"ความท้าทาย โอกาส และความสำเร็จ"
ในการขับเคลื่อน วPA ซึ่งเป็นแนวทางการประเมินรูปแบบใหม่ทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการทำให้พบปัญหาในด้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่งคุณครูต่างก็พบเจอแล้วแต่สถานการณ์นั้นๆ ดังนั้นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนคือบุคลากรทุกคนจะต้องเข้าใจว่า วPA คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุพันธกิจและความสำเร็จขององค์กร โดยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินและกิจกรรมตัวชี้วัดต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าสอดคล้องกับตำแหน่งและภาระงาน รวมถึงจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นๆโดยมีจุดมุ่งหมายในการประเมินที่ชัดเจน วPA จึงถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น และยังเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จขององค์กรได้อย่างดี
การขับเคลื่อนการพัฒนางานตามประเด็นท้าทายสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการขอมีหรือการขอเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ ว 9 คุณครูจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำข้อตกลงการพัฒนางาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะและภาระงานที่กำหนด สำหรับการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นและคุณครูจะต้องศึกษาและเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน วิธีการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตาม ว PA เพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน และคงวิทยฐานะตามมาตรา 55 นั่นเอง ซึ่งในแต่ละโรงเรียนก็จะมีวิธีการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือกัน เช่นตั้งกลุ่มให้ความช่วยเหลือเป็น “คลินิก วPA”เพื่อสร้างความเข้าใจการเพิ่มเติมเสริมความรู้ และการช่วยเหลือในเรื่องเอกสารในการดำเนินการประเมินเพื่อที่จะจับมือไปพร้อมๆกันในการประเมินไปสู่ความสำเร็จมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจากหัวหน้ากลุ่มสาระเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนการประเมิน ในเรื่องของคุณสมบัติของผู้ประเมิน การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นต้นเป็นครูช่วยครู เป็นแม่ข่ายครูท่านไหนที่ผ่านการประเมินแล้วต้องคอยมาเป็นครูพี่เลี้ยงมาช่วยเหลือ PLC (Professional Learning Community) คือ การที่ครูทุกคนได้มาแบ่งปันแนวคิดเพื่อช่วยเหลือครูด้วยกันในการประเมินจนทุกคนสามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเองได้กลายเป็นเครือข่ายที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในโรงเรียน
คุณครูที่เข้ารับการประเมินต้องตระหนักอยู่เสมอว่าเกณฑ์ใน ว 9/2564 ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลผลิต (output) แต่ให้ความสำคัญกับการนำผลผลิตไปใช้และดูว่าผลการนำไปใช้จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (outcome) อย่างไร ซึ่งผลลัพธ์นี้เป็นผลลัพธ์ที่เกิดกับ ผู้เรียนนั่นคือ ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ มีทักษะ มีเจตคติที่ดี มีความคิดอันจะส่งผลต่อพฤติกรรม หรือ คุณลักษณะตามจุดประสงค์ของหลักสูตรนั่นเองซึ่งการประเมินผลการปฏิบัติงาน (PA) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการเปลี่ยนผ่านทางการศึกษาที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนเป็นอย่างยิ่งซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ครูผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจกับหลักเกณฑ์เหล่านี้เพื่อให้ปฏิบัติตามได้ถูกต้องและส่งผลดีต้องการปฏิบัติงาน
ดังนั้น การในการประเมิน PA ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากเนื่องจากเป็นงานที่ทำอยู่แล้วแต่จะต้องส่งผลลัพธ์ต่อผู้เรียนทั้ง 3 องค์ประกอบคือ พุทธิพิสัย ทักษะวิสัยและจิตพิสัย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่จะส่งผลต่อนักเรียนจะทำให้การประเมินประสบความสำเร็จได้ จนสามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตต่าง ๆ ไปได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตต่อไป
วิดีโอใกล้เคียง
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA
ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
คอร์สใกล้เคียง
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ