Happy Time ชวนลูกสำรวจเรื่องความสุข

Starfish Academy
Starfish Academy 1553 views • 2 ปีที่แล้ว
Happy Time ชวนลูกสำรวจเรื่องความสุข

“ความเครียดไม่ได้อยู่ตลอดเวลา ถ้าหากรู้สึกได้ ก็เพียงแค่แก้ไขให้เป็น”

“แปลกไหมที่ลูกจะเครียด” คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เราไม่สามารถจะให้ลูกเรามีความสุข โดยไม่มีความเครียดเลยไม่ได้ เราในฐานะพ่อแม่จะมีวิธีการสังเกต และดูแลลูกอย่างไร วันนี้จะมาพูดคุยกับ คุณเบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ (นีท) นักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นจาก Starfish เกี่ยวกับแนวทางการสอนเด็ก ในเรื่องความสุขและไอเดียเกี่ยวกับกิจกรรมเพิ่มความสุขกัน

กิจกรรมที่พ่อแม่สรรหาให้ลูกมีส่วนในการส่งเสริมความสุขให้ลูกหรือไม่ อย่างไร

จริงๆ แล้ว เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ว่ากิจกรรมที่เราให้เด็กแล้วเด็กมีความสุข หรือไม่ ซึ่งดูได้จากเด็กมีความรู้สึกที่อยากทำหรือไม่ ตรงนี้ถือได้ว่าเป็นหลักสำคัญ ถ้าหากลูกเราทำแล้วไม่ค่อยอยากทำหรืองอแง นั่นแสดงว่า กิจกรรมที่เราทำให้ลูกอาจจะเยอะเกินไป ทั้งนี้ ในการนิยามความสุข หลายๆครั้งเรานิยามความสุขได้ยาก เพราะบางครั้งเรารู้สึกว่าจับต้องไม่ได้ ดังนั้น จึงมีนิยามของความสุขที่จับต้องได้ประกอบด้วย 5 ตัว ที่เรียกว่า PERMA โดย P มาจาก Positive Emotion หมายถึง อารมณ์ทางบวก ถ้านิยามสั้นๆ ก็คือ ความสุขที่เราได้ทำบางสิ่งบางอย่าง หรือความสุขที่เราได้คิดถึงทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต E มาจาก Engagement ความสุขที่ได้จากการทำกิจกรรม หรือความสุขที่ได้ทำงานอดิเรก R มาจาก Relation คือ การที่เรารู้สึกมีเพื่อนไว้คุย หรือความสุขของการมีเพื่อนและมีผู้ช่วย M มาจาก Meaning คือ การที่เด็กรู้เหตุผลว่าทำสิ่งนี้ทำไม มีเหตุผลในการทำซึ่งทำให้เขามีความสุข และ A คือ ความสำเร็จ ความสุขที่เราได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งที่เราทำแล้วสำเร็จ ดังนั้น เรื่องของความสุขเป็นเรื่องที่สอนได้ไม่ยากเลย ถ้าสามารถเห็นความสุขที่จับต้องได้

กิจกรรมสอนเด็กให้มีความสุขได้อย่างไร

เราสามารถสอนความสุขให้เด็กๆ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 

1) กลุ่มของเด็กอนุบาลหรือเด็กเล็ก อายุประมาณ 3–7 ขวบ โดยการสอนผ่านทางสีหน้า ท่าทางและการเล่านิทานสั้นๆ หรือการแสดงท่าทางหรืออารมณ์ประกอบเพลง เช่น ถ้าหากมีความสุขให้แสดงผ่านสีหน้าโดยการยิ้มกว้าง เป็นต้น 

2) กลุ่มประถมต้น (ป.2-ป.6) การเล่าความสุขผ่านไดอารี่ทำมือ เป็นกิจกรรมที่สามารถนำมาสอนได้ โดยเนื้อหาอยู่ที่พ่อแม่ออกแบบ ซึ่งเป็นกิจกรรมครอบครัวที่สามารถพูดคุยและเรียนรู้เรื่องของความสุขได้ดี 

3) กลุ่มวัยรุ่น (ตั้งแต่ม.1 ขึ้นไป) สิ่งที่สามารถพูดคุยกับวัยรุ่นได้ โดยอาจจะเป็นกิจกรรมคล้ายกับหมุนวงล้อ หากหยุดที่ใครก็ให้พูดถึงสิ่งที่ทำให้มีความสุข

วิธีดูแล หรือสังเกตความเครียดของลูกทำอย่างไร

ในความจริงความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งวิธีในการจัดการความเครียดหรือสังเกตความเครียดของลูก อาจจะทำโดยการสังเกตผ่านสีหน้าของเด็ก การสังเกตผ่านพฤติกรรมที่แตกต่างหรือเปลี่ยนไปจากเดิม ต่อมา คือการที่เราต้องทำให้เขารู้สึกให้ได้ว่าเขามีความเครียดขนาดไหน ซึ่งวิธีที่จะรู้ระดับความเครียดอาจเป็นสิ่งที่ยากแต่สามารถทำได้ โดยการให้เด็กเขย่าขวดน้ำตามความเครียด ซึ่งวิธีนี้เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ดีกับกลุ่มเด็กเล็ก และกลุ่มประถม อีกทั้งยังมีการสอดแทรก Meaning ที่ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญสำหรับพ่อแม่ในการสื่อกับเด็กว่า ความเครียดไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา ถ้าหากลูกรู้สึกได้ก็เพียงแค่แก้ไข ซึ่งคนที่จะช่วยแก้ไขได้อาจจะเป็นพ่อแม่หรือคนในครอบครัว

เทคนิคอื่นๆ อะไรบ้างที่สามารถเพิ่มเติมในกิจกรรมเพิ่มความสุข

การที่จะเสริมความสุข เราควรจะทำการสำรวจความสุขของตัวเองทุกวันว่ามีความสุขหรือไม่ เพื่อให้เราได้รู้ถึงความสุขหรือความเครียดของลูก ซึ่งกิจกรรมการสำรวจความสุขสามารถทำได้ง่ายๆ โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วง Feel it (รู้สึกกับความเครียด) โดยยกมา 2 กิจกรรม เช่น Feel it แรก คือ ไดอารี่สำรวจความสุขสำหรับใช้ในหนึ่งเดือน โดยที่ทุกคนจะต้องทำการสำรวจไดอารี่ด้วยกันทุกวัน อาจจะเขียนเป็นข้อความสั้นๆ หรือการวาดรูปอิโมจิแสดงอารมณ์ของแต่ละคน ซึ่งในการทำกิจกรรมทำให้คนในครอบครัวหันมาใส่ใจกันมากขึ้น 

กิจกรรมที่สอง คือ การแสดงทางสีหน้าผ่านคำถามว่า How are you feeling today ? (วันนี้คุณรู้สึกอย่างไร) และช่วง Care it (การดูแลจิตใจ) มี 3 Care คือ 

1) การ Care ให้เราได้พัก คือการทำอะไรก็ตามอย่างน้อยทำให้เรามีความสุขแม้ว่าเราจะรู้สึกแย่หรือการเพิ่มอารมณ์ทางบวก หากิจกรรมที่ทำให้มีความสุข ไม่ว่าจะเป็น การดูหนัง ฟังเพลง การเล่นเกมส์ เป็นต้น 

2) การ Care ด้วยงานอดิเรก เป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้เขารู้สึกว่าชีวิตเขามีความสุข มีกิจกรรมให้ทำ ไม่ว่าจะเป็น การเล่นดนตรี ศิลปะ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร ฯลฯ ซึ่งอาจมาจากสิ่งที่เขาสนใจหรือชอบ 

3) การ Care ความรู้สึก หรือการเพิ่มความรู้สึก การมองโลกในแง่บวก โดยการเขียนความสุขลงในกระดาษโน๊ตและหยอดลงในกระปุก ซึ่งจะเป็นการสะสมความสุขในแต่ละวันเพื่อเป็นกำลังใจในวันที่รู้สึกแย่ ทั้งนี้ กิจกรรมสามารถทำได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่

สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น มีเทคนิคอย่างไรในการเริ่มกิจกรรม

ในการเริ่มครั้งแรก อาจจะเริ่มจากการทำกิจกรรม Feel it ก่อน ซึ่งการเช็คความรู้สึกอาจจะเริ่มจากช่วงกินข้าวหรือช่วงที่มีการพูดคุย เริ่มจากการคุยสั้นๆ หรือคำถามสั้นๆ นอกจากการถามลูกแล้ว พ่อแม่ก็ต้องเล่าเรื่องของตัวเองให้ลูกฟังด้วย การแชร์ แบ่งปันความรู้สึกซึ่งกันและกัน ทำให้ลูกรู้สึกไม่ถูกกดดันตลอดเวลาและรู้สึกอยากพูดคุยมากขึ้น และหลังจากนั้นมาเช็คปัญหาด้วยการ Care it สำหรับบรรยากาศครอบครัวที่ไม่ค่อยสนิทกัน อาจจะทำการ Feel it ประมาณ 3 วัน และ Care it ช่วยเหลือ ซ่อมแซมกันประมาณ 2 วัน เพื่อให้ความรู้สึกถึงบรรยากาศที่เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนำไปสู่คำถามของการแก้ปัญหาและการให้ความช่วยเหลือต่อไป

เทคนิคในการทำกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก

วิธีการง่ายๆ สำหรับการแสดงท่าทาง หน้าตาของพ่อแม่ โดยเริ่มจากโต๊ะอาหาร เพราะถือได้ว่าเป็นบรรยากาศสบายที่สุดของคนในครอบครัว สำหรับพ่อแม่ของเด็กเล็กที่รู้สึกเขินที่จะสอนให้ลูกยิ้ม อาจจะเริ่มจากการกินข้าว เช่น ถ้ากินข้าวอร่อย อาจให้ลูกยิ้มโดยพ่อแม่ยิ้มให้ลูกดูเป็นตัวอย่าง เป็นต้น ซึ่งอาจจะเริ่มจากเรื่องราวในชีวิตประจำวันได้ และสามารถปรับเปลี่ยนการแสดงที่เรารู้สึกว่าเราสามารถทำได้

ให้กำลังใจคุณพ่อคุณแม่ที่อยากจะเริ่มสำรวจความสุข

ในการทำกิจกรรมเราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบหรือทำให้ครบ เพราะถ้าหากเรายังรู้สึกเขิน อยากให้เริ่มการทำ Feel it ง่ายๆ หรือการสอนง่ายๆ ผ่านชีวิตประจำวัน เพราะการสำรวจความสุขของแต่ละคนไม่ได้มีเงื่อนไขตายตัว ขึ้นอยู่กับเทคนิคของแต่ละคน เพราะฉะนั้น อยากให้เริ่มต้นจากจุดที่เราสบายใจในการพาเด็กๆ Feel it สำหรับการ Care it ก็เป็นสิ่งสำคัญ ค่อยๆ เริ่มจากสิ่งที่เรารู้สึกว่าเราสบายใจที่จะทำอาจมาจากงานหรือกิจวัตรที่เราทำและค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละนิด ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ เพจ Facebook Starfish Labz : www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=285323143461316

คุณเบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ (นีท) 

นักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นจาก Starfish

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครื่องมือผู้ปกครอง
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

“เล่นให้เด็กติดใจ”จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าหากเรารู้เคล็ดลับบทเรียนนี้จะช่วยให้คุณ “เป็นคนที่ เล่นอย่างสนุก”“เข้าใจวิธีการเ ...

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก
เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์

How to Play : กลเม็ดพิชิตใจเด็ก

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1308 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
2991 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7739 ผู้เรียน

Related Videos

วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
34:16
Starfish Academy

วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

Starfish Academy
22 views • 1 ปีที่แล้ว
วิธีที่จิตแพทย์ใช้ช่วยเด็กที่พลั้งพลาดให้กลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
29 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
313 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
169 views • 1 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก