หลักสูตรฐานสมรรถนะช่วงโควิดทำได้ยังไง

Starfish Academy
Starfish Academy 2298 views • 2 ปีที่แล้ว
หลักสูตรฐานสมรรถนะช่วงโควิดทำได้ยังไง

แนวคิดหลักของการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะคืออะไร และประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะคืออะไร

ดร.วิโรจน์ – จากการที่กระทรวงฯ ได้มีโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมมาเป็นต้นแบบในการทดลอง ถ้าในมุมของหลักสูตร เรื่องของสมรรถนะไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ถูกบรรจุอยู่ในมาตรฐานการเรียนรู้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าการเรียนการสอนในทุกวันนี้ยังอยู่ในรูปแบบของความรู้ ความจำ ครูยังเป็นผู้ที่สอนเด็กอยู่ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นของการเป็นนวัตกรหรือการคิดสร้างสรรค์ เพราะฉะนั้น โอกาสที่เราจะเดินไปถึงการเป็นผู้สร้างสิ่งใหม่ๆ หรือการมีความคิดสร้างสรรค์ก็ยังเดินไม่ถึง ดังนั้น ถ้าพูดถึงคำว่า “สมรรถนะ” สมรรถนะโดยเนื้อของความเป็นสมรรถนะ ซึ่ง CBE ได้ให้คำนิยามว่า เราก็จะต้องมีการมอบหมายงานให้เด็กๆ ในทางหลักสูตรจะเรียกว่า Task ซึ่งการมอบหมายงานเทียบกับสมรรถนะจะต้องเป็นงานที่พิเศษกว่าปกติที่เด็กจะต้องทำ เป็นงานที่เด็กจะต้องใช้ศักยภาพภายในหรือ Potential เพื่อแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะที่เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงสมรรถนะ ทั้งนี้ เราต้องกลับมาตั้งคำถามง่ายๆ ให้กับวงการการศึกษาก่อนว่า ทุกวันนี้ความรู้อยู่ที่ไหน ความรู้อยู่ที่ครูหรือเปล่า แต่ถ้าวันนี้เรายอมรับว่าความรู้ไม่ได้อยู่ที่ครู เพราะว่าเด็กสามารถใช้ความรู้พร้อมกับที่ครูสอนได้ตลอดเวลา ถ้าเราเชื่อในสิ่งนี้ เราก็จะยอมรับว่าวันนี้ครูไม่ได้เป็นผู้ให้ความรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราให้ได้ คือ How to learn? จะเรียนรู้อย่างไร ถ้าหากเราให้ได้การจัดการเรียนรู้จะเปลี่ยนรูปแบบออกไป และในการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงสมรรถนะได้ดี ทำให้โรงเรียนมีอิสระในการออกแบบการเรียนรู้ได้ และมีเวลาให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ได้

แนวคิดหลักของโรงเรียนบ้านปลาดาวและมูลนิธิสตาร์ฟิชฯในการเป็นโรงเรียนสมรรถนะ มีจุดเริ่มต้นความเชื่อในเรื่องอะไร และมีความยาก (ท้าทาย) ในการเริ่มต้นทำอย่างไร

ดร.แพร – โรงเรียนบ้านปลาดาวและมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ เป็นโรงเรียนเอกชนประเภทศึกษาสงเคราะห์ขนาดเล็กเริ่มจากระดับชั้นอนุบาล โดยการเรียนการสอนจะใช้แผนการสอนสำเร็จรูป แต่ด้วยความเชื่อส่วนตัว ชื่นชอบหรือเห็นด้วยกับการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivism และค่อนข้างชอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning จึงทำการทดลองปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งบริบทของนักเรียนจะเป็นชาติพันธุ์และไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาแรก ดังนั้น โรงเรียนจึงเริ่มใช้การเรียนการสอนแบบ Project Based Learning ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และค่อยๆ ขยายในระดับชั้นประถมเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning ใช้ปัญหาเป็นฐาน ซึ่งจะมีความซับซ้อนขึ้นมา 

สำหรับการเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนในลักษณะ Competency Based ถือได้ว่า โรงเรียนได้มีการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะอยู่แล้วอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และถือเป็นโอกาสที่ได้เข้ามาจัดการเรียนการสอน หรือการทำหลักสูตรฐานสมรรถนะและอยู่ในพื้นที่นวัตกรรม ทำให้โรงเรียนมีอิสระในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับโลกปัจจุบันและมีความหมายกับชีวิตเด็ก เพราะฉะนั้น ถ้าแยกในส่วนของการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน การทำหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นเพื่อให้เด็กสามารถที่จะเชื่อมโยงจากประสบการณ์จริงเข้าสู่การจัดการเรียนรู้ ตรงนี้ทำให้เห็นว่า พลังแห่งการเรียนรู้เกิดจากผู้เรียน ไม่ได้เกิดจากการยัดเยียดของครูผู้สอน ในส่วนของการพัฒนาครู การให้กำลังใจครู ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ ด้านการบริหารก็มีความจำเป็นในการสนับสนุนครู ให้พื้นที่ทางความคิด ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน ดังนั้น เส้นทางที่โรงเรียนบ้านปลาดาวทำมาถามว่ายากมั้ย ต้องบอกว่าไม่ได้ยากมาก แต่ถ้าบอกว่าโรงเรียนอื่นจะเริ่มทำแล้วยากมั้ย ต้องบอกว่าตอนนี้ทำได้ง่ายกว่ามาก เพราะว่ามีฐานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ พรบ. การสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ต้นสังกัด รวมไปถึงเครือข่ายและคิดว่าไม่มีโอกาสไหนที่จะเหมาะสมเท่ากับเวลานี้ในการที่จะเริ่มทำ

ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้แบบนี้ อะไรที่เป็นรูปธรรมสำหรับผลที่เกิดขึ้นกับเด็ก

ดร.แพร – อย่างแรกที่เห็นได้เลยว่าเด็กมีความสุข เด็กอยากมาโรงเรียน เด็กเห็นว่าการมาโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่เขาจะได้ทำอะไรที่เขาอยากจะทำ อยากที่จะเรียนรู้ สิ่งนี้อาจจะต้องเป็นครูที่จะต้องค้นหา ช่วยสร้าง ซึ่งการทำงานร่วมกับโรงเรียนในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ครูส่วนใหญ่จะพูดว่าเด็กมีความสุข กล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น และเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายสำหรับชีวิต สิ่งที่ตามมา คือ กำลังใจของครูและผู้ปฏิบัติงาน 


เริ่มต้นอย่างไรในการทำโรงเรียนสมรรถนะ และเกิดผลต่อนักเรียนอย่างไร

ผอ.ปวีณา - เริ่มต้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีโรงเรียนรุ่งอรุณ และสถาบันอาศรมสินเป็นทีมโค้ชได้มีหลักสูตรฝึกอบรมให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่า 7 Change สิ่งแรกที่ถูกเปลี่ยนแปลง คือตัวเราเองในการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา ทำให้เราค้นพบสมรรถนะของตัวเองที่เกิดจากการเรียนรู้และจากสถานการณ์ที่เราเผชิญ ให้เรามี Mindset ใหม่ในการเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน การทำหลักสูตรฐานสมรรถนะ การฝึกอบรมครู รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโรงเรียน จัดให้มีพื้นที่เรียนรู้ของเด็กมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เห็นว่า ถ้าเราเดินมาทางนี้โรงเรียนจะพร้อมขนาดไหน เด็กจะมีความสุขขนาดไหนที่เขาได้ทำในสิ่งที่อยากจะทำหรือทำได้ และเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเกิดขึ้นกับเขา ซึ่งในการทำหลักสูตรฐานสมรรถนะโค้ชได้มีการให้เราได้เรียนรู้และยอมรับตัวเอง โดยเริ่มจากการคิดว่าโรงเรียนมีอะไรบ้าง บริบทเป็นอย่างไร ชุมชนมีอะไร ครูมีความถนัดในเรื่องไหน และนำมาพัฒนากำหนดรูปแบบในการเรียนรู้ หรือ school concept ขึ้นมา ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสร้างสรรนวัตกรน้อยสู่สากล” โดยการนำเอาบริบทโรงเรียน พื้นที่ และชุมชนมาเป็นหน่วยในการเรียนรู้ในแต่ละชั้นเรียน เน้นเพื่อให้เด็กมีกระบวนการ การคิดสร้างสรรค์ สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยการใช้ทักษะที่เด็กเรียนรู้จากชีวิตประจำวันทำให้เกิดเป็นมูลค่าและความเป็นสากลในด้านของภาษาและเทคโนโลยี

การมีโค้ชเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงเรียนอย่างไร

ผอ.ปวีณา - อย่างที่เราเข้าใจว่า การเข้าสู่พื้นที่นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ยาก เพราะฉะนั้น การมีโค้ชเปรียบเสมือนมีแผนที่ที่สามารถเดินทางไปโดยไม่หลงทาง ระหว่างทางสามารถเลือกไปทางไหนก็ได้แต่ขอให้เราไปถึงจุดมุ่งหมายที่เรากำหนดไว้ และการไปถึงจุดมุ่งหมายขึ้นอยู่กับความกลมกลืนของผู้บริหาร ครู และความสามารถของโค้ชที่มาช่วยให้เห็นทิศทาง โดยการนำหลักและวิธีการที่หลากหลาย ทันสมัยและเป็นปัจจุบันที่ได้ทำการสกัดแล้วมาช่วยเสริมและเป็นแนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียน

หลักการและกลยุทธ์นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นอย่างไรมีการ

เตรียมครูให้มีความเชื่อ ความพร้อม เตรียมโค้ชให้กับครูหรือโรงเรียนต่างๆ หรือไม่

ดร.รัตนา – ตรงจุดนี้เราก็ได้เล็งเห็นความสำคัญ ซึ่งโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมได้ดำเนินการล่วงหน้าและดำเนินการได้ดี สิ่งสำคัญที่กล่าวข้างต้น คือ การมีโค้ช ซึ่งในส่วนของ สพฐ. ผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กับครูมี 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มโรงเรียนที่มีประสบการณ์และได้ดำเนินการด้วยตนเองอย่างชัดเจน มีกระบวนการที่ชัดเจน ถ้าในส่วนของ สพฐ. กลไกของเราคือ ศึกษา

นิเทศน์ ถ้าของกระทรวงก็จะมีศึกษานิเทศน์ของสพฐ. ศธจ. และยังสังกัดอื่นๆ นอกจากนั้น ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่คือ มหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้น ในส่วนที่เราวางแผนไว้ขณะนี้ เราจะต้องสร้างผู้ที่เป็นโค้ช แล้วโค้ชก็จะเป็นผู้เดินร่วมทางกับโรงเรียนตามเป้าหมายคือกรอบหลักสูตรที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งที่ผ่านมาการบริหารจัดการหลักสูตรหรือโครงสร้างเวลาเรียนต่างๆ ที่กำหนดเอาไว้ภายใต้หลักสูตรแกนกลางที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาจจะยังไม่เอื้อ ค่อนข้างจะแข็งในบางจุด เพราะฉะนั้นในการยกร่างในส่วนนี้ การบริหารจัดการหลักสูตรจะมีความยืดหยุ่น เอื้อให้กับทุกโรงเรียนมีอิสระมากในการที่จะจัดการเรียนการสอนของรายวิชา และเชื่อว่าครูที่อยู่ในบริบทก็จะถูกเปลี่ยนไป เอื้อให้มากขึ้นเพื่อที่จะดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น

ขั้นตอนหรือกระบวนการการเตรียมโรงเรียนในการที่จะเคลื่อนหลักสูตรสมรรถนะทำอย่างไร

ดร.วิโรจน์ – ถ้าพูดถึงหลักสูตรสมรรถนะต้องตีความให้ออกว่า หลักสูตรที่ใช้ทุกวันนี้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะหรืออิงสมรรถนะ หรือใช้หลักสูตร 51 + วิชาสมรรถนะ หรือการใช้หลักสูตร 51 ปรับปรุง 60 + วิชาสมรรถนะ หรือการนำเอาสมรรถนะไปสอนในบางรายวิชา ซึ่งในความเป็นจริงหลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นการบูรณาการให้เกิดความรู้ ทักษะและสมรรถนะ เพราะว่าเป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ แต่ที่ผ่านมามีการสอนแยกทั้งความรู้ ทักษะ และสมรรถนะ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะฉะนั้นท่านทำหลักสูตรใหม่ โดยดูจากบริบทรอบๆ โรงเรียน ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้สมรรถนะได้ง่ายขึ้น เกิดความคิด คิดได้ คิดเป็น และความเป็นผู้แสวงเนื้อหาความรู้จะเกิดกับเด็ก เมื่อเราสร้าง Life Long Learning ให้เด็กแล้วหรือสมรรถนะการเรียนรู้ให้เด็ก เด็กจะรู้ว่าต้องเรียนรู้อย่างไร จะต้องหาข้อมูลที่ไหน มีทักษะในการสื่อสารที่จะถามผู้รู้หรือปราชญ์ในชุมชน นี่คือสิ่งที่เราต้องออกแบบไว้ในหลักสูตร และหลักสูตรก็จะเห็นความเป็นสมรรถนะ เราไม่ต้องเห็นสมรรถนะในวิชาสมรรถนะ เราต้องทำให้หลักสูตรเห็นความเป็นสมรรถนะในเนื้อของหลักสูตร ซึ่งจะต้องเห็นในเนื้อของคำอธิบายรายวิชา เป็น concept ที่สามารถเห็นการเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆ และยืดหยุ่นกับสถานศึกษาด้วย ประกอบกับเอา resource ของสถานศึกษาเอามาผนวกไว้ให้เห็นความเป็นหลักสูตรของสถานศึกษา นั่นก็คือจุดเน้น จุดเด่นของสถานศึกษาในการทำหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ดี ถ้าแต่ละโรงเรียนมีสมรรถนะที่โดดเด่นต่างกัน ถึงแม้จะมีครบเหมือนกันแต่มีความโดดเด่นต่างกัน ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่เก่งในทุกด้านเข้ามาพัฒนาที่โรงเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะตอบโจทย์ในการเป็นโรงเรียนสมรรถนะที่ดีได้ ตลอดจนการประเมิน ถ้าเราจะประเมินสมรรถนะหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ ใช้วิธีสอนแบบใดจึงจะเกิดสมรรถนะเพราะฉะนั้นการสอนที่อยู่ในกระบวนการให้เด็กได้คิด ได้ลงมือทำ ให้เด็กได้แก้ปัญหาเอง ไม่ว่าจะเป็น PBL BBL STEM STEAM Inquiry 5E โดยมีครูคอยทำหน้าที่โค้ช เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ และทำการสังเกตการเรียนรู้ของเด็ก เป็นสิ่งที่จะตอบโจทย์ในการเรียนรู้ฐานสมรรถนะได้

จากที่ท่าน ดร.รัตนาบอกว่า ศึกษานิเทศก์จะมาเป็นโค้ช ในที่นี้ผู้ที่ทำหน้าที่โค้ชจะต้องมีประสบการณ์ แล้วศึกษานิเทศก์สามารถเป็นโค้ชได้หรือไม่ และมีการวางแผนไว้อย่างไร

ดร.รัตนา – สำหรับศึกษานิเทศก์ เขาจะผ่านกระบวนการที่ได้รับการพัฒนาเป็นโค้ช เทคนิค กระบวนการต่างๆ นิเทศต่างๆ เขาจะมีองค์ความรู้ในส่วนนี้และมีประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับโรงเรียนซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่ปกติ แต่การที่จะให้มาเป็นโค้ชในเรื่องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ฐานสมรรถนะนั้น จะเป็นต้องมีการเพิ่มหรือเสริมในส่วนที่เขาอาจจะยังไม่มีหรือว่ามีแล้ว แต่ส่วนที่มีอาจยังไม่ได้สอดคล้องกับแนวของหลักสูตรฉบับนี้ ซึ่งจะต้องเป็นการเติมเต็ม ในส่วนของศึกษานิเทศก์จะต่อยอดในส่วนที่เขามีอย่างไร ทั้งในเรื่องของความเป็นโค้ช โค้ชที่ทำอยู่ในปัจจุบันกับคนที่จะทำให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะได้จะเป็นโค้ชอย่างไร อีกส่วนหนึ่งในเรื่องของความเข้าใจในเรื่องของหลักสูตรฉบับนี้ ซึ่งยอมรับว่า สพฐ.ยังไม่ได้ทำในจุดนั้น แต่ได้มีการพยายามในเรื่องของการสื่อสาร เปิดเวทีในการแสดงความคิดเห็น เปิด CBE Thailand ที่เป็นลักษณะของ official แผนจะดำเนินการในส่วนของพื้นที่นวัตกรรมก่อนในช่วงนี้ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างศึกษานิเทศก์และโรงเรียน

การจัดกิจกรรมหรือการออกแบบ โรงเรียนเริ่มต้นจากความเชื่อ อะไรคือความท้าทายหรือแรงต่อต้าน และมีวิธีจัดการอย่างไร

ดร.แพร – ต้องบอกว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุดจะต้องเกิดจากภายใน เพราะฉะนั้น การที่เราเข้าไปทำงานกับครู โรงเรียนหรือเข้าไปทำงานในฐานะโค้ช เราเองก็ต้องเป็นโค้ชจริงๆ ถ้าหากเราต้องการให้เด็กเกิดสมรรถนะอย่างไร ครูเองก็ต้องมีสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เช่นกัน การที่ครูจะเกิดสมรรถนะได้ ต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมหรือการเรียนรู้นั้นให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาครูในโรงเรียน หรือแม้แต่โค้ชที่ทำหน้าที่ร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ ดังนั้น สมรรถนะเกิดจากการลงมือทำที่ไม่มีถูกผิดและมีพื้นที่ในการเรียนรู้ไปพร้อมกัน เพราะฉะนั้น การให้พื้นที่ การให้ตัวอย่าง การมีเครือข่ายทำงานร่วมกัน ตรงนี้เป็นส่วนที่จะทำให้ครูพัฒนาได้ และสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารต้องตระหนักว่า เราเองไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเราเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดในเรื่องการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะแต่สิ่งที่สำคัญ คือ Platform และ Network ที่มีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น การที่ครูมีพื้นที่ในการเชื่อมต่อกับโรงเรียนอื่นๆ หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในการที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสบการณ์ตรงนี้ ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่ว่ากลไกที่โรงเรียนจะต้องมี คือ มีพื้นที่ให้ครูได้แลกเปลี่ยน PLC ในฐานะครูมืออาชีพ ด้วยวิธีคิดแบบนี้ถามว่าในการปฏิบัติจริงรู้สึกยากมั้ยสำหรับครู แน่นอนว่ายาก ครูรู้สึกเครียด ท้อและเหนื่อย แต่หน้าที่ของผู้บริหารคือ การสร้างกำลังใจ พยายามสนับสนุนให้ครูมีกำลังใจ มีเครือข่ายที่จะทำ ตลอดจนอำนวยความสะดวกให้ครูทำงานได้สะดวกขึ้น และมีกำลังใจในการทำมากขึ้น

ทำอย่างไรให้ครูเกิดการยอมรับในการเปลี่ยนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลง

ผอ.ปวีณา - ปัจจุบันผู้อำนวยการได้มีการปรับการทำงานเป็นการทำงานร่วมกับครู ชุมชน แต่ในบางครั้งครูก็อาจจะมีความรู้สึกไม่อยากทำ ซึ่งในฐานะผอ.ก็จะทำการทดลองสอนร่วมกันกับครู มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แต่พอมีการ PLC การสะท้อนคิด (AR) บ้าง หรือการคุยกันในรูปแบบของโค้ช (CRC) คล้ายกับการเป็นสะพานเชื่อมทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้น การทำงานจะเป็นลักษณะการเดินทำงานร่วมกัน การสร้างการเป็นผู้นำ และใช้วิธีการแนะนำหรือสอนงานให้แก่ครู เพื่อฝึกให้ครูได้มีกระบวนการคิด เชื่อมโยงสิ่งที่อยู่ในห้องเรียน ครูจะได้เป็นผู้จัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้

แนวคิดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะที่จะดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งต้องการการมีโค้ช ทางกระทรวงได้มีการวางแผนที่จะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่หรือไม่

ดร.รัตนา – มีแผนในการดำเนินการเรื่องนี้อยู่ ในการพัฒนาพี่เลี้ยงในส่วนของพื้นที่นวัตกรรมที่จะดำเนินการก่อนในปีการศึกษา 2565 นั้น มีอยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1) กลุ่มศึกษานิเทศก์ 2) ผู้อำนวยการโรงเรียน และ 3) ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กับโรงเรียนอยู่แล้วก็จะเข้ามาเป็นส่วนที่จะช่วยกันขับเคลื่อน ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชให้กับโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมอยู่แล้วก็จะมีในส่วนของมหาวิทยาลัยและโรงเรียนบ้านปลาดาวที่เป็นพี่เลี้ยงในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่ง อาจจะเป็นแค่ในส่วนของการจัดการเรียนรู้ยังไม่ถึงในส่วนของหลักสูตร แต่เชื่อว่ากลุ่มพี่เลี้ยงกลุ่มนี้มีแนวคิดในเรื่องของหลักสูตรฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้หรือการวัดผลฐานสมรรถนะเป็นทุนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าบริบทจะเอื้อหรือไม่ เพราะฉะนั้น 3 กลุ่มนี้จึงจะเข้ามาช่วยกันทำหน้าที่ในส่วนนี้ ส่วนวิธีการนั้นไม่ได้กำหนดตายตัว แต่เป็นลักษณะของแนวทางแต่วิธีการก็อาจจะแตกต่างกันตามแต่บริบทพื้นที่ในแต่ละโรงเรียน

ช่วง Q&A

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การเรียนรู้แบบ Project Based กับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะมีความเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร

ดร.วิโรจน์ - วิธีการเรียนรู้มีได้หลายวิธีที่จะนำพาไปสู่สมรรถนะ หลักสูตรฐานสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะกับวิธีการสอนในรูปแบบต่างๆ เป็นคนละเรื่องกัน แต่ว่าเราสามารถที่จะประยุกต์การจัดการเรียนรู้ต่างๆ แล้วต่อยอด เพราะว่า Project Based สร้างชิ้นงาน ไม่ได้กำหนดบริบทให้กับผู้เรียน เพราะฉะนั้น Project Based ไม่ใช่สมรรถนะ แต่สามารถต่อยอดให้เกิดสมรรถนะได้ง่ายขึ้น Active Learning เป็นแนวคิดของการจัดการเรียนรู้ วิธีการสอนทั้งหมดเป็นแนวคิดของการเรียนรู้แบบ Active Learning แต่ Active Learning ไม่ใช่สมรรถนะ เป็นวิธีการสอนที่นำไปสู่สมรรถนะได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น ต้องแยกให้ออกระหว่างปลายทางสมรรถนะ ต้องมีการกำหนด Task ให้เกิดสมรรถนะ แยกให้ออกระหว่าง Competency และ Ability ถ้าเราไม่มอบหมายงานให้ มีก่อเกิดเป็นชิ้นงาน จะได้แค่ Ability ก็คือ ได้แค่ความสามารถ ถ้าเราอยากให้เกิดสมรรถนะการมอบหมายงานจะอยู่ในสภาวะการณ์ที่ยากกว่าปกติ

ถ้าโรงเรียนที่อยู่นอกพื้นที่นวัตกรรม มีความสนใจในการเคลื่อนในระยะที่ 1 มีโอกาสหรือไม่ อย่างไร

ดร.รัตนา – สามารถทำได้ ภายใต้หลักสูตร 51 สามารถทำได้เลย ต่อยอดจากที่ท่านจัดการเรียนรู้ปัจจุบันก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ แต่ถ้าใช้ในด้านมิติของหลักสูตรเลยอาจจะมีผลในเรื่องของระเบียบการวัดและประเมินผลต่างๆ ถ้าท่านจะใช้ต้องมาวิเคราะห์ เชื่อมโยงสิ่งที่ท่านจะทำแบบใหม่สอดคล้องกับ 8 กลุ่มสาระอย่างไร แต่ถ้าดูว่ายุ่งยากในการที่จะจัดการเรื่องของหลักสูตรก็ทำในเรื่องของการจัดการเรียนรู้ การจัดการบูรณาการก็สามารถที่จะบูรณาการได้โดยการสร้างหน่วยการเรียนรู้ร่วมกันและจัดการเรียนการสอนร่วมกัน

 สำหรับโรงเรียนในเมือง ผู้ปกครองย่อมมีความคาดหวังในการศึกษาต่อ ถ้าพูดถึงสมรรถนะที่ทำให้เด็กมีความสุข แต่สมรรถนะเราไม่ได้พูดถึงเด็กเก่ง การสอน O-net Entrance จะเป็นแบบไหน ฐานสมรรถนะจะตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างไร

ดร.วิโรจน์ - คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ว่าสมรรถนะจะทำให้เด็กเก่งขึ้นหรือเก่งน้อยลง จริงๆ ต้องบอกว่า สมรรถนะก็คือ Potential ต้องมีทั้ง Knowledge Skill Attitude เพิ่มเติมคือ มี Behavior ด้วย ดังนั้น การเรียนรู้จนถึงสมรรถนะได้ นั่นหมายความว่าเด็กสามารถหยิบความรู้มาใช้ได้ด้วย และถ้ามีการพัฒนาหลักสูตรให้มีการบูรณาการและสอนไปถึงสมรรถนะร่วมกันได้ นั่นคือเด็กจะได้เรียนมากรอบขึ้นและเชื่อมโยงความเรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ได้ขึ้น แทนที่เด็กแค่เรียนเพื่อจำได้กับเรียนเพื่อเอาไปประยุกต์ใช้ แสดงว่าเขาเก็บเอาไว้ใน Long term memories ได้ เมื่อเขาได้เรียน คิดเชื่อมโยงความรู้ได้มากขึ้น จำได้มากขึ้น นั่นหมายถึงเขาก็จะต้องเก่งขึ้น

ดร.แพร – ขออนุญาตแบ่งปันประสบการณ์ของโรงเรียนบ้านปลาดาว ซึ่งเป็นคำถามที่โรงเรียนเจอมาตั้งแต่เริ่มจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based (PBL) หรือตอนหลังที่มาจัดแบบ Makerspace คือรูปแบบในการจัดมีหลายรูปแบบที่มุ่งสู่สมรรถนะ และจากการสอบ O-Net ที่ผ่านมา พบว่า เด็กที่โรงเรียนบ้านปลาดาวคะแนนดีมากกว่าระดับประเทศ ซึ่งตรงจุดนี้โรงเรียนไม่ได้เน้น แต่สิ่งที่โรงเรียนทำ คือ การติวเทคนิคการทำข้อสอบเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เด็กต้องรู้วิธีการทำ ความรู้ที่เด็กท่องจำเขาก็จำได้แค่ตอนสอบ แต่ว่าสิ่งที่ติดตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความอยากเรียนรู้ของเขา ความรักการเรียนรู้ของเขา การที่จะลุกขึ้นมาเป็น Proactive ในการเรียนรู้ เป็นเจ้าของการเรียนรู้ ตรงนี้มีความหมายมากกว่าการที่จะทำแค่ข้อสอบได้ สิ่งที่จะติดตัวเขาไปจนโต คือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เราไม่สามารถที่จะสอนเด็กได้ทุกอย่าง ไม่มีใครที่จะการัณตีได้ว่า สิ่งที่เราสอนทั้งหมดจะเป็นสิ่งที่เขาจำเป็นจะต้องใช้ทั้งหมด อีกสิ่งหนึ่งคือการทำงานกับผู้ปกครอง การให้ความมั่นใจ การให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม โดยการเป็นผู้เชี่ยวชาญ มาแบ่งปันในโครงการที่โรงเรียนกำลังดำเนินการ เชิญผู้ปกครองมาสังเกตการสอน ให้เห็นว่าเกิดอะไรในห้องเรียน เพื่อให้เขาเห็นว่า สิ่งที่เด็กทำได้มีความสำคัญมากกว่าแค่เด็กสอบได้ ตรงนี้ก็จะสามารถคลายความกังวลได้

ผอ.ปวีณา - จากการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถม การเรียนการสอนสมรรถนะจะเห็นได้ชัดเจนในเด็กระดับชั้นมัธยม คือหลักสูตรทั่วไปจะเน้นด้านวิชาการ เน้นเนื้อหา พอเป็นฐานสามรรถนะสามารถกำหนดกรอบในตัวเด็กได้ ถึงความชอบ ความสนใจอยากทำอะไร และโรงเรียนสามารถสนับสนุน ส่งเสริมเด็กได้ ซึ่งมันมีความชัดเจนและต่อยอดไปสู่อาชีพได้

สพฐ.มีตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ด้านสมรรถนะที่บูรณาการหลายวิชา รวมถึงการประเมินผลหรือไม่ และเมื่อดำเนินการแล้วจะยกเลิกแผนการจัดการเรียนรู้แบบเดิมได้หรือไม่

ดร.รัตนา – สพฐ.ไม่เคยกำหนดรูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้แค่ให้หลักการ องค์ประกอบสำคัญที่ควรจะต้องมีอะไรบ้าง สำหรับตัวอย่างในขณะนี้ เราเข้าใจว่า ผู้เรียนเกิดสมรรถนะไม่ใช่แค่ Ability มันจะต้องมีสถานการณ์อะไรบางอย่างที่ทำให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะ เพราะฉะนั้น ในแต่ละสาระที่กำหนดเอาไว้นั้น เราทำเป็นตัวอย่างสถานการณ์ให้ และตัวอย่างนั้นก็จะมีมิติในการเชื่อมโยงศาสตร์ไว้แล้วเช่นกัน สำหรับตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ด้านสมรรถนะที่บูรณาการหลายวิชาในคู่มือมีแนวทาง และมีตัวอย่างสถานการณ์แต่ไม่ใช่แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งตัวอย่างของแผนการจัดการเรียนรู้ต่างๆ สามารถศึกษา แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่เพจ CBE Thailand

ฝากถึงประเด็นสำคัญเพิ่มเติม

ผอ.ปวีณา - สิ่งที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนที่เราได้ทดลองนำหลักสูตรฐานสมรรถนะมาปรับใช้ ความสุขที่ออกมาอย่างเห็นได้ชัด และได้ค้นพบว่าเด็กทุกคนมีความสามารถที่แตกต่างกัน ถ้าเราสามารถนำความสามารถนั้นปรากฎให้เขาได้เห็น เขาก็จะมีความเชื่อมั่นและเขาก็จะมีสิ่งที่ตัดสินใจเพื่ออนาคตของเขาได้

ดร.แพร – อยากให้กำลังใจ ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน ในมุมของโรงเรียนเองต้องบอกว่าทุกคนน่าจะยอมรับได้แล้วว่าสิ่งที่เราทำมาต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่เด็กเองก็จะไม่เสียโอกาสในการเรียนรู้ ดังนั้น เราควรที่จะต้องปรับตัว เอาเด็กเป็นที่ตั้งว่าเราไม่สามารถจะใช้บรรทัดฐานกับเด็กทุกคนได้ สถานการณ์ตอนนี้ถ้าเรามองว่าเป็นโอกาสก็เป็นในเรื่องของการที่จะสามารถปรับเปลี่ยนตัวหลักสูตรได้ และความยืดหยุ่นต่างๆ ที่ทำให้เป็นของเราจริงๆ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรวมพลังจากทั้งโรงเรียน ชุมชนที่ทำให้โรงเรียนสามารถที่จะไปได้ ในฐานะที่โรงเรียนปลาดาวเป็นโค้ชให้กับหลายโรงเรียน สิ่งที่โค้ชทำคือการที่ทำให้โรงเรียนสามารถหาต้นทุนของตัวเองให้เจอและตั้งเป้าหมายสิ่งที่ตนเองอยากจะไป สิ่งสำคัญคือ โรงเรียนจะต้องมีพลังในการขับเคลื่อนและความอยากที่จะเปลี่ยน ตลอดจนการให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นต้นสังกัดหรือหน่วยงานการศึกษา โดยการเปิดเวทีสร้างการเรียนรู้ การเชื่อมโยงที่มี Platform ในการที่จะให้ทุกคนสามารถที่จะช่วยกันคิด ช่วยกันทำได้แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งทางสตาร์ฟิชฯ ได้มีเพจ Starfish Labz ที่ได้รวบรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะเป็นพื้นที่การแลกเปลี่ยน หากท่านใดหรือโรงเรียนใดสนใจก็สามารถเข้าไปแลกเปลี่ยนได้

ดร.วิโรจน์ – ช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงสถานการณ์ที่ดี สำหรับการยกระดับการศึกษาที่จะต้องเปลี่ยนให้ทันโลก เพราะฉะนั้น ในช่วงวิกฤติก็ถือว่าเป็นโอกาส ดังนั้น ขอให้กำลังใจผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน วันนี้ทุกคนต้องเรียนรู้และพัฒนาไปพร้อมกัน 

คุณหมอเดียว – เรื่องหลักสูตรฐานสมรรถนะถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพียงแต่ว่าต้องวางปรัชญาให้ดี เพราะว่า Competency Based ไม่ใช่ Skill Based การที่จะทำให้ด็กสามารถเข้าใจ นำมาใช้ได้ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ ซึ่งเราต้องยอมรับว่าเด็กอ่อนแอกับเรื่องเหล่านี้ เพราะระบบไปในทางแพ้คัดออก ซึ่งมันจะไม่เกิดขึ้นแต่จะกลายเป็น Competency การ Formative การ Assessment ก็จะก้าวเข้ามาและสมบูรณ์แบบมากขึ้น

ดร.รัตนา – หลักสูตรฉบับนี้ร่างขึ้นมาบนฐานความเชื่อของพวกเราว่า มีความแตกต่างในบุคคล แต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน แต่เราสามารถทำให้ความแตกต่างนั้นมีความโดดเด่นในตัวบุคคลนั้นได้ และนอกจากนั้น เราก็มีความเชื่อว่า โรงเรียนแต่ละโรงเรียนมีบริบทที่แตกต่างกัน ควรจะได้มีโอกาสในการสร้างคนของตัวเองให้ตอบโจทย์ สิ่งที่ตอบโจทย์สุดท้าย คือ เราต้องเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติด้วย และหัวใจของหลักสูตรนี้ที่จะประสบความสำเร็จได้ คือ ความเข้าใจ ความพร้อมของครู ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ และความร่วมแรงร่วมใจ สนับสนุนจากผู้ปกครอง ในส่วนของมหาวิทยาลัยและสังคมในชุมชนนั้นๆ ที่จะช่วยให้การใช้หลักสูตรฉบับนี้ประสบความสำเร็จได้ ตลอดจนการเป็นแนวทาง ต้นแบบ ตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่นวัตกรรมได้นำไปใช้ในอนาคตอีก ด้วย

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
3728 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

การวัดความรู้ถดถอยของนักเรียน

การวัดความรู้ถดถอยของนักเรียน เมื่อต้องปรับตัวมาเรียนออนไลน์ ครูเป็นอีกหนึ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อเตรี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวัดความรู้ถดถอยของนักเรียน
Starfish Academy

การวัดความรู้ถดถอยของนักเรียน

Starfish Academy
3414 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การพัฒนาทักษะการอ่าน

หนังสือเปรียบเสมือนคลัง ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่างๆ มากมาย การพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านจึงมีความสำคัญเป็น ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การพัฒนาทักษะการอ่าน
Starfish Academy

การพัฒนาทักษะการอ่าน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy

Related Videos

Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
56 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
7 เรื่องที่ควรทำ เตรียมพร้อมวันเปิดเทอม
03:46
Starfish Academy

7 เรื่องที่ควรทำ เตรียมพร้อมวันเปิดเทอม

Starfish Academy
294 views • 2 ปีที่แล้ว
7 เรื่องที่ควรทำ เตรียมพร้อมวันเปิดเทอม
Covid-19 กับผลกระทบต่อการศึกษาไทย
10:01
Starfish Academy

Covid-19 กับผลกระทบต่อการศึกษาไทย

Starfish Academy
569 views • 2 ปีที่แล้ว
Covid-19 กับผลกระทบต่อการศึกษาไทย
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)
04:50
Starfish Academy

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

Starfish Academy
8529 views • 9 เดือนที่แล้ว
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)