เทคนิคการเชื่อมโยงด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 ให้ร้อยรัดกัน
การตอบโจทย์ วPA ให้ได้ผลการประเมินผ่านที่สำคัญที่สุด คือการเชื่อมโยง ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ของผู้เรียน ให้สอดคล้องและร้อยรัดกันอย่างมีมิติ ต้องมีการเชื่อมโยงด้านที่1และด้านที่ 2 เข้าด้วยกันอย่างดี อย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีและสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
ในการประเมิน วPA สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ครูพึงปฏิบัติในการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ ซึ่งจะต้องให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับเด็กจริง สามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เป็นปัญหาคืออะไร ดำเนินการอย่างไร มีระยะเวลาแค่ไหน และสิ่งที่คาดหวังหรือสิ่งที่จะดำเนินต่อไป ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการจัดทำแผนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อนักเรียน และดำเนินการตามแผนปฏิบัติ กรณีที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ สามารถนำปัญหามาเป็นประเด็นท้าทาย เพื่อเสริมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีและมีมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเขียนแผนที่ดี มีคุณภาพ สอดคล้องกับตัวชี้วัดทั้ง 8 ตัวชี้วัด จนสามารถที่จะตอบโจทย์ของการประเมิน วPA ได้อย่างมีคุณภาพ ความท้าทายของคุณครูในการประเมินรูปแบบใหม่จะต้องเรียนรู้ในสิ่งใหม่อย่ายึดติดกับรูปแบบเก่า หรือกรอบเดิมๆในการประเมินเพราะในการประเมิน วPA ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากเป็นงานที่ทำอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญจะเป็นการดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนนั่นเอง
วิธีการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาตัวเองเพื่อรับการประเมินของครู ครูต้องจัดกิจกรรมการสอนในเรื่องที่ตัวเองมั่นใจและมีความถนัดในเนื้อหาและรายวิชานั้นๆส่งผลต่อการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ อาจจะเป็นกิจกรรมที่ใกล้ตัวเด็ก เด็กสัมผัสได้ เช่นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นต้น แต่ที่สำคัญครูจะต้องรีโฟกัสใหม่ นั่นคือปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายว่าเราจะไม่ได้ประเมินแบบเดิมจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบใหม่ อาจจะสอนแบบเดิมแต่จะต้องโฟกัสไปที่นักเรียนเป็นสำคัญ และที่สำคัญกว่านั้นจะต้องโฟกัสไปที่ห้องเรียน ดังนั้นครูจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัด มององค์ประกอบให้ขาดและต้องมาตรวจสอบว่า การจัดการเรียนการสอนครูได้เน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ โดยครูผู้สอนต้องเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลต่อผลลัพธ์ของนักเรียน
การรีเช็กหลังจากการออกแบบการสอนมาอย่างดี ครูต้องมารีเช็กโดยการใช้ PLC ที่เกิดจากแพชชั่นของผู้ร่วมอุดมการณ์ถือได้ว่าสำคัญมาก (วPA ทำให้เกิด) เนื่องจากกระบวนการ PLC เป็นเครื่องมือที่ทั่วโลกใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน สุดท้ายผลลัพธ์ (การสะท้อน) ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรสุดท้ายครูต้องมาสะท้อนว่าผลลัพธ์จะเกิดกับผู้เรียนแค่ไหน เกิดอย่างไร โดยการนำ 4R มาใช้ในการพัฒนา
สิ่งสำคัญที่สุดในการที่จะพัฒนาในด้านที่ 1และด้านที่ 2 ให้สอดคล้องกันโดยการใช้เทคนิคพิเศษในการนำมาเชื่อมโยงให้ร้อยรัดกันนั้นมีกลยุทธ์ที่สำคัญที่ครูต้องคำนึงถึง ดังนี้
1.จุดประสงค์ที่ดีต้องระบุให้ครอบคลุมการวัดผลประเมินผลที่ต้องวัดคือ ด้านความรู้ (Knowledge) ด้านทักษะ หรือทักษะกระบวนการ (Process) และ ด้านคุณธรรมจริยธรรม (Affective/Attitude) นั่นคือ KPA ดังนั้น การออกแบบกิจกรรม ภาระงาน หรือชิ้นงาน จะต้องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างชัดเจนสัมพันธ์กับด้านที่ 2 นั่นก็คือผลลัพธ์ของผู้เรียนนั่นเอง
2.ศึกษาเกณฑ์การประเมินให้เข้าใจ จนเข้าใจธรรมชาติของวิชา ศึกษาบริบทของนักเรียน ศึกษาจนเข้าใจว่าเนื้อหาวิชาใดที่ที่ครูจะเลือกนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุผลตามเกณฑ์ที่กำหนด หรือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ครูได้ตั้งไว้ จนสามารถออกแบบชิ้นงาน และออกแบบกิจกรรมจนผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ตามที่ครูต้องการ
ดังนั้นหัวใจของการจัดการเรียนรู้คือ จุดประสงค์การเรียนรู้นั่นเอง เพราะจุดประสงค์การเรียนรู้คือ สิ่งที่นำพาผลลัพธ์ที่คาดหวังหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ถ้ามีจุดประสงค์ชัดเจน ก็จะสามารถจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับจุดประสงค์จนสามารถเกิดผลลัพธ์ตรงตามที่เราตั้งไว้นำไปสู่ปลายทางในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อควรระวังในการจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียน
1.ในเรื่องของเวลาในการจัดกิจกรรมที่เราไม่สามารถควบคุมได้ในการดำเนินการ
2.ความเป็นธรรมชาติของความเป็นครูเช่นในเวลาอัดคลิป อาจจะไม่เป็นตัวของตัวเอง อาจจะมีความตื่นเต้น ตื่นเกร็ง ทั้งครูและนักเรียน อาจจะไม่เป็นไปตามธรรมชาติในขณะที่ทำจัดการเรียนรู้
3.การวัดและประเมินผลที่วัด KPA ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างชัดเจน
เห็นได้ว่าสิ่งที่จำเป็นในการช่วยครูให้ประเมินได้ผ่านครูจะต้องสามารถเชื่อมโยง ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ของผู้เรียน ให้สอดคล้องและร้อยรัดกันอย่างดี ครูอาจจะดูมาตรฐาน ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ เนื้อหาที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เรียน ระดับความยากง่าย และที่สำคัญคือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนที่ และการวัดประเมินผลที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
📍 สนใจเนื้อหา เพิ่มเติม ศึกษารายละเอียดได้จาก
✅ บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3HlaiEr
✅ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ Integrated Instruction : bit.ly/3ukpnm4
✅ บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3J1f8Hr
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/
วิดีโอใกล้เคียง


คิดค้นและปรับเปลี่ยน โจทย์สำคัญ ครูเชี่ยวชาญ วPA

ถอดบทเรียนแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาครูสู่เส้นชัย วPA


สร้างบรรยากาศเชิงบวกในห้องเรียนอย่างไรให้ผ่าน วPA


ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
คอร์สใกล้เคียง
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...



เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model เป็นแนวทางสำคัญของครูที่จะช่วยลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรี ...



Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
สอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
คุณครูไม่ต้องกังวลใจไป เมื่อมีการประกาศเกณฑ์ในการประเมินวิทยฐานะใหม่ (วPA) มาเตรียมตัวให้พร้อมกับการประเมินวิทยฐานะ ...



สอนวิทยาศาสตร์ อย่างไรให้ทรงพลังตามเกณฑ์ วPA
บทความใกล้เคียง
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ

10 นวัตกรรม Highlight จากครูมีไฟ หัวใจฮีโร่ Season 3

Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
