5 วิธีฟื้นฟู ให้กำลังใจตนเอง ก่อนหมดไฟเป็นครู

Starfish Academy
Starfish Academy 14496 views • 1 ปีที่แล้ว
5 วิธีฟื้นฟู ให้กำลังใจตนเอง ก่อนหมดไฟเป็นครู

หากถามเด็กๆ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร เราจะได้ยินอาชีพ ‘ครู’ เป็นอีกหนึ่งคำตอบยอดฮิต แต่การจะเป็น ‘ครูมืออาชีพ’ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ครูไม่ใช่แค่เรือจ้างที่คอยส่งผู้โดยสารถึงฝั่ง แต่เป็นเหมือนขุนพลจับดาบออกศึกต่างหาก แต่ในเมื่อรักที่จะเป็นครูแล้วก็ต้องแลกกับ 3 เรื่องต้องรบในโรงเรียน

เมื่อครูต้องสู้รบกับสิ่งที่ต้องสอน

วิธีการสอนของครูแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน ครูบางคนมีเทคนิคการสอนที่เข้าใจง่าย พยายามหาแนวการสอนที่ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ปฏิบัติจริง แต่เนื่องด้วยภาระงานที่แน่นเอี้ยด แทนที่งานสอนจะเป็นงานหลักแต่กลับกลายเป็นว่างานสอนกลายเป็นงานรองไปซะงั้น จึงทำหน้าที่ได้ไม่เต็มร้อย แต่ครูผู้มีความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างเราหรือจะยอมแพ้ 

เมื่อครูต้องสู้รบกับพฤติกรรมของเด็ก 

แน่นอนว่าเด็กๆ แต่ละบ้าน ย่อมมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปตามพื้นเพของแต่ละครอบครัว ครูจึงต้องคอยสอดส่อง ติดตามพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก

ทักษะใดที่เขามีแววความถนัดก็หาทางส่งเสริมให้โดดเด่น และหาทางจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับเด็กๆ ที่ยังบกพร่องกว่าเด็กคนอื่น ให้เขามีกำลังใจทำได้ดีขึ้นเท่าเพื่อนร่วมชั้น ครูจึงต้องคอยเคี่ยวเข็ญติดตามดูแลเด็กบางกลุ่มที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ เพื่อนำมาปรับปรุงเพิ่มความสนุกในการสอน ทำให้ความรู้กลืนง่ายขึ้น

เมื่อครูต้องสู้รบกับความคิดของผู้ปกครอง 

ผู้ปกครองจำเป็นต้องทำความเข้าใจใหม่ ว่าจะโยนให้การเรียนรู้ของเด็กๆ เป็นเรื่องของโรงเรียนและครูเท่านั้นไม่ได้ แต่ละครอบครัวจะต้องเป็นผู้ช่วยครู และช่วยลูกๆ ของตนเองอีกแรงด้วย

นักเรียนบางคนอาจยังไม่ได้คิดถึงอนาคต ไม่รู้ผลระยะยาวที่จะเกิดแน่ชัด ว่าจะเป็นอย่างไรหากตนไม่ตั้งใจเรียน จึงต้องอาศัยการปลูกฝังจากผู้ปกครองตั้งแต่ที่บ้าน คอยอธิบายชี้ชวนดูเป้าหมายของการสร้างทักษะความรู้ และหากลวิธีสร้างแรงจูงใจ ใช้จิตวิทยาเด็กเพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ไม่ใช่เอาแต่บังคับ

5 วิธีฟื้นฟู ให้กำลังใจตนเอง ก่อนที่จะหมดไฟเป็นครู

ภาระงานไม่รู้จบที่ว่ามาข้างต้นนั้น อาจทำให้ครูท้อแท้ละเหี่ยใจเต็มทน แต่ก่อนจะตกอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burn Out) ต้องเร่งหาทางบรรเทาอาการทางใจ อย่าปล่อยไว้เนิ่นนาน ลองนั่งลงพิจารณาอารมณ์ความรู้สึกข้างใน ตั้งหลักคิดกันใหม่ จะได้ลุกขึ้นยิ้มสู้เพื่อเด็กๆ ได้อีกครั้ง

1. แบ่งปันคำพูดดีๆ

อาการหมดไฟอาจจะลุกลามได้ง่ายเมื่อคุณครูรู้สึกโดดเดี่ยวและไร้ที่พึ่ง คุณครูจะต้องให้กำลังใจตนเอง และใช้คำพูดอารมณ์ดี กระตุ้นอารมณ์เชิงบวกกับเพื่อนครู เช่น คอยสังเกตชื่นชมกันในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ 

ดูแลใส่ใจกัน ให้ความร่วมมือ สนับสนุนกัน และรักอาชีพนี้ไปด้วยกัน หาเวลากระชับความสัมพันธ์กับเพื่อนครูด้วยกันให้มากขึ้น ซึ่งความสุขเล็กๆ ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน อาจหากิจกรรมง่ายๆ เช่น นัดทำอาหาร นัดซื้อกับข้าวมากินด้วยกัน นัดไปออกทริปท่องเที่ยว นัดกินข้าวสังสรรค์นอกรอบ หรือจะแค่ชวนคุยขบคิดประเด็นสำคัญในสังคม หรือในแวดวงของครูก็ได้ 

เพราะการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นที่อยู่นอกเหนือจากเรื่องงาน หรือยังอยู่ในบริบทแวดล้อมรอบตัวครู จะช่วยทำให้พวกเราเข้าใจมุมมองที่หลากหลายของแต่ละคนมากขึ้น ได้รู้จักตัวตนและความคิดอ่านของเพื่อนร่วมงานลึกซึ้งขึ้นนั่นเอง  

2. แบ่งเวลาโซเชียลดีท็อกซ์

การพักผ่อนอย่างแท้จริง ต้องลองงดท่องโลกโซเชียลในแต่ละวันลง เพราะข้อมูลมหาศาลที่ไหลเข้าสมองอย่างท่วมท้นจะตกค้างอยู่ ไม่ได้ช่วยให้สมองเราได้หยุดพักจริงๆ 

อย่ามัวแต่อยู่กับสังคมออนไลน์มากเกินไป เพราะจะส่งผลต่อพฤติกรรมและอารมณ์ที่ไม่นิ่ง รู้สึกหงุดหงิดง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ จนอาจส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน นักเรียน ไปจนถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว อย่างคนรักและครอบครัวก็พังครืนลงมาได้ 

ควรหาเวลาล้างพิษโซเชียลมีเดียให้สมองปลอดโปร่งโล่งสบาย เน้นออกไปทำกิจกรรมที่ได้พบปะผู้คน หรือได้นั่งนิ่งๆ ลงมือทำเพลินๆ แบบมีสมาธิอยู่กับตัวเอง 

อารมณ์และร่างกายของเราก็จะไม่หดตัวเกร็งรับกับความเป็นไปของโลก ที่บางครั้งไม่จำเป็นต้องรู้สักเรื่องบ้างก็ได้

3. แบ่งปัญหาแยกเป็นส่วนๆ

หลายครั้งภาระงานและความรับผิดชอบต่างๆ ของคุณครูดูจะยิ่งหนักหนามากขึ้นเรื่อยๆ ครูบางคนผลักดันตัวเองมากเกินไป บางคนก็รับแรงกดดันได้ไม่ดีเอาเสียเลย จึงต้องคอยสังเกตอารมณ์และอาการทางร่างกายของตัวเองให้ดี

สาเหตุของอาการหมดไฟนั้นมีหลายปัจจัย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากการสะสมความเครียดจากการทำงานโดยไม่รู้ตัว เมื่อนำหลายๆ เรื่องมายำรวมกัน ทำให้คุณครูรู้สึกว่ามันหนักอึ้ง แก้ไม่ตก ไม่มีทางออก คิดวกวนไปมาจนหมดไฟที่จะทำอะไรไปในที่สุด ซึ่งมีความเสี่ยงจะพัฒนากลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ 

ครูต้องค่อยๆ เขียน ค่อยๆ ลิสต์ปัญหาทีละอย่าง แยกส่วนออกมาจัดหมวดหมู่ของปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม แล้วความเหนื่อยหน่ายใจของครูจะลดลง เลิกคิดมาก หันไปตั้งใจแก้ทีละข้อ 

4. แบ่งหน้าที่ ต่อรอง และเปิดรับความช่วยเหลือ

อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องทุ่มเทให้กับนักเรียนเต็มเวลา จนคุณครูหลายๆ คนละเลยตัวเอง ซึ่งต้องอย่าลืมว่าตัวคุณครูเองก็เป็นมนุษย์ที่เหนื่อยเป็น ครูควรจะต้องประเมินงานในมือให้ดี ต้องหัดต่อรอง และขอความช่วยเหลือจากผู้บริหารโรงเรียน หรือขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พูดคุยเสนอหนทางเกลี่ยเฉลี่ยน้ำหนักงานได้ตรงกับความเป็นไปได้จริง แล้วทำข้อตกลงให้ทุกฝ่ายวินวิน และได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ

5. แบ่งตารางเวลาดีๆ

ก่อนจะกอบกู้สภาพร่างกายและจิตใจของคุณครูให้กลับมาดีได้ จะต้องเริ่มต้นจากการจัดสรรเวลาอย่างมีประสิทธิภาพเสียก่อน ให้ครูสามารถบริหารจัดการเวลาทำงานได้อย่างมีอิสระยืดหยุ่น แล้วความเครียดที่สะสมจะลดลงเองตามเหตุปัจจัยที่เปลี่ยนไป

เวลามีความรับผิดชอบส่วนหนึ่งเพิ่ม จะต้องลดงานอะไรลง จัดลำดับความสำคัญของงาน เรื่องไหนเร่งด่วนที่ควรทำก่อน-หลัง วางแผนตารางงานให้ชัดเจน ดูความเข้มข้นของงานและตามเงื่อนเวลาที่ต้องแล้วเสร็จ อาจมีงานที่ทำไปควบคู่พร้อมกันได้ไม่เกิน 2-3 งาน แล้วค่อยจ่อคิวมาแทนที่คาบเกี่ยวกันไปเรื่อยๆ 

และไม่ใช่แต่จะทำงานด่วน ต้องไม่ลืมทำงานสำคัญด้วย เพื่องานใหญ่จะไม่พอกพูน อย่างน้อยก็ควรมีความคืบหน้าสะสมไปทีละนิด การตั้งเป้าหมายให้เล็กลง ค่อยๆ สะสมเป็นเป้าหมายใหญ่ เมื่อสำเร็จลงได้ ความสุขก็จะค่อยๆ เพิ่มกลับขึ้นมาเอง

เมื่อครูสามารถจัดตารางชีวิตการงานได้ดีขึ้น ก็จะสามารถเพิ่มเวลาให้ตัวเองสนุกกับชีวิตได้อีกเยอะ หรือมีเวลาตามหาความหมายของสิ่งที่ทำอยู่ มีเวลาดูแลความเป็นอยู่ของตนเอง เช่น รับประทานอาหารได้ตรงเวลา มีเวลาทำอาหารเองในราคาประหยัด แต่คัดสรรใส่วัตถุดิบดีๆ ที่มีประโยชน์ให้ตัวเอง แบ่งเวลาออกกำลังกายสัก 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่ลืมเวลาฟื้นฟูจิตใจ ยกระดับความคิดจากการฟังพอดแคสต์, ชม youtube, เรียนออนไลน์กับ Starfish Labz, หรืออ่านหนังสือจิตวิทยาพัฒนาตนเอง นำความเข้าใจในปรัชญาการดำเนินชีวิต หรือนำธรรมะมาใช้ควบคู่กับการทำงาน ทำให้ครูเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น 

นอกจากนี้ อาจหาเวลาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด ผ่านทางโทรศัพท์ แอปพลิเคชัน หรือโรงพยาบาลรัฐตามสิทธิ์การรักษา เพื่อขอคำแนะนำได้จะดีที่สุด

Starfish Education เราเชื่อว่าเมื่อสุขภาพจิตของครูไทยดีขึ้น ก็จะส่งผลดีโดยตรงต่อตัวนักเรียน ครูเองก็จะมีแก่ใจทำหน้าที่ให้สมกับเป็น ‘แม่พิมพ์ของชาติ’ 

ทีมโค้ช Starfish Academy และทีมงาน Starfish Labz ขอส่งกำลังใจให้คุณครูทุกๆ ท่าน มีพลังกายและพลังใจที่จะทุ่มเทเป็นกำลังสำคัญ อยู่พัฒนาเด็กไทยไปด้วยกันนานๆ

ข้อมูลอ้างอิง :  

Teacher Burnout: Warning Signs, Causes and Tips

www.educationcorner.com/teacher-burnout.html

Teacher burnout and how to avoid it

www.educationsupport.org.uk/resources/for-individuals/articles/teacher-burnout-and-how-to-avoid-it/

The Importance of Self Care for Teachers & 20 Ways To Help

www.prodigygame.com/main-en/blog/teacher-self-care/

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน

การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
6345 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ

เราเลือกอาชีพ? หรืออาชีพเลือกเรา? เราวัดคุณค่าของอาชีพจากอะไร การรู้จักอาชีพที่หลากหลาย อาชีพที่มีค่าตอบเเทนสูง อาชีพที่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ
Starfish Academy

ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy

Related Videos

ความสำคัญของ วPA และ 6 ข้อปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา
04:44
Starfish Academy

ความสำคัญของ วPA และ 6 ข้อปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา

Starfish Academy
1072 views • 2 ปีที่แล้ว
ความสำคัญของ วPA และ 6 ข้อปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
59 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1442 views • 2 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
750 views • 2 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ