ปลดล็อคกัญชาเสรี!? ปลูกยังไงให้ถูกกฎหมาย ใช้ขนาดไหนถึงจะพอดี

ปลดล็อคกัญชาเสรี!? ปลูกยังไงให้ถูกกฎหมาย ใช้ขนาดไหนถึงจะพอดี

ในช่วงนี้ทุกท่านคงจะได้ยินข่าวจากสื่อทั้งโทรทัศน์ วิทยุและอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการปลดล็อคกัญชา หลายคนก็คงสงสัยว่า ถ้าปลดล็อคแล้วแสดงว่าปลูกกัญชาได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของกัญชาไม่ว่าจะเอามาใส่ในอาหารหรือเอามาสูบได้เลยใช่ไหม.... จริงๆแล้วการปลดล็อคกัญชา มีรายละเอียดที่มากกว่านั้น บทความนี้จะมาบอกให้ทุกคนรู้ว่าอะไรทำได้และอะไรทำไม่ได้ในการปลดล็อคกัญชากันค่ะ

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ก่อนหน้านี้กัญชาจัดอยู่ในยาเสพติดประเภท 5 ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถปลูกและนำส่วนต่างๆ มาใช้ประโยชน์ได้โดยเด็ดขาด แต่เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาปลดล็อกทุกส่วนของกัญชา และกัญชงออกจากการเป็นพืชเสพติด โดยประกาศนี้จะมีผลภายใน 120 วัน ซึ่งก็คือวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ตามที่เราทราบข่าวกัน ซึ่งจากการปลดล็อคนี้มีอะไรบ้างบทความนี้จะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกัน

อะไรที่เราทำได้!!!!!! อย่างแรกคือ เราปลูกกัญชาและกัญชงภายในบ้านได้ จะปลูกกี่ต้นก็ได้ แต่ต้องขออนุญาตผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ชื่อว่า “ปลูกกัญ” เมื่อขออนุญาตเรียบร้อยจะได้รับเลขจดแจ้ง การปลูกกัญชาของเราก็จะถูกกฎหมาย อย่างที่สองสามารถนำเข้าทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่ว่าจะเป็นเมล็ด ช่อดอก ใบหรือลำต้นจากต่างประเทศได้ซึ่งต้องขออนุญาตก่อนการนำเข้าก่อนเช่นกัน อย่างที่สามที่สามารถทำได้คือ สามารถนำส่วนต่างๆของกัญชา กัญชง มาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยาหรือเครื่องสำอาง แต่ทั้งนี้ต้องขออนุญาตผลิต ตาม พระราชบัญญัติอาหาร, พระราชบัญญัติยาหรือพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง ซี่งจะพูดถึงในบทความครั้งต่อไปและสุดท้ายสามารถสูบเพื่อผ่อนคลายได้ แต่!!!! ต้องสูบอย่างมิดชิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อื่น 

Application ปลูกกัญ สามารถ download ได้จาก apple store และ google play

ปลดล็อคการใช้กัญชาแล้ว....แต่ก็ยังไม่สามารถใช้สารสกัดจากพืชกัญชา กัญชงที่มีสาร THC (สารที่ทำให้เคลิบเคล้ม) เกิน 0.2% รวมทั้งสูบกัญชาในที่สาธารณะก็ยังทำไม่ได้ด้วย

อย่างไรก็ตามการบริโภคกัญชาเป็นอาหาร ยังต้องมีการศึกษาและการควบคุมเพื่อความปลอดภัยกับผู้บริโภค โดยเฉพาะการใส่กัญชาลงไปในอาหารที่จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค เช่น ร้านอาหาร คาเฟ่ต่างๆ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศเตือน โดยคำเตือนของกรมอนามัยได้แก่

  • ร้านอาหารหรือคาเฟ่ต้องแสดงรายการอาหารที่มีการใช้กัญชาทั้งหมดแสดงแก่ผู้บริโภค
  • อาหารทอดแนะนำให้ใช้ใบสด 1-2 ใบสดต่อเมนู 
  • อาหารต้ม ผัด และเครื่องดื่ม แนะนำให้ใช้ใบสด 1 ใบสดต่อเมนู
  • หากใช้ใบแห้ง ให้ใช้ได้ไม่เกิน 1 ใบต่อ 1 เมนู
  • โดยใน 1 วัน ไม่ควรบริโภคอาหารที่มีกัญชาเกินกว่า 2 เมนู
  • ห้ามสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคหัวใจ ตับ ไต บกพร่อง ผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดในกลุ่มวาร์ฟาเรีย ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาโรคจิตเวช เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีและผู้ที่แพ้สาร THC และ CBD รับประทานเมนูจากกัญชาและกัญชง
  • เมื่อรับประทานเมนูจากกัญชา และกัญชงจะมีอาการง่วงซึม จึงไม่ควรขับรถ
  • หากมีอาการผิดปกติต้องหยุดรับประทานทันที สำหรับอาการเมา หรือแพ้กัญชา อาการทั่วไปได้แก่ ง่วงนอน ปากแห้ง คอแห้ง เวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน แต่หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบไปพบแพทย์ ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เดินเซ พูดไม่ชัด กระวนกระวาย

เมนูจากกัญชา จาก KSA Café มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

จะเห็นว่าการบริโภคกัญชายังมีข้อจำกัดและข้อควรระวังอยู่มากมาย ซึ่งในความเป็นจริงประโยชน์ของกัญชาส่วนใหญ่ มักจะมุ่งเน้นในการเป็นกัญชาทางการแพทย์ รวมทั้งขณะนี้พระราชบัญญัติกัญชา กัญชง และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องต่าง ก็ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น การรับประทานกัญชาและกัญชงจะต้องมีความระมัดระวัง เป็นอย่างมาก ในบทความต่อไป จะพูดถึงการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมจากกัญชา กัญชง ให้เป็นไปตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รอติดตามตอนต่อไปกันนะคะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

Technology Skills
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)

การควบคุมอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่น เป็นทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรได้รับการส่งเสริม เพื่อสามารถใช้ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
Starfish Academy

วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)

Starfish Academy
5 (3 ratings)
Soft Skills
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันโลกโซเชียล (Media Literacy)

ถึงเวลาที่น้องๆ ต้องรู้เท่าทันโลกโซเชียล เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและสะดวกต่อการเข้าถึ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันโลกโซเชียล (Media Literacy)
Starfish Academy

วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันโลกโซเชียล (Media Literacy)

Starfish Academy
4.8 (8 ratings)
1049 ผู้เรียน
อาชีพเสริมยอดฮิต
การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง
basic
0:30 ชั่วโมง

วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล

ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...

Starfish Labz
Starfish Labz
วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
Starfish Labz

วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล

Starfish Labz
4.8 (20 ratings)
หลักการใช้ชีวิต
การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร

วัยรุ่น คือ วัยที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร
Starfish Academy

ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร

Starfish Academy
5 (6 ratings)

Related Videos

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น
43:36
Starfish Academy

108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น

Starfish Academy
393 views • 2 ปีที่แล้ว
แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต
24:40
Starfish Academy

แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต

Starfish Academy
1411 views • 3 ปีที่แล้ว
"7 สายงานแห่งอนาคต"
04:27
Starfish Academy

"7 สายงานแห่งอนาคต"

Starfish Academy
233 views • 3 ปีที่แล้ว
ทดสอบตัวเอง เราเครียดเกินไปหรือเปล่า?
04:14
Starfish Academy

ทดสอบตัวเอง เราเครียดเกินไปหรือเปล่า?

Starfish Academy
1229 views • 3 ปีที่แล้ว