ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินที่มุ่งเน้นทักษะการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning ซึ่งมีทั้งตัวชี้วัดหลักและย่อยในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้และตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในด้านที่ 2

สำหรับด้านการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนในรูปแบบ Active Learning ประกอบด้วย 8 ตัวชี้วัดหลักและย่อยดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน ประกอบด้วย เนื้อหา (Content) หรือมโนทัศน์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝนมีความถูกต้องและตรงตามหลักสูตรออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสมใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียนและบันทึกหลังการสอน   

ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ ประกอบด้วยมีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คำถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิมไม่เพียงพอที่จะเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คำถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ และบันทึกหลังการสอน

ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ ประกอบด้วยออกแบบงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่อย่างเหมาะสมกับวัย สภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลายใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ และบันทึกหลังการสอน

ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวันบริบทชุมชนหรือสภาพจริงของผู้เรียนวิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัยสภาพและพัฒนาการของผู้เรียนผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้นำเสนอความสำเร็จหรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้นและบันทึกหลังการสอน

ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้ ประกอบด้วยผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ และบันทึกหลังการสอน

ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ ประกอบด้วยมีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้ มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถาม แบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ มีการนำผลการสังเกตหรือผลการค้นหาหรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียนและบันทึกหลังการสอน

ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม ประกอบด้วย ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออกและเจตคติจากครูผู้สอน กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลองและรับรู้ความสามารถของตนเองใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลายและกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบจากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้นและบันทึกหลังการสอน

ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกํากับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนําตนเอง ประกอบด้วย ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียนผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝนหรือเรียนรู้ต่อเนื่องเพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียนและบันทึกหลังการสอนสำหรับด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนแบ่งเป็น 4 ตัวชี้วัดหลักและย่อย ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู ประกอบด้วย เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียนสอดคล้องกับสภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียนเกิดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียนไม่ใช่ผลงานหรือผลการปฏิบัติของครูเหมาะสมคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ ทักษะการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเรียนหรือการฝึกความคล่องแคล่วหรือความชำนาญหรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติและทักษะการออกแบบและการวางแผน

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย ความยืดหยุ่นในการคิดหรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะและกระบวนการคิดเชิงระบบ

ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – function Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน ประกอบด้วย ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์การกำกับตนเอง การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากร การจัดการทีมทำงาน ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ และทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลาย การแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อนหลายระดับ เห็นได้ว่าองค์ประกอบสําคัญในการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ วPA คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้อง 8 ตัวชี้วัดเพื่อเป็นแนวทางในการกําหนดกรอบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนอันนำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5794 ผู้เรียน
ทักษะสําคัญแห่งโลกอนาคต
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1781 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1000 ผู้เรียน

Related Videos

STARFISH TALK EP11    ผู้บริหารกับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน
01:29:54
Starfish Academy

STARFISH TALK EP11 ผู้บริหารกับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน

Starfish Academy
152 views • 1 ปีที่แล้ว
STARFISH TALK EP11 ผู้บริหารกับบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน วPA ในโรงเรียน
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
01:10:44
Starfish Academy

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

Starfish Academy
673 views • 1 ปีที่แล้ว
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
01:42:05

ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA

217 views • 8 เดือนที่แล้ว
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA
01:22:54
Starfish Academy

คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA

Starfish Academy
1608 views • 1 ปีที่แล้ว
คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA