ทำความเข้าใจ วัยรุ่นขี้เบื่อ

Starfish Academy
Starfish Academy 10569 views • 3 ปีที่แล้ว
ทำความเข้าใจ วัยรุ่นขี้เบื่อ

เบื่อ เบื่อ เบื่อ คำก็เบื่อ สองคำก็เบื่อ วัยรุ่นบ้านไหนเป็นอย่างนี้บ้างไหมคะ พฤติกรรมเบื่อง่ายของวัยรุ่น แม้จะไม่ใช่ปัญหาคอขาดบาดตาย แต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็อดที่จะสงสัยไม่ได้อยู่ดีว่า ที่ลูกหลานเราเบื่อง่ายขนาดนี้ ผิดปกติหรือเปล่า และเราจะช่วยวัยรุ่นให้ก้าวข้ามความเบื่อได้อย่างไรโดยที่ไม่เด็กๆ ไม่เผลอแก้เบื่อด้วยการกระทำที่อาจส่งผลร้ายมากกว่าผลดี บทความนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองไปหาคำตอบด้วยกันค่ะ

เหตุผลของคนเบื่อง่าย 

วัยรุ่น คือ วัยที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาทำอะไรเองได้มากขึ้น ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่เหมือนก่อน ทั้งยังมีเวลาว่างมากขึ้นจนเริ่มค้นพบว่าการใช้ชีวิตนั้น มีสิ่งต่างๆ ให้ตัดสินใจเลือกมากมายไปหมด ตั้งแต่วันนี้จะกินอะไร กลับบ้านเลยหรือไปเที่ยว อ่านหนังสือหรือทำงานบ้าน ฯลฯ แม้ค้นพบว่าตัวเองมีตัวเลือกมากมาย แต่บ่อยครั้งวัยรุ่นมักไม่แน่ใจว่าควรเลือกอะไรดี ดังนั้นแทนที่จะรู้สึกตื่นเต้นกับความเป็นผู้ใหญ่ที่เลือกอะไรได้ด้วยตัวเอง วัยรุ่นมักลงเอยด้วยความสับสนเพราะไม่รู้ว่าควรจัดการอย่างไรกับโอกาสมากมายที่เกิดขึ้น ความรู้สึกว่าตัวเอง “ทำอะไรไม่ได้”  นำมาซึ่ง “ความรู้สึกเบื่อ” เบื่อตัวเองที่ตัดสินใจไม่ได้ เบื่อที่ไม่รู้ต้องทำอย่างไร เบื่อที่ต้องเบื่อ สุดท้ายแล้ว ความเบื่อ จึงมาจากการที่วัยรุ่นมีเวลามากมาย แต่ไม่รู้จะจัดการกับตัวเองอย่างไรนั่นเอง

ยังเบื่ออยู่ดี แม้มีเทคโนโลยีอยู่ในมือ 

สมัยนี้แม้ความเบื่อสามารถถูกแทนที่ได้ด้วยความบันเทิงหลากชนิดแทบจะทันที เพียงพลิกฝ่ามือ ทั้งเกม ภาพยนตร์ สารพัดคลิปออนไลน์ และแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีจะช่วยลดความเบื่อได้หมด ไม่อย่างน้ัน เราคงไม่ได้ยินเด็กยุคใหม่บ่นว่าเบื่อ แม้ว่าจะออนไลน์อยู่ตลอดเวลา 

เทคโนโลยีต่างๆ อาจช่วยคลายเบื่อได้ในพริบตา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเกมออนไลน์ คลิปต่างๆ ล้วนเป็นสื่อที่กระตุ้นความรู้สึกสูง ทำให้หายเบื่อได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อหยุดเล่น หยุดใช้ กลับทำให้รู้สึกว่างเปล่ากว่าเดิม เบื่อกว่าเดิม และยากที่จะหาสิ่งธรรมดาสามัญมาช่วยคลายเบื่อได้ เพราะไม่มีอะไรที่สนุก(กระตุ้นความรู้สึก) ได้เท่าการใช้เทคโนโลยีอีกแล้ว ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กใช้เกมออนไลน์เพื่อคลายเบื่อ เมื่อพวกเขารู้สึกเบื่อในครั้งถัดไป การอ่านหนังสือ หรือฟังเพลง อาจช่วยให้หายเบื่อไม่ได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่สนุกเท่ากับการเล่นเกมออนไลน์ที่มีสีสัน เรื่องราวฉูดฉาด เร้าใจ 

นอกจากนี้ เทคโนโลยี ยังอาจทำให้ระดับความเบื่อรุนแรงขึ้น เพราะครอบครัวจะสื่อสารกันน้อยลง มีเวลาคุณภาพด้วยกันน้อยลง เพราะต่างคนต่างอยู่กับหน้าจอของตัวเอง ทำให้การใช้เวลาร่วมกันกลายเป็นเรื่องน่าเบื่อ และต่างคนต่างก็จดจ่ออยู่กับการได้กลับไปเล่นมือถือของตัวเอง 

พ่อแม่ผิดไหม ถ้าปล่อยให้ลูกเบื่อ

ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง อาจรู้สึกว่าเรามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชีวิตของลูก เมื่อลูกบ่นว่าเบื่อ ก็รีบกุลีกุจอ หากิจกรรมสารพัดให้ลูกทำ แต่อย่าลืมว่า ในขณะนี้ที่ลูกเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น การให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะจัดการความรู้สึกของตนเอง ก็ถือเป็นทักษะชีวิตที่ต้องฝึกฝน พ่อแม่ไม่ได้มีหน้ามีหน้าที่รับผิดชอบทุกความรู้สึกของลูก เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะรับมือสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ทั้งผู้ปกครองและวัยรุ่น ควรทำความเข้าใจร่วมกันว่า ความรู้สึกต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องธรรมดา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ ความรู้สึกต่างๆ ล้วนเป็นวงจรที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ความรู้สึกเบื่อก็เช่นกัน

นอกจากนี้ อาจชี้ให้ลูกเห็นว่า ความรู้สึกเบื่อ สามารถใช้เป็นแรงกระตุ้นผลักดัน ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำสิ่งต่างๆ พ่อแม่อาจแบ่งปันประสบการณ์แก้เบื่อของตัวเองให้ลูกฟัง อาจชวนลูกมาช่วยกันคิดว่าจะทำอะไรที่คลายความเบื่อได้บ้าง 

ตอบโต้อย่างไร เมื่อวัยรุ่นบ่นว่าเบื่อ

บางครั้งการที่วัยรุ่น เดินเข้ามาบ่นให้ฟังว่า เบื่อ พวกเขาอาจไม่ได้ต้องการให้เราหาอะไรให้ทำเสมอไป แต่อาจเป็นสัญญาณว่าพวกเขากำลังต้องการคำแนะนำว่า ควรทำอย่างไรกับชีวิตดี คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง อาจถามลูกกลับไปว่า “รู้สึกเบื่อเพราะอะไร” หากลูกตอบว่าไม่มีอะไรทำ คุณอาจลองชวนลูกทำงานบ้านด้วยกัน หรือเสนอแนะกิจกรรมแก้เบื่อที่ลูกพอทำได้ในเวลานั้น ในกรณีที่ลูกตอบว่า เบื่อเพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี เช่น ไม่รู้จะทำรายงานเรื่องไหนก่อนดี เพราะมีมากมายไปหมด คุณอาจค่อยๆ ช่วยลูกจัดลำดับความคิด เรียบเรียงความสำคัญว่าอะไรควรทำก่อนหลัง เพื่อให้ลูกลงมือทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้ง เด็กๆ อาจบ่นว่าเบื่อไปอย่างนั้น โดยไม่ได้ต้องการคำตอบอะไร แทนที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ จะจริงจังกับการหาคำตอบ อาจชวนลูกคุยเรื่องสนุกๆ ไม่แน่ว่ากว่าจะรู้ตัวอีกที ลูกก็ลืมความเบื่อไปหมดสิ้น 

3 ข้อง่ายๆ ช่วยลูกหายเบื่อ

  1. ชวนกันไปสัมผัสธรรมชาติ หากมีเวลามากหน่อยอาจไปต่างจังหวัด ภูเขาทะเล หรือหากไม่มีเวลา เพียงแค่ออกไปเดินเล่นหน้าบ้าน ไปวิ่งที่สวนสาธารณะ ปั่นจักรยาน ให้สายลมได้สัมผัสผิว เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความรู้สึกเบื่อ และทำให้ผ่อนคลายได้
  2. ลดใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ในแต่ละวันอาจจำกัดการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ให้น้อยลง ทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เพื่อให้มีเวลาอยู่กับตัวเอง และคนรอบข้างมากขึ้น
  3. สร้างเวลาคุณภาพ ชวนลูกทำกิจกรรมที่สร้างความทรงจำและความรู้สึกดีๆ เช่น การเป็นอาสาสมัครทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ลงคอร์สเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ตนเอง 

สุดท้ายแล้ว ความเบื่อในวัยรุ่น อาจส่งผลดี เมื่อเด็กๆ แปรเปลี่ยนความเบื่อเป็นพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ และทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ในทางกลับกัน หากความเบื่อส่งผลให้วัยรุ่น ใช้เวลากับหน้าจอมากขึ้นเพื่อคลายเบื่อ ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะช่วยรับมือกับความเบื่อในวัยรุ่นก็คือ สนับสนุนให้เด็กๆ เปลี่ยนความเบื่อเป็นพลังแห่งความสร้างสรรค์ และป้องกันไม่ให้เด็กๆ ใช้เครื่องมืออิเลคโทรนิกส์แก้เบื่อจนติดเป็นนิสัยนั่นเอง

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1383 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3062 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

Collaborative classroom design

เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Collaborative classroom design
Starfish Academy

Collaborative classroom design

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7760 ผู้เรียน

Related Videos

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
04:30
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
47 views • 3 ปีที่แล้ว
โต้ตอบอย่างไรดี (Still Face Experiment)
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
359 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
595 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ