Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษา

Google for Education Partner
Google for Education Partner 20693 views • 2 ปีที่แล้ว
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษา

ในยุคปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี ถือได้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งครูจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา ในการสร้างสื่อการสอน ตลอดจนพัฒนาไปสู่นวัตกรรมที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ ซึ่งกิจกรรม Workshop ในครั้งนี้ เป็นการสร้างสื่อการเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีที่ทั้งครูผู้สอน และผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย นั่นก็คือ การนำ Google Sites มาใช้เพื่อการศึกษา

Google Sites เป็นแอปพลิเคชันออนไลน์หนึ่งที่ช่วยในการเรียนการสอนของครู โดยสามารถเชื่อมโยงเนื้อหา แหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไฟล์ เสียง วิดีโอ ที่นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลและสามารถเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ทั้งนี้ Google ได้มีการสร้างและพัฒนาเว็บขึ้นมาที่เรียกว่า New Google Sites มีลักษณะ Responsive ซึ่งเป็นการปรับขนาดเว็บไซต์ให้มีความเหมาะสมกับทุกอุปกรณ์ และง่ายในการทำเว็ปไซต์

ขั้นตอนการสร้างเว็ปไซต์

1. ลงชื่อเข้าใช้ด้วย Gmail คลิกปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้งาน”

2. สมัครเข้าใช้งาน โดยเข้าไปที่ URL พิมพ์ sites.google.com

3. เลือกสร้าง “เครื่องหมาย + (ว่าง)” เพื่อทำการสร้างเว็บไซต์

4. การสร้างหน้าแรกเพจของเว็บไซต์ (Homepage) จะประกอบไปด้วย 

  • 4.1 ชื่อเว็บไซต์ 
  • 4.2 ชื่อของหน้า 
  • 4.3 แถบเมนูเครื่องมือต่าง ๆ 
  • 4.4 เมนูหลักด้านซ้ายมือ ประกอบด้วย “เมนูแทรก” สามารถใช้เครื่องมือปรับแต่ง แก้ไข ข้อความ หรือแทรกวิดีโอ รูปภาพต่าง ๆ ได้ “เมนูหน้าเว็บ” เป็นการเพิ่มหน้าเว็บไซต์ “เมนูธีม” เป็นเมนูแม่แบบหรือ Template ในการกำหนดรูปแบบ สี ตัวอักษรต่าง ๆ ตามรูปแบบที่ Google Sites กำหนดให้

5. การตั้งชื่อเว็บไซต์

  • 5.1 ชื่อเว็บ คลิกที่ “เว็บไซต์ที่ไม่มีชื่อ” สามารถกำหนดชื่อเว็บไซต์เองได้
  • 5.2 ชื่อของหน้า เป็นชื่อของหน้าเพจสามารถกำหนดชื่อ รูปแบบ สี ขนาดของตัวอักษรเองได้
  • 5.3 การกำหนดประเภท Banner มีให้เลือก 2 อย่าง คือ “เปลี่ยนรูปภาพ” และ “ประเภทส่วนหัว”
  • 5.3.1 การเปลี่ยนพื้นหลัง คลิกที่ “เปลี่ยนรูปภาพ” เลือกไฟล์ภาพจากการ “อัปโหลด”  หรือ “เลือกรูปภาพ” ได้ ทั้งนี้ ในการเปลี่ยนพื้นหลังสามารถทำให้ภาพชัดขึ้น โดยการคลิกที่ “รูปดาว 3 ดวง” 
  • 5.3.2 เลือกที่ “ประเภทส่วนหัว” จะประกอบไปด้วย “หน้าปก” “แบนเนอร์ขนาดใหญ่” “แบนเนอร์” และ “ชื่อเรื่องเท่านั้น” ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกใช้รูปแบบ “แบนเนอร์”