แรงบันดาลใจจากวันที่ไม่ผ่าน วPA สู่ความสำเร็จในวันนี้
ในการดำเนินการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ (PA) ต้องทำออกมาให้ดี ต้องทำด้วยความมุ่งมั่นและความตั้งใจ ทุกสิ่งสามารถทำได้ เพื่อรับแรงบันดาลใจและแนวทางในการเดินทางสู่ความสำเร็จ แต่ก็มีคุณครูหลายๆท่านที่ไม่สำเร็จ หลายคนก็มีข้อสงสัย ว่าทำอย่างไรถึงจะผ่าน ดังนั้นการสร้างแรงบันดาลใจ จากวันที่ไม่สมหวัง ไม่ผ่านการประเมินครั้งแรก จะต้อง สร้างความมั่นใจ สร้างพลังใจในการก้าวต่อไปในการพัฒนาตัวเองให้สำเร็จ
ประสบการณ์ของครูที่ไม่ผ่าน วPA ครั้งแรก อันดับแรกคุณครูจะต้องรีบลุกขึ้นมาสู้อย่างรวดเร็ว นั่นคือการไม่ยอมแพ้ต่อตัวเอง เอาแรงของความผิดหวัง ความผิดพลาดของตนเองมาเป็นกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป อยากจะพิสูจน์ว่าตนเองยังจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อยู่หรือไม่ กลายเป็นแรงผลักดันในการกลับมาสู้ใหม่ แต่ก่อนอื่นต้องรีบกลับมาตั้งหลักโดยการกลับไปอ่านคอมเมนต์ของกรรมการประเมินว่าเรามีข้อบกพร่องอะไรบ้างแล้วกลับมาปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาตัวเองและพัฒนานักเรียน ซึ่งหลังจากที่เราไม่ผ่านการประเมินเราต้องกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราพลาดตรงไหน? เมื่อตรวจสอบแล้วตั้งสติจึงได้รู้ว่าข้อผิดพลาดเกิดขึ้นกับตัวเองเมื่อรู้สึกผิดหวังหรือท้อแท้ ต้องรีบหากำลังใจมาจากคนที่เรารัก เช่น มาจากครอบครัว เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้างที่ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะทำให้เราเกิดแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดี เมื่อไม่ผ่านการประเมินจะเกิดเป็นแรงกระแทก คุณครูจะต้องสร้าง Mindset ที่ดีในการพัฒนาตนเอง โดยการเปิดใจรับฟังข้อชี้แนะของคณะกรรมการนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองในการกลับมาต่อสู้ใหม่อีกครั้ง
ในการประเมินที่ไม่ผ่านจะได้รับคำแนะนำหรือข้อคอมเมนต์ของคณะกรรมการ คุณครูจะต้องรีบเอามาดูอย่างละเอียดทุกตัวชี้วัดว่ามีข้อบกพร่องจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์ วPA สิ่งที่สำคัญคือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ 8 ตัวชี้วัดและเหมาะสมกับผู้เรียน สื่อการสอนที่หลากหลาย และการวัดประเมินผลที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นเองยกตัวอย่างประเด็นที่กรรมการคอมเมนต์แยกออกเป็นด้านๆได้ ดังนี้ คือ
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน แยกเป็นข้อๆได้ดังนี้
1.เนื้อหาไม่ตรงตามหลักสูตร
2.การบันทึกหลังสอนไม่แสดงถึงปัญหา ไม่ได้แจ้งว่าบรรลุวัตถุประสงค์
3.การออกแบบที่กิจกรรมที่ผู้เรียนไม่ได้สรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง และ 4.กิจกรรมไม่ตรงตามแผนการจัดการเรียนรู้
ด้านที่2 ด้านผลลัพธ์การจัดการเรียนรู้คือ
1.ผลการปฏิบัติของผู้เรียนไม่สะท้อนการจัดการเรียนการสอนของครู
2.ผู้เรียนขาดผลงานหรือผลการปฏิบัติที่สะท้อนถึงการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และ
3. ผู้เรียนขาดทักษะเฉพาะทางและทักษะการจัดการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
จุดสำคัญที่มาปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ในรอบที่สองให้ผ่านการประเมิน นอกจาการที่ต้องปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่คณะกรรมการได้ให้ข้อคิดเห็นแล้วจะต้องดำเนินการที่จะต้องยึดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจะต้องส่งผลทั้ง 3 องค์ประกอบคือ พุทธิพิสัย ทักษะวิสัย และจิตพิสัย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อนักเรียน และดำเนินการตามแผนปฏิบัติ จนสามารถนำปัญหามาเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อเสริมให้ผลสัมฤทธิ์ของเด็กมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นข้อดีของการเป็นครูนั้นมีมากกว่าการเป็นอาชีพเมื่อคุณครูประเมินไม่ผ่านคุณครูจะต้องเข้มแข็งและต้องรีบลุกขึ้นมาใหม่ในการเริ่มต้นอีกครั้งเพื่อวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าทำไมเรามีข้อบกพร่องหรือมีปัญหาอะไร เมื่อทราบปัญหาแล้วสิ่งที่สำคัญจะต้องสร้างทัศนคติเชิงบวกที่ถูกต้อง จนกลายเป็นแรงบันดาลใจในการรีบดำเนินการพัฒนาตัวเองพัฒนางานเพื่อให้ผ่านการประเมินนี้ไปให้ได้เพื่อสร้างความมั่นใจกำลังใจให้ตัวเองผ่านเรื่องราว และประสบความสำเร็จได้จนสามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตต่าง ๆ ไปได้เพื่อให้ตนเองได้ใช้ศักยภาพของตนได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตต่อไป
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่ • FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz • FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019 • YOUTUBE : Starfish Labz Channel
วิดีโอใกล้เคียง

ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA


คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA


เทคนิคการเชื่อมโยงด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ให้ร้อยรัดกัน


ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
คอร์สใกล้เคียง
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...



เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model เป็นแนวทางสำคัญของครูที่จะช่วยลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรี ...



Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
สอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
คุณครูไม่ต้องกังวลใจไป เมื่อมีการประกาศเกณฑ์ในการประเมินวิทยฐานะใหม่ (วPA) มาเตรียมตัวให้พร้อมกับการประเมินวิทยฐานะ ...



สอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
บทความใกล้เคียง
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ

10 นวัตกรรม Highlight จากครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ Season 3

Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
