เรื่องของสุขภาพจิต “ใครคิดว่าไม่สำคัญ” สุขภาพจิต สุขภาพใจ ในสถานศึกษาทั้งครูและนักเรียนที่ใครก็ไม่ควรมองข้าม

นางสาววินัฎฐา นันตะสุข
นางสาววินัฎฐา นันตะสุข 1700 views • 9 เดือนที่แล้ว
เรื่องของสุขภาพจิต “ใครคิดว่าไม่สำคัญ” สุขภาพจิต สุขภาพใจ ในสถานศึกษาทั้งครูและนักเรียนที่ใครก็ไม่ควรมองข้าม

สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจของแต่ละคน โดยธรรมชาติแล้วจะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บุคคล และสังคมได้ด้วยดี หากสุขภาพจิตได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ หรือมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ นั่นคือสิ่งที่ควรต้องให้ความใส่ใจ สังเกต และเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งการพูดคุยในครั้งนี้ เป็นการแชร์ประสบการณ์จากเพื่อนครูเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตในสถานศึกษาที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและสร้างพลังการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ

สุขภาพจิต (Mental Health) หมายถึง ภาวะจิตใจที่เป็นสุข สามารถปรับตัวแก้ปัญหา สร้างสรรค์ทำงานได้ มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น การที่เราจะมีสุขภาพจิตที่ดีได้ต้องเริ่มต้นจากการรักตัวเอง หรือที่เรียกว่า “Self-Love” เป็นสภาวะที่มองเห็นคุณค่าภายในตนเอง ซึ่งเกิดจากการกระทำที่สนับสนุนการเติบโตทางร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณรวมถึงความตระหนักรู้ภายในตนเอง (Self-Awareness) เป็นการตระหนัก รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วหรือกำลังเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ ความคิด การรับรู้ทางร่างกาย เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่จะทำให้มองเห็นตัวเองได้ชัดเจน หรือรู้เท่าทันตัวเองมากขึ้น

สุขภาพจิต สุขภาพใจในโรงเรียนที่ไม่ควรมองข้าม

เด็กในวัยเรียนมักจะพบปัญหาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเรียน เช่น ไม่มีสมาธิ ไม่อยากเข้าเรียน เรียนไม่ทัน การเรียนร่วมกับเพื่อนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ด้านพฤติกรรม เช่น การติดเกม พฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือด้านปัญหาทางอารมณ์ของวัยรุ่น เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว เป็นต้น ฉะนั้น การรับมือส่งเสริม ป้องกัน และจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และสามารถทำได้โดยเริ่มต้นจากความเข้าใจ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีการสร้างกำลังใจ และฝึกการจัดการปัญหาให้เด็กตามสมควร อาทิเช่น

1. ด้านการเรียน กรณีเด็กไม่อยากเข้าเรียนหรือเข้าเรียนแล้วไม่สนใจการเรียนในบางรายวิชา ครูอาจจะต้องทำความเข้าใจ สังเกตพฤติกรรมของเด็กที่มีต่อวิชาหรือครูผู้สอน และสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับเด็กมากขึ้น หรือกรณีการเรียนร่วมกับเด็กที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ สิ่งที่โรงเรียนทำได้คือ เมื่อครูประจำวิชาสังเกตเห็นว่าความสนใจของเด็กที่มีต่อการเรียนลดลง ไม่มีสมาธิ จดจ่ออยู่กับมือถือ ส่งผลให้การเรียนรู้ของเด็กไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม ครูผู้สอนอาจจะต้องทำการบันทึกข้อความผ่านงานวิชาการ เพื่อประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการวางแผนปรับพฤติกรรมเด็กต่อไป

2. ด้านพฤติกรรมและอารมณ์ เด็กในช่วงวัยรุ่นมักมีอารมณ์ที่ค่อนข้างอ่อนไหว รุนแรง และเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำให้ยังไม่สามารถจัดการกับอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมาได้ดีมากนัก เช่น การแสดงพฤติกรรมอย่างหนึ่งเพื่อต้องการกลบเกลื่อนพฤติกรรมบางอย่าง หรือไม่แสดงอาการ (ดื้อเงียบ) หรือการแสดงอารมณ์ก้าวร้าว โมโห เป็นต้น ฉะนั้น ครูอาจจะต้องใส่ใจรายละเอียดเกี่ยวกับเด็กให้มากขึ้น การพูดคุย รับฟังและเข้าใจความรู้สึกของเด็กด้วยวิธีการสื่อสารเชิงบวก (I-Message) เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจ เปิดใจรับฟัง และไม่เกิดการต่อต้านด้วยอารมณ์ ตลอดจนสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ด้วยวิธีการที่ครูบอกความรู้สึกของตนเอง และความต้องการว่าต้องการให้เด็กทำอย่างไร ถามความคิดเห็นของเด็ก และกล่าวขอบคุณหรือคำชมเชยเมื่ออีกฝ่ายทำตาม การให้เด็กมีตัวเลือก (Choice) ในการตัดสินใจการใช้ชุดเครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนสุขภาพจิตในสถานศึกษา “การเดินทางบนเกาะปลาวาฬ” หรือแบบวัด แบบประเมินด้านสุขภาพจิต เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจและจัดการตนเองได้

เห็นได้ว่า เรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดีย่อมมีจิตใจที่เข้มแข็งและสามารถรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตได้

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

ภาษาและการสื่อสาร
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
Future Ready
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

มาเตรียมความพร้อมกับการเป็นครูในยุคใหม่ ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นสายอาชีพครู หรือผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วมาร่วมอัปเดตทักษะที่ครูยุคใหม่จะ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี
Starfish Academy

เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:30 ชั่วโมง

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA
01:17:25
Starfish Academy

วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA

Starfish Academy
807 views • 4 เดือนที่แล้ว
วิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ สู่ครูเชี่ยวชาญตามเกณฑ์ วPA
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
429 views • 10 เดือนที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
01:10:44
Starfish Academy

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

Starfish Academy
433 views • 8 เดือนที่แล้ว
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
PA Live Talk ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร
01:12:42

PA Live Talk ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร

27 views • 8 วันที่แล้ว
PA Live Talk ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร