Homeroom โฮมใจ

กิจกรรมโฮมรูม (Homeroom) เป็นการจัดกิจกรรมในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน การดูแลเอาใจใส่นักเรียน ให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจนการแก้ปัญหา โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจตัวเอง การเรียนรู้ทักษะชีวิต การให้ความรู้ข้อมูลทางการศึกษา อาชีพ และสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือได้ว่า การ Homeroom เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่โรงเรียนนิยมใช้ในการช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องต่างๆ ทั้งการเรียนและชีวิตทุกด้าน โดยมีผลการประเมินยืนยันถึงประโยชน์ของการใช้กิจกรรม ว่าสามารถช่วยลดปัญหา และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในแต่ละด้านดีขึ้น
โดยกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอตัวอย่างการจัดกิจกรรมโฮมรูมของโรงเรียนวัดนางสาว จังหวัดสมุทรสาคร ที่ให้ความสำคัญ และนำไปปรับใช้ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน
โรงเรียนวัดนางสาว เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดใหญ่พิเศษ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา เปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนได้ดำเนินการกิจกรรมโฮมรูม
อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 40 นาทีหลังจากการทำกิจกรรมในช่วงเช้า หรืออย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียน เพื่อเพิ่มโอกาสในการพูดคุย สร้างความคุ้นเคยระหว่างครูประจำชั้นและเด็ก จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้กับเด็กได้ทันท่วงที ทั้งนี้ จากการจัดกิจกรรม Homeroom ของโรงเรียนภายใต้โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” ทำให้โรงเรียนสามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ จากกรณีตัวอย่าง นักเรียนชั้น ม.3 ที่ประสบอุบัติเหตุและส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ต้องใช้เวลานานในการรักษาตัวผนวกกับช่วงสถานการณ์โควิด นักเรียนไม่ได้เรียนหนังสือ อีกทั้งสภาพร่างกายที่ยังไม่พร้อมทำให้ไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ ครูที่ปรึกษาและครูสายชั้นจึงได้ทำการวางแผน กำกับติดตาม พูดคุยกับผู้ปกครองในการดำเนินการขอเรียนชดเชย ซ่อมเสริมเวลาเรียนช่วงหลังเลิกเรียน และทำการสอบ โดยครูประจำชั้นได้ทำการประสานขอความร่วมมือคุณครูทุกรายวิชาในการแจกใบงาน ใบความรู้ และคลิปการสอนให้กับนักเรียน จนกระทั่งนักเรียนสามารถจบการศึกษาในปีการศึกษาถัดไป ทำให้โรงเรียนได้รับการคัดเลือก เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในโครงการพาน้องกลับมาเรียน ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างโรงเรียนดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่คาดว่าจะหมดโอกาสในการจบการศึกษาระดับมัธยมต้น อีกทั้งนักเรียนยังได้รับโอกาสในการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาต่อในรูปแบบทวิภาคีอีกด้วย
สำหรับกระบวนการในการจัดการโฮมรูมของโรงเรียน ดำเนินการโดยการเช็คชื่อนักเรียนในช่วงเช้าส่งต่อไปยังสายชั้น เพื่อทำการเช็คจำนวนนักเรียนมาเรียน ขาด ลา มาสาย หลังจากการเช็คสถิติ ครูประจำชั้นจะทำการติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคลตามมาตราการของโรงเรียนในแต่ละกรณี เช่น กรณีนักเรียนขาดเรียน 3 วัน ครูจะดำเนินการติดต่อ พูดคุยกับผู้ปกครอง กรณี 5 วัน โรงเรียนจะดำเนินการส่งหนังสือแจ้งผู้ปกครอง และขาดเรียน 7 วัน โรงเรียนจะดำเนินการส่งหนังสือแจ้งผู้ปกครอง และติดตามโดยการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียน เป็นต้น นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้จัดกิจกรรมโฮมรูมที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมโฮมรูมให้นักเรียนนั่งทำสมาธิ 5 นาที การเล่าเรื่องสั้นก่อนการเรียน เปิดเพลงให้ฟัง คลิปวิดีโอ การใช้เกม กิจกรรมถาม-ตอบ เพื่อเป็นการกระตุ้น สร้างเสริมพฤติกรรมเชิงบวกให้กับนักเรียน สนับสนุนทางด้านความรู้สึกทางใจของผู้เรียน และทำให้เด็กได้ซึมซับสิ่งที่ดีผ่านสื่อต่างๆ ได้
เห็นได้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้การช่วยเหลือนักเรียนประสบความสำเร็จ เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ความสำคัญ และตระหนักในเรื่องของการช่วยเหลือนักเรียน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
ครูอุทัยวรรณ สมบูรณ์พูลเพิ่ม
โรงเรียนวัดนางสาว จ.สมุทรสาคร
Related Courses
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...



Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...



ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ
เราเลือกอาชีพ? หรืออาชีพเลือกเรา? เราวัดคุณค่าของอาชีพจากอะไร การรู้จักอาชีพที่หลากหลาย อาชีพที่มีค่าตอบเเทนสูง อาชีพที่ ...



Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...



Related Videos


ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา


PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
![Starfish Country Home School Foundation [ENG]](https://img.youtube.com/vi/eeT-qLyd87U/mqdefault.jpg)
