ห้องเรียน : สัปปายะสถานแห่งการเรียนรู้

โรงเรียนรุ่งอรุณ
โรงเรียนรุ่งอรุณ 1927 views • 4 ปีที่แล้ว
ห้องเรียน : สัปปายะสถานแห่งการเรียนรู้

ห้องเรียน : สัปปายะสถานแห่งการเรียนรู้


“พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ที่ริมแม่น้ำเนรัญชรา ในช่วงที่ท่านไปประทับอยู่ที่นั่น ท่านปรารภว่า สถานที่ตรงนี้มีสัปปายะ ควรแก่การพิจารณาธรรมเป็นอย่างยิ่ง


“มันโล่งกว้าง มองไปเห็นสายน้ำที่ไหลริน มีลมพัด สายลมบางเบาที่พัดผ่านเย็นสบาย มองไปได้ไกลสุดขอบฟ้า เห็นต้นไม้เขียวชอุ่ม ความรู้สึกสดชื่นจิตใจสงบ ไม่ดิ้นรน จิตใจที่สงบก็พร้อมที่จะเกิดพลังงาน


“เห็นไหมว่าสถานที่มีผลมากต่อการเรียนรู้ของพระพุทธองค์ จึงตรัสรู้ ในบริเวณใดท่านเลือกแล้ว ไม่ใช่ตรงไหนก็ได้ ไม่ใช่อยู่อย่างไรก็เรียนรู้ได้ แต่เป็นสถานที่เหมาะเจาะพอควรและส่งเสริมเกื้อกูลการเรียนรู้”


“โรงเรียนของเราเป็นอย่างไร เป็นสถานที่สัปปายะหรือยัง?


รศ.ประภาภัทร นิยม ตั้งคำถามชวนผู้บริหารและครูย้อนมองตนเอง ในการอบรม Learning Vision & Learning Space ณ จังหวัดศรีสะเกษ


คำว่า “สัปปายะ” ที่ รศ.ประภาภัทรกล่าวถึงข้างต้นนั้น พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อธิบายความหมายไว้ว่า “สิ่งที่สบาย, สภาพเอื้อ, สิ่งที่เกื้อกูล, สิ่งที่เอื้อต่อการอยู่ดีและการที่จะพัฒนาชีวิต, สิ่งที่เหมาะกัน อันเกื้อหนุนในการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย”


เมื่อมองในบริบทโรงเรียนจึงหมายถึง “โรงเรียน” หรือ “ห้องเรียน” ที่น่าอยู่ สะอาด สบาย มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมเกื้อกูลให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาได้ดี


การตั้งคำถามของ รศ.ประภาภัทร ในวันนั้นก็เพื่อสะกิดชวนผู้บริหารและครูหันมาพิจารณา “โรงเรียน” หรือ “ห้องเรียน” ของตนกันอย่างละเอียด เพราะการงานที่ทำอยู่ทุกวันจนกลายเป็นความเคยชิน อาจทำให้เรามองไม่เห็นเรื่องสำคัญบางเรื่องไป


ตัวอย่างของความเคยชินใกล้ตัวที่ รศ.ประภาภัทรชวนมองในวันนั้น คือห้องประชุมที่ทุกคนกำลังนั่งอยู่ ผนังห้องแต่ละด้านปิดผ้าม่านมิดชิด มองไม่เห็นบรรยากาศภายนอก เพราะต้องการให้ทุกคนสนใจแต่วิทยากรบนเวที


สภาพแวดล้อมเช่นนี้บังคับให้ผู้ร่วมประชุมต้องเพ่งมาข้างหน้า มองมุมเดียวและฟัง เมื่อถามถึงความรู้สึกของผู้ที่นั่งอยู่ในห้อง (ซึ่งหลายคนไม่ทันสังเกต อาจเพราะเคยชิน ห้องประชุมที่ไหนๆ ก็เป็นเช่นนี้) กลับพบแต่ความเครียด ความรู้สึกอัดอึด กระวนกระวาย จิตใจที่ห่อเหี่ยว ในสภาวะเช่นนี้ ความอยากเรียนรู้ย่อมลดน้อยถอยลงหรือแทบไม่เกิดเลย


แล้วห้องเรียนของเราเป็นเช่นนี้หรือไม่ เด็กๆ ของเราเขาได้เรียนรู้ในสภาพแวดล้อมห้องเรียนแบบไหน เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ หรือเป็นตรงกันข้ามดังเช่นห้องประชุมนี้


“บางทีเข้าไปบางห้องไม่เปิดไฟด้วยก็มี ดีที่เด็กพยายามกันมาก ครูให้ทำอะไรก็ทำ ความคิดสร้างสรรค์เกิดน้อย มันเหนื่อย อากาศได้น้อย ออกซิเจนไม่พอ กลิ่นก็ไม่ค่อยดี รกเต็มไปหมด มีแต่ของครูเต็มไปหมด บางทีก็ติดหนังสือไว้สูงบนคาน นักเรียนก็ไม่ค่อยได้เห็นได้ดู อันนี้คือสภาพที่เราอาจจะมองข้ามว่าเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสริมพฤติกรรมเรียนรู้หรือไม่ ต้องไปคิดพิจารณากัน”


สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เป็นอย่างไร รศ.ประภาภัทรให้ข้อสังเกตไว้ ๓ ประเด็น


หนึ่ง โรงเรียนเป็นสถาบันหรือสถานที่ที่เป็นตัวอย่างของความสะอาด สุขอนามัยที่ดี เข้ามาต้องรับรู้ได้ว่า ฉันอยู่ในที่ปลอดภัย โปร่ง โล่ง สบาย หายใจได้เต็มปอด ดังนั้นพื้นฐานแรกของการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมห้องเรียน คือ ดูว่าลมถ่ายเทไหม เข้าไปอยู่แล้วเย็นสบาย แสงส่องเข้าไปถึง


สอง ห้องเรียนควรเป็นพื้นที่ของผู้เรียน ไม่ใช่พื้นที่ของครู ไม่ใช่ที่ซึ่งดูแล้วรังสีอำนาจของครูครอบงำอยู่ แต่เป็นพื้นที่ของผู้เรียนอย่างแท้จริง การตั้งหลักเช่นนี้จะนำไปสู่การออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ต่อไป


การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การจัดโต๊ะ เก้าอี้ และพื้นที่ในห้องเรียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ ถ้าเป็นกิจกรรมกลุ่มหรือกิจกรรมที่เด็กต้องนั่งพื้น โต๊ะเก้าอี้ควรมีอยู่ไหม หรือควรมีอยู่เท่าไร แล้วจะจัดวางในลักษณะใดได้บ้าง ถ้าจะจัดพื้นที่สำหรับการเรียนรู้อื่นในห้อง จะจัดได้ตรงไหนบ้าง รวมถึงการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องเรียนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จะจัดการอย่างไรให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กมากที่สุด


“ลองไปสำรวจพื้นที่ทั้งหมด แล้วท่านจะพบว่าต้องเอาของเก่าออกเยอะมาก เพราะมันกินพื้นที่ของเราไปแล้วเกือบครึ่งห้อง เมื่อเราเริ่มคิดเริ่มเปลี่ยนแปลงห้องเรียน เราจะเกิด Learning Vision ตามมา”


รศ.ประภาภัทร กล่าวทิ้งท้าย ก่อนจะพาครูและผู้อำนวยการร่วมกันลงแขกปรับ Learning Space ภายในห้องเรียนใหม่ เพื่อคืน “พื้นที่การเรียนรู้” ในห้องเรียนแก่ผู้เรียน ชนิด “ทำทันที” และใช้งบประมาณให้น้อยที่สุดหรือไม่ใช้เลย


หลังจากปรับแล้วผลจะเป็นอย่างไร เกิดการเปลี่ยนแปลงใดบ้าง ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงภายในตัวครูและผู้อำนวยการ ติดตามได้ในตอนต่อไป




มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม

ความกตัญญูทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง ...

Starfish Academy
Starfish Academy
“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม
Starfish Academy

“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม

Starfish Academy
6694 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การชะลอการตัดสินต่อพฤติกรรมของนักเรียน

การเรียนรู้เรื่อง ชะลอการตัดสินนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการแยกแยะความจริงออกจากความคิดเห็น เพื่อชะลอการตัดสิน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การชะลอการตัดสินต่อพฤติกรรมของนักเรียน
Starfish Academy

การชะลอการตัดสินต่อพฤติกรรมของนักเรียน

Starfish Academy
5506 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม

เรียนรู้การสอนลูกให้เป็นคนดีตั้งแต่วัยเด็ก ให้ลูก รู้จักคุณธรรมจริยธรรมส่งเสริมการมีความเมตตาต่อผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม
Starfish Academy

เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม

Starfish Academy
1091 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

สิทธิ หน้าที่ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างไร

การเรียนรู้เรื่องสิทธิ หน้าที่ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ความหมายหลักการของระบบประชาธิปไตยเข้าใจถึ ...

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สิทธิ หน้าที่ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างไร
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สิทธิ หน้าที่ พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยมีความสำคัญอย่างไร

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
4904 ผู้เรียน

Related Videos

"โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน"
04:00
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

"โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน"

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
3000 views • 4 ปีที่แล้ว
"โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน"
พัฒนาพระวิทยากรกระบวนการ พระสอนศีลธรรมยุคใหม่
01:47
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พัฒนาพระวิทยากรกระบวนการ พระสอนศีลธรรมยุคใหม่

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
159 views • 4 ปีที่แล้ว
พัฒนาพระวิทยากรกระบวนการ พระสอนศีลธรรมยุคใหม่
พุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา
04:20
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
269 views • 4 ปีที่แล้ว
พุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา
พระสอนศีลธรรมแกนนำ 2562
03:38
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระสอนศีลธรรมแกนนำ 2562

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
175 views • 4 ปีที่แล้ว
พระสอนศีลธรรมแกนนำ 2562